“โครงการย่อยชุด “การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน” เข้าไปศึกษาและเก็บข้อมูลท้องถิ่นในพื้นที่วิจัย ประสานงานกับท้องถิ่นในภาคีที่เกี่ยวข้อง คือภาครัฐ ตัวเทศบาลเมืองหัวหินเองที่เป็นเจ้าภาพทุนวิจัย ภาคประชาชน ภาควิชาการคือมหาวิทยาลัยที่เป็นพันธมิตรกันคือมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงที่เข้ามาทำงานวิจัยเป็นช่วงสถานการณ์โควิด เมืองได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเต็มร้อย ชุมชนพูลสุขที่เราเลือกไปทำวิจัย พวกร้านอาหาร สถานบันเทิง ธุรกิจการท่องเที่ยวโรงแรม คือปิดทำการทั้งหมด จนกระทั่งร้าง ก็มีปัญหาในการเรียนรู้เรื่องความเปลี่ยนแปลงฉับพลัน นักวิจัยก็ทำงานกันยากพอสมควร
ขณะเดียวกัน การให้ข้อมูลกับชาวบ้าน ในความเป็นเมืองหัวหินค่อนข้างจำกัด เพราะคนที่นี่ถ้าเขาไม่สนิท ไม่ไว้ใจ เขาก็ไม่ค่อยให้ข้อมูล แต่เพราะเราลงพื้นที่ ไปคุยกับเขาบ่อยๆ ทำความรู้จักกับชาวบ้าน ทำให้เขาไว้ใจ เขารับรู้ว่าเรามาทำอะไร เขาก็จะบอกว่าตรงนี้มีอันนั้น ตรงนั้นมีอันนี้ ไปหาคนนั้นคนนี้ เราก็ได้ข้อมูลเชื่อมโยงมากขึ้น และชาวบ้านได้เห็นทีมวิจัยลงพื้นที่เพื่อช่วยแก้ปัญหาในหลายๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรฝึกอาชีพ ที่เราพบว่าเขาก็อยากเอาภูมิปัญญาบางอย่างออกเผยแพร่และเพิ่มมูลค่า เช่น พัดใบตาล ที่มีคนเดียวทั้งเมือง เอาภูมิปัญญาเดิมจากปราณบุรีมาทำ ปกติพัดพวกนี้จะขึ้นรา เราก็เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เขา เช่น ลงแล็กเกอร์ได้ แล้วก็ส่งเสริมการขาย สอนชาวบ้านที่เป็นผู้สูงอายุ คนว่างงานใช้หลักสูตรเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร ด้านการขายออนไลน์ ให้เขาไลก์เป็น รู้จักขายเป็น เขาก็มีสกิลใหม่
คนหัวหินอยู่ด้วยการท่องเที่ยว เขาไม่ได้มีอาชีพอื่นรองรับ แต่พอโควิดมา ต้องคิดแล้วว่าถ้าเขาอยู่แบบเดิม อยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเรียนรู้ก็จะเกิดขึ้น บางคนอยากได้อาชีพใหม่ ก็เอาความรู้ใหม่ให้เขา สิ่งที่เราพบว่าเป็นเสน่ห์ เป็นรากเหง้าของคนหัวหิน คือทุกบ้านมีรูปของพ่อหลวง สิ่งที่เขาพยายามบอกนักวิจัยคือทุกคนมีความจงรักภักดี แล้วเขาอยากเผยแพร่ความรู้ท้องถิ่น เรื่องประวัติศาสตร์เมือง ภูมิปัญญา วิถีชีวิต ให้กลายเป็นข้อมูลของการพัฒนา เราจัดเวทีให้เขามาร่วมวางแผนพัฒนาสิ่งที่เขามี เช่น เส้นทางท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนพูลสุข เราตั้งจุดการเรียนรู้ทั้งหมด 7 จุดหลักๆ สถานีรถไฟหัวหิน ศูนย์โอทอปหัวหิน ชุมชนพูลสุข ชายหาดหัวหิน ศาลเจ้าแม่ทับทิม ตลาดหัวหิน-ตลาดฉัตรไชย บ้านแนบเคหาสน์ แล้วนักวิจัยก็ลงไปเจาะ เก็บข้อมูล ถอดมาทีละจุดว่าตรงนี้มีเรื่องราวอะไร นำขึ้นมาทำอะไรได้บ้าง อันนี้คือไฮไลต์ของเมือง เราก็มาทำหลักสูตรท้องถิ่นหัวหินศึกษา เอาสำนักการศึกษาของเทศบาลฯ มาเป็นเจ้าภาพในการทำหลักสูตรท้องถิ่น รวบรวมภูมิปัญญา ชาวบ้านมาแบ่งปันความรู้กัน คนนี้เป็นภูมิปัญญาเปลือกหอย เขาก็สอนคนที่เป็นพัดใบตาล ตอนแรกเขาทำได้อย่างเดียว ตอนนี้เขาทำได้หลายอย่าง คือพอเขามีเวทีมาเจอกัน มันกลายเป็นเครือข่ายใหม่ แล้วเขารู้สึกว่าที่บ้านเขามีของดีหลายอย่าง คือเวทีของ Learning City เฉพาะภูมิปัญญานะ คือ สิ่งที่ไม่เคยออกมาก็ออกมา
เราได้หลักสูตรท้องถิ่นทั้งพวกอาหารพื้นบ้าน ปิ้งงบ หอยเสียบมะละกอ พวกการละเล่นพื้นบ้าน ประเพณีผีพุ่งไต้ ตรงนี้เป็น soft power ส่งเสริมการท่องเที่ยว นายกเทศมนตรีเมืองหัวหินก็เอาไปเป็นนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว จัดเวทีให้การละเล่นพวกนี้ไปอยู่บนชายหาดในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวที่มาก็รู้สึกว่าหัวหินยังมีอีกหลายอย่างที่เขาไม่เคยเห็น แล้วภูมิปัญญาพวกนี้บรรจุเข้าไปเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร 7 โรงเรียนในเทศบาลเมืองหัวหินได้เรียน กลายเป็นการผลิตสื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ เด็กทั้ง 7 โรงเรียนสามารถเล่นการละเล่นพื้นบ้านที่ชายหาดได้สามพันคนเลย ทุกคนมีความรู้เรื่องนี้ เล่นได้ สาธิตได้ จัดแสดงได้ ก็ทำให้เขาภูมิใจในความเป็นเมืองของเขา เทศบาลฯ ก็ใช้หลักสูตรท้องถิ่นหัวหินศึกษา เรื่องประวัติศาสตร์เมือง การละเล่น ภูมิปัญญา อาหาร ขนม มาขับเคลื่อนพัฒนาอัตลักษณ์ของเมือง ความยั่งยืนที่เกิดขึ้นคือ หนึ่ง การเรียนรู้บ้านของตัวเอง สองคือ มารันเศรษฐกิจ พวกภูมิปัญญาถูกส่งเสริมขึ้นมา เส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนที่ไม่เคยมี ซึ่งปกติมันมีอยู่แล้ว เรามาสร้างเส้นทางขึ้นใหม่ บางทีคนมาท่องเที่ยวเขาอยากดูว่าวิถีชีวิตเป็นยังไง อยากรู้สตอรี่ตรงนี้ว่าเป็นยังไง เหมือนที่เราเดินมาร้านตะโก้เสวย เราเห็นแต่ป้าย กินแล้วอร่อย แต่ไม่รู้เรื่องราวเป็นยังไง แม้กระทั่งร้านปิ้งงบ มะละกอเสียบไม้ ชื่อซอยในเมือง ซอยแนบเคหาสน์ที่วงเล็บว่าซอยรวมเผ่า หรือซอยแพร่พันธุ์ ชื่อถนนนเรศดำริห์ แนบเคหาสน์ ที่ไม่ใช่ศัพท์แสงชาวบ้าน พวกนี้มีประวัติศาสตร์หมด แล้วเขาอยากถ่ายทอดต่อ อยากสืบสานต่อ อีกอย่างคือคนหัวหินมีภาษาพูดที่ไม่เหมือนคนอื่น สำเนียงเขาจะเหน่อ และมีคำสร้อยลงท้าย เช่น คำว่า “ดุ๊” “กินข้าวดุ๊” มันไม่ได้มีความหมายอะไร แต่เป็นภาษา เป็นที่มาของความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์อีกอย่างหนึ่ง
โครงการวิจัยนี้เราเลือกชุมชนพูลสุข เพราะมองเห็นศักยภาพ มีข้อมูลประวัติศาสตร์เป็นตัวตั้ง ถ้าเป็นชุมชนอื่นมันไม่ชัด เพราะชื่อหัวหิน บ้านแถบหิน หรือชื่ออะไรก็แล้วแต่ ฐานมาจากตรงชุมชนพูลสุขนี่ มันมีที่มา ต่อยอดได้ เช่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว พอเขาได้เส้นทางท่องเที่ยวก็เอาไปเข้าแผนการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัด เราก็ให้เครือข่ายรถตุ๊กตุ๊ก มอเตอร์ไซค์ เครือข่ายม้าชายหาด มาเอาไปทำเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ที่สอดคล้องกับวิธีคิดแนวทางของเขา แล้วเราพัฒนาเขาให้มีความรู้ในการเล่าเรื่อง ทำไกด์ท้องถิ่นขึ้นมา ก็สร้างอาชีพให้กับคน นักท่องเที่ยวก็ได้เรียนรู้การท่องเที่ยววิถีใหม่ เที่ยวแบบคนที่มีความรู้ มีคุณค่าในการท่องเที่ยว คนในชุมชนก็จะลุกขึ้นมาว่าเราควรต้องมีความรู้เรื่องบ้านของตัวเอง ต้องนำผลิตภัณฑ์ออกแบบเรื่องราวขนม อาหาร ใหม่ ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต พอทุกคนได้เรียนรู้ การรู้สึกหลงรักเมืองหรืออยากมีส่วนร่วม อันนี้คือหัวใจ เวลาเรามาเที่ยว เรามีความทรงจำที่ดี รู้สึกเมืองมีเสน่ห์ เราอยากมาอีก
งานวิจัยนี้เป็นข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยกัน เทศบาลฯ ได้ข้อมูลก็เอาไปใช้ประโยชน์ในการขับเคลื่อนนโยบาย ทำแผน ทำโครงการ ทำกิจกรรม ตั้งงบประมาณในการพัฒนาได้ ตัวภาคธุรกิจเองต้องมองออกว่า ที่เที่ยวมีเยอะแล้ว แต่อัตลักษณ์ที่จะเอาไปขายคืออะไร แม้กระทั่งโรงแรมใหญ่ๆ ของชุมชนโรจนเสถียร ก็มาร่วมกับโครงการวิจัย ช่วยกันคิดว่า soft power เหล่านี้คือข้อมูลที่เป็นเสน่ห์ของเมือง แต่ยังไม่ถูกยกระดับ ไม่ได้ถูกร้อยเรียงเพื่อเล่าเรื่อง ทีนี้ทุกภาคส่วนต้องรู้วิธีนำใช้ข้อมูล สิ่งที่เป็นจุดอ่อนของท้องถิ่นก็คือว่า เวลาทำงานพัฒนาเมือง เขาไม่มีนักวิชาการที่ทำข้อมูล ไม่มีองค์ความรู้ที่ถอดเป็นกระบวนการ ซึ่งเราพบว่าถ้าทำอย่างนี้ เมืองจะเข้มแข็งเรื่องดาต้า เพราะถ้าไม่มีข้อมูล เขาจะคุยอะไรกัน มันนึกเอาเองไม่ได้ หัวหินมีเทศบาลฯ เป็นเจ้าของเรื่อง ชี้เป้าหมายให้เห็นตรงกัน ชัดเจนตรงที่มีโมเดลก่อนว่าเราจะทำอะไรบ้าง วิสัยทัศน์เมืองคือเมืองแห่งความสุข Learning City คือ beat โมเดลคือกระบวนการ พอเรามีตัวนี้ เราก็วางเลยว่าเราจะไปเก็บทุนอะไรที่จะเอามาพัฒนาเมือง ทุนเศรษฐกิจ ทุนกายภาพ ทุนประวัติศาสตร์ ทุนธรรมชาติ ทุนสังคม เราก็เอาทุนนี้มานำใช้สร้างกลไกการเรียนรู้ กลไกเศรษฐกิจ ซึ่งโมเดลที่เราทำมันชัด เอาไปถอดบทเรียนได้เลย เทศบาลเมืองหัวหินก็นำไปใส่ในยุทธศาสตร์เมืองแล้ว”
อาจารย์อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
หัวหน้าโครงการวิจัยย่อย การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม พื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองหัวหิน
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…