พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตในอุโมงค์ป่าโกงกาง จึงคล้ายเป็นหมุดหมายและผลสัมฤทธิ์ของการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของชาวชุมชนไปพร้อมกัน

“นอกจากการที่มีป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ในระดับที่กิ่งก้านของต้นโกงกางอันสูงใหญ่โน้มเข้าหากันจนเกิดลักษณะคล้ายอุโมงค์อันงดงาม ความพิเศษของผืนป่าในหมู่ 4 ของตำบลปากพูน ซึ่งเป็นที่ตั้งของอุโมงค์ป่าโกงกาง1 ยังรวมถึงการเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญที่ใช้หล่อเลี้ยงชาวบ้านปากพูนจากรุ่นสู่รุ่น

ชาวบ้านใช้พื้นที่กว่าครึ่งของป่าชายเลนทำประมง บ่อเลี้ยงกุ้ง ปู และปลาตามธรรมชาติ และหลายคนอาจยังไม่ทราบว่าป่าแห่งนี้ยังเป็นแหล่งผลิตน้ำผึ้งชั้นดี ซึ่งเกิดจากผึ้งหลวงที่อพยพมาจากป่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงมาทำรังตามกิ่งไม้ของต้นแสมดำในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริมหล่อเลี้ยงชาวบ้านในชุมชนนี้กว่า 100 ครัวเรือน

โครงการวิจัยย่อยของพวกเรามีชื่อว่า ‘อุโมงค์โกงกาง: ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อพัฒนายกระดับสู่พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต และยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน’ มีวัตถุประสงค์หลักคือการศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นในอุโมงค์ป่าโกงกาง เพื่อจะพัฒนาสู่พื้นที่การเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต พร้อมระบบบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และที่สำคัญคือการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ได้จากอุโมงค์ป่าโกงกางแห่งนี้ นั่นก็คือน้ำผึ้งป่าโกงกาง

ทำไมต้องเป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตใช่ไหมคะ ต้องกล่าวอย่างนี้ แต่ไหนแต่ไรชาวบ้านปากพูนมีการจัดการท่องเที่ยวอุโมงค์ป่าโกงกางอยู่แล้ว โดยคนที่นำเที่ยวก็เป็นชาวประมงเจ้าของเรือในพื้นที่นั่นแหละ เพียงแต่การท่องเที่ยวแบบเดิมจะมีลักษณะแบบ sightseeing คือมาดูวิถีชาวประมง ชมหมู่บ้าน แวะถ่ายรูปในอุโมงค์ป่าโกงกาง แล้วก็กลับไป แต่เราคิดว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ ซึ่งมีพันธุ์ไม้ถึง 17 ชนิด และสัตว์ถึง 51 สายพันธุ์ ประกอบกับระบบนิเวศที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน รวมถึงเอื้อประโยชน์ให้กับวิถีทำมาหากินของชาวบ้าน องค์ความรู้เหล่านี้ควรได้รับการเผยแพร่ และเข้ามาเติมเต็มกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนอย่างยิ่ง

หลังจากลงพื้นที่สำรวจ เราก็สกัดข้อมูลที่ได้มา แบ่งประเภทของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศ เพื่อจัดทำป้ายที่ระบุข้อมูลโดยสังเขปของสายพันธุ์พืชและสัตว์ที่พบในแต่ละจุด พร้อมคิวอาร์โค้ดให้นักท่องเที่ยวสามารถสแกนเข้าไปอ่านข้อมูลเพิ่มเติม นั่นจะทำให้นักท่องเที่ยวทราบว่าปลาที่เพิ่งโผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำคือปลาสายพันธุ์อะไร นกที่เกาะอยู่บนกิ่งต้นแสมคือนกอะไร เป็นต้น รวมถึงจัดทำแผนที่เส้นทางชมอุโมงค์ป่าโกงกาง เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าใจถึงภาพรวมของพื้นที่ คล้ายเป็นการสร้างคอนเทนต์ซ้อนอยู่ในสถานที่จริง


ในขณะเดียวกัน เราก็ทำงานร่วมกับนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ในการพัฒนาน้ำผึ้งป่าโกงกางที่ชาวบ้านเก็บมาขาย เป็นแบรนด์สินค้าในระดับชุมชน มีการออกแบบตราสัญลักษณ์ และบรรจุภัณฑ์ให้สะดวกต่อการใช้งาน และสร้างภาพจำในฐานะผลิตภัณฑ์ของชุมชน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้มีความเป็นสากลยิ่งขึ้น 

ทั้งหมดทั้งมวล เรานำข้อมูลในพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตแห่งนี้เปิดเป็น open data มอบให้ทางเทศบาลเมืองปากพูนสำหรับการเผยแพร่ รวมถึงนำรูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มอบให้ทางเทศบาลเจ้าของพื้นที่ได้ขับเคลื่อนต่อไป หรือหากมีนักท่องเที่ยวคนไหนค้นพบพืชหรือสัตว์ที่อยู่นอกเหนือจากที่เราสำรวจมา ก็สามารถอัพเดตข้อมูลลงไปได้ โดยในเบื้องต้น ข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ฯ จะถูกเผยแพร่ในเพจเฟซบุ๊คของสำนักงานเทศบาล พร้อมคลิปสั้นๆ สำหรับประชาสัมพันธ์

เราค่อนข้างโชคดีที่ได้ร่วมงานกับชาวบ้านเจ้าของพื้นที่ในหมู่ 4 ซึ่งมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งมาก และในขณะเดียวกันทางชุมชนเพิ่งมีการรณรงค์ยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายที่เป็นตัวการทำลายระบบนิเวศออกจากหมู่บ้านจนหมดสิ้น การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตในอุโมงค์ป่าโกงกางที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ จึงคล้ายเป็นหมุดหมายและผลสัมฤทธิ์ของการรณรงค์ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของผู้คนในหมู่บ้านไปพร้อมกัน”

ผศ.ดร. สุภาวดี รามสูตร และ ดร.มัณฑกา วีระพงศ์

อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
และนักวิจัยในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน 

หมายเหตุผู้เรียบเรียง: จากข้อมูลงานวิจัยระบุว่าป่าชายเลนในตำบลปากพูนมีทั้งหมด 23,357 ไร่ ซึ่งมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago