ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของเมืองคือคุณภาพชีวิตของผู้คน ถ้าคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมืองมีสุนทรียะ คุณแทบไม่ต้องโปรโมทอะไรมากเลย การท่องเที่ยวจะตามมาเอง

“ผมเรียนกรุงเทพฯ จบมา ก็ทำงานเป็นสถาปนิก ก่อนจะเปิดบริษัทรับจัดอีเวนท์และคอนเสิร์ต ทำอยู่พักใหญ่ แล้วรู้สึกเบื่อกรุงเทพฯ ประกอบกับที่อยากกลับมาดูแลแม่ด้วย เลยตัดสินใจปิดบริษัท กลับมาเริ่มใหม่ที่หาดใหญ่

พอมาอยู่บ้าน ผมก็ทำงานคล้ายๆ กับที่กรุงเทพฯ ทำบริษัทออกแบบ และเปิดอีกบริษัทไว้ทำอีเวนท์

ทำอย่างนี้มาได้ประมาณ 2-3 ปี จนมีโอกาสไปเยี่ยมเยียน a.e.y. space ของพี่เอ๋ (ปกรณ์ รุจิระวิไล) ซึ่งเขาทำแกลเลอรี่ศิลปะและที่ฉายภาพยนตร์นอกกระแสที่ย่านเมืองเก่าสงขลา พื้นที่ดังกล่าวจุดประกายผมมาก

คือก่อนหน้านี้ผมและเพื่อนๆ ที่รักการดูหนัง ได้ตั้งกลุ่มฉายภาพยนตร์กันขึ้น โดยตั้งผ่านเพจเฟซบุ๊ค ‘เรื่องนี้ฉายเถอะคนหาดใหญ่อยากดู’ (https://www.facebook.com/HatyaiWant2see) ด้วยเหตุที่ว่าหนังหลายเรื่องที่เราอยากดู ไม่ถูกนำมาฉายในโรงหนังในบ้านเรา ก็เลยรวมกลุ่มที่ชอบดูหนังเหมือนๆ กันเพื่อชักจูงให้โรงหนังเอาหนังที่เราอยากดูมาฉาย และเมื่อไม่สำเร็จ ก็เลยติดต่อไปกับทางผู้จัดจำหน่ายหนัง หรือผู้ถือลิขสิทธิ์หนังที่เรารู้จักโดยตรงเพื่อขอหนังมาฉาย ก่อนจะหาเช่าสถานที่เพื่อฉายหนังดูกันเองเลย

แต่ความที่เราไปเช่าที่คนอื่นฉาย ก็พบข้อจำกัดหลายเรื่อง หรือบางครั้งเราเก็บค่าตั๋วจากผู้ชมได้ไม่คัฟเวอร์ค่าเช่า ก็ทำให้เราขาดทุนอีก การได้พบกับ a.e.y. space เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรามาคิดว่า งั้นเราควรมีพื้นที่ฉายหนังถาวรของเราเองดีกว่า

Lorem Ipsum มีที่มาเช่นนี้ หลายคนเข้าใจว่าเราทำร้านกาแฟ แต่ priority หลักคือการเป็นโรงหนังอิสระขนาดเล็กและแกลเลอรี่ศิลปะ เราเป็นเหมือนสเปซพี่น้องกับ a.e.y. space บ่อยครั้งก็ขอหนังมาฉายโปรแกรมเดียวกัน เช่นที่สงขลาจะฉายเย็นวันศุกร์ เราก็ฉายเรื่องเดียวกันนั้นในวันเสาร์ และอาทิตย์

อาคารแห่งนี้เราเช่าจากญาติ เป็นอาคารอายุร้อยปีได้แล้ว จากที่ค้นประวัติมา แต่เดิมเป็นบ้านของคหบดีชาวปีนัง โดยได้ช่างจากอิโปห์มาสร้างให้ มีรูปแบบสถาปัตยกรรม Eclectic Style ผสมผสานทั้งจีน มลายู และไทย หลังยุคคหบดี ตึกแถวย่านนี้กลายเป็นบ้านของหมอซึ่งใช้พื้นที่ชั้นสองเป็นแล็บทำยา บ้านหลังนี้เป็นของหมอชื่อฟูหยิน ก่อนจะเปลี่ยนผ่านอีกครั้งเป็นร้านอาหารตามสั่ง และกลายมาเป็น Lorem Ipsum ในที่สุด

ร้านนี้มีหุ้นส่วน 3 คนครับ คือผม พี่ต้น และพี่โจ้ เราเปิดร้านนี้เมื่อ 3 ปีก่อน ตอนโควิดระบาดพอดี ก่อนเปิดร้าน คนรู้จักหลายคนมองว่าพวกเราบ้า ตึกก็เก่า ที่จอดรถก็ไม่มี แถมบางคนยังปรามาสว่าย่านนี้ (ถนนสาย 1) ฟื้นกลับมาไม่ได้แล้ว แต่เราก็ยืนกรานว่าต้องเป็นตรงนี้ เราชอบตึกเก่าหลังนี้ และถ้าเราทำพื้นที่ศิลปะในเมือง อาคารก็ควรจะมีประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเมืองเช่นนี้

ผลตอบรับค่อนข้างดีเลยครับ วันเปิดนี่คนแน่นซึ่งเป็นธรรมดาของร้านใหม่ แต่หลังจากนั้น จากมีขาประจำมาดูหนังรอบละ 4-5 คน เมื่อมีการประชาสัมพันธ์ออกไปมากขึ้น ทุกวันนี้ที่นั่งเกือบเต็มทุกรอบ หนังบางเรื่องถึงกับต้องมีเก้าอี้เสริมหรือเพิ่มรอบ

หนังที่เลือกมาฉายทั้งหมดจะไม่ชนกับหนังที่ฉายในโรงใหญ่ เราได้พันธมิตรจากทั้งผู้นำเข้าหนังอย่าง Documentary Club และสตูดิโอทำหนังในบ้านเราอย่าง Hello Filmmaker, Common Move หรือกลุ่มฉายหนังอย่าง Wildtype คัดสรรหนังมาฉายเสมอ ส่วนมากจะเก็บตั๋วเข้าชม แต่บางโปรแกรมที่มีสปอนเซอร์ก็เข้าชมฟรี ซึ่งนอกจากฉายหนัง พื้นที่ข้างบนเรายังปรับให้เป็นเวทีเสวนาด้วย เพราะปกติเราจะตั้งวงคุยกันหลังหนังจบ แต่ถ้ามีกิจกรรมพูดคุยเกี่ยวกับการพัฒนาเมือง เราก็ตั้งวงกันในห้องนั้นได้เลยเช่นกัน

ส่วนชั้นล่าง นอกจากเปิดเป็นร้านกาแฟ เราก็มีแกลเลอรี่ที่เน้นแสดงงานศิลปะของศิลปินในเมืองหาดใหญ่และใกล้เคียง โดยจะมีนิทรรศการศิลปะหมุนเวียนเดือนละ 1 ครั้ง จริงๆ เมืองเรามีศิลปินเยอะนะครับ ที่สำรวจดูคร่าวๆ รวมกับพื้นที่ใกล้เคียงด้วยเรามีมากถึง 200 คน หลายคนอาจไม่ใช่ศิลปินอาชีพ แต่ก็มีผลงานที่โดดเด่นเฉพาะตัว หรือได้รับการยอมรับระดับสากล อย่าง กร-ธนากร แซ่เตีย ช่างภาพสตรีทที่เคยแสดงงานกับเรา อาชีพจริงๆ เขาคือพนักงานร้านยูนิโคล่ที่เซ็นทรัล แต่ภาพถ่ายของเขาได้รางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว

ผมคิดว่าภาพยนตร์และศิลปะมันดึงดูดให้คนได้มาพบกัน ไม่ใช่เฉพาะนักดูหนังหรือคนที่สนใจศิลปะ แต่ความที่เนื้อหาของสื่อนั้นๆ มันพาเราข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมได้ไกลกว่าที่คิด เราจึงได้รู้จักคนที่ในชีวิตประจำวันอาจไม่ได้เจอ เช่น ครั้งหนึ่งเราเคยฉายสารคดี Breaking Habits ที่เล่าถึงกลุ่มแม่ชีที่ปลูกกัญชา ก็มีกลุ่มพ่อค้ากัญชาในหาดใหญ่มาจองตั๋วหนังเรื่องนี้กับเราจนเต็มโรง หรือสารคดี Hail Satan ก็มีกลุ่มอันเดอร์กราวนด์ที่แต่งตัวจัดๆ มานั่งดูกับเรา เช่นเดียวกับฉายหนังเกี่ยวกับดนตรีแจ๊ส ก็มีกลุ่มคนฟังดนตรีแจ๊ส เป็นต้น

ปีนี้ ผมกลับมาอยู่หาดใหญ่ได้ 6 ปีแล้ว พอทำ Lorem Ipsum และได้รู้จักเครือข่ายคนรุ่นใหม่กลุ่มต่างๆ ก็ทำให้ผมพบว่าจริงๆ เมืองเราไม่ได้เริ่มจากศูนย์เสียทีเดียว จากเมื่อก่อนตอนเรียนหนังสือที่นี่ ผมพบว่าเมืองหาดใหญ่มันถูกพัฒนาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเป็นเป้าหมายหลัก เมืองไม่ค่อยมี facility สำหรับคนในเมือง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่อย่างพวกเรา ซึ่งนั่นทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนเลือกที่จะไปทำงานที่อื่น แต่ตลอดหลายปีหลังมานี้ การได้เห็นความเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ในการพัฒนาให้เมืองเป็นพื้นที่สำหรับทุกคน ผมก็พบว่าตัวเองตัดสินใจถูกที่เลือกกลับมาใช้ชีวิตและทำงานที่บ้าน

ผมบอกทุกคนเสมอว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของเมืองคือคุณภาพชีวิตของผู้คน ถ้าคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถเข้าถึงโอกาสในการพัฒนาตัวเอง และเมืองมีสุนทรียะ คุณแทบไม่ต้องโปรโมทอะไรมากเลย เพราะสิ่งนี้จะเป็นแม่เหล็กดึงดูดการท่องเที่ยวเอง และลึกๆ ผมหวังว่า Lorem Ipsum จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองเมืองนี้ด้วยศิลปะ เสริมสุนทรียะให้กับเมือง และเป็นพื้นที่ที่ทำให้คนรุ่นใหม่ในหาดใหญ่ได้มาพบและร่วมแบ่งปันศักยภาพส่งกลับไปสู่เมืองเมืองนี้”

เรวัฒน์ รักษ์ทอง
หนึ่งในหุ้นส่วนร้าน
Lorem Ipsum
https://www.facebook.com/lorem.ipsum.space

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago