“พิพิธภัณฑ์สิรินธรคือห้องสมุดทางธรณีวิทยาขนาดใหญ่ ที่เปิดให้เด็กๆ เข้ามาอ่าน มาเรียนรู้ และมาค้นพบแรงบันดาลใจ”

“หลังจากที่พระครูวิจิตรสหัสคุณ เจ้าอาวาสวัดสักกะวัน ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ อันนำมาซึ่งการสำรวจขุดค้นอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการโดยเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ในปี พ.ศ. 2537 ผู้คนจากทั่วสารทิศก็ต่างมาที่นี่ รวมถึงที่อื่นๆ ในภาคอีสานที่มีรายงานการค้นพบ เพื่อร่วมสำรวจการขุดค้น โดยบางส่วนยังลักลอบนำกระดูกไปเป็นของส่วนตัว บางคนนำไปบูชาประหนึ่งเครื่องลางของขลัง บางคนก็เอาไปฝนทำยาด้วยความเชื่อผิดๆ ว่าจะเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งนั่นล่ะครับ ต่อมาบางคนก็เป็นนิ่วเพราะเหตุนี้

ภายหลังที่ทางกรมทรัพยากรธรณีได้ก่อตั้งศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ก่อนจะพัฒนามาเป็นพิพิธภัณฑ์สิรินธร เมื่อปี 2551 นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเป็นที่รวบรวม ศึกษาวิจัย และจัดแสดงข้อมูลด้านธรณีวิทยาและไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย พิพิธภัณฑ์ของเราก็ตั้งใจจะสื่อสารด้วยว่าซากฟอสซิลและกระดูกไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบเป็นสมบัติชาติ และเป็นต้นทุนในการศึกษาวิจัย ที่มีส่วนช่วยยกระดับเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในจังหวัด

นักธรณีวิทยาค้นพบว่าพื้นที่ในภาคอีสานเคยเป็นที่ราบลุ่มน้ำขนาดใหญ่เมื่อหลายล้านปีก่อน ซึ่งเป็นที่อยู่ของไดโนเสาร์หลากสายพันธุ์ เมื่อกาลเวลาผันผ่านมาถึงปัจจุบัน เราจึงค้นพบซากไดโนเสาร์ในภูมิภาคนี้มากกว่าภาคอื่นๆ

สำหรับการขุดค้นซากไดโนเสาร์ในประเทศไทย มีการค้นพบครั้งแรกที่อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2519 จนนำมาสู่การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์แห่งแรกของประเทศไทย (พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง) หลังจากนั้นก็เป็นที่ภูกุ้มข้าวของเรา ซึ่งค้นพบกระดูกมากถึง 700 ชิ้น เป็นแหล่งขุดพบซากไดโนเสาร์ที่สมบูรณ์ที่สุดของไทย

ในพื้นที่ 333 ไร่ พิพิธภัณฑ์สิรินธรแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรกคืออาคารจัดแสดง นำเสนอเรื่องราวทางธรณีวิทยาตั้งแต่การกำเนิดโลก 4,600 ล้านปีก่อน กระทั่งการกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนโลก จนมาถึงยุคไดโนเสาร์ ตามมาด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จนมาถึงยุคสมัยของมนุษย์ ผ่านวัตถุจัดแสดงที่เป็นฟอสซิลและกระดูกไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบจริงๆ รวมถึงกระดูกไดโนเสาร์จำลอง

อีกส่วนของพิพิธภัณฑ์คือหลุมขุดค้น ที่มีการพบกระดูกไดโนเสาร์ของจริงบริเวณภูกุ้มข้าว ปัจจุบันเรายังเก็บซากไดโนเสาร์ที่ขุดพบภายในหลุมขุดค้น เพื่อให้ผู้มาเยือนได้รับชม

เรามักพูดเสมอว่าพิพิธภัณฑ์สิรินธรคือห้องสมุดทางธรณีวิทยาขนาดใหญ่ ที่เปิดให้เด็กๆ เข้ามาอ่าน มาเรียนรู้ และมาค้นพบแรงบันดาลใจ ขณะเดียวกัน เรายังมีคลังตัวอย่างซากไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ สำหรับอ้างอิงสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่มีการค้นพบใหม่ ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ ทีมงานของเราก็ยังคงขุดค้นซากไดโนเสาร์ในหลายภูมิภาคของประเทศไทย

ในฐานะที่ผมเป็นนักสื่อความหมายประจำพิพิธภัณฑ์ ซึ่งมีหน้าที่นำข้อมูลยากๆ ที่นักวิจัยค้นพบมาเล่าให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ผมจึงมักได้ฟังคำถามที่เด็กหลายคนสงสัยอยู่เสมอว่า ใครคือนักขุดค้นไดโนเสาร์ หรือต้องเรียนอะไรมา ซึ่งนั่นเป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ เพราะหมายถึงเด็กๆ เขาอาจจะสนใจที่จะเป็นแบบนั้นบ้าง

คำตอบคือนักขุดค้นไดโนเสาร์มีชื่ออาชีพว่า นักบรรพชีวินวิทยา ซึ่งหมายถึงผู้ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในยุคโบราณ โดยพื้นฐานการศึกษาของอาชีพนี้ คือธรณีวิทยาและชีววิทยา ในประเทศไทยยังถือว่าขาดแคลนนักบรรพชีวินวิทยาอยู่ เพราะคนเรียนเรื่องนี้โดยเฉพาะค่อนข้างน้อย อาจจะติดภาพว่าจบมาแล้วหางานยาก แต่จริงๆ เรามีทุนวิจัยทั้งในและต่างประเทศพอสมควร

ส่วนบทบาทของผม นอกจากการสื่อความหมายแล้ว ยังทำค่ายเยาวชนด้วย โดยโครงการนี้เริ่มมาจากที่โรงเรียนต่างๆ มาทัศนศึกษาที่พิพิธภัณฑ์ และคุณครูก็มักถามเราว่าไม่รับทำค่ายเหรอ ผมก็เลยเริ่มบริการด้านองค์ความรู้ด้านนี้ ด้วยการจัดค่ายทั้งแบบหนึ่งวัน สองวันหนึ่งคืน และสามวันสองคืน แล้วแต่ความสะดวกของสถานศึกษา

ถ้ามาร่วมค่ายโปรแกรมหนึ่งวัน เราก็นำชมพิพิธภัณฑ์ทั้งสองส่วนตามปกติ พร้อมมีกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ร่วมสนุก ส่วนถ้าเป็นสองวันหนึ่งคืนเราก็มีที่พักให้ และเปิดให้เด็กๆ ร่วมฐานกิจกรรมต่างๆ พร้อมนำชมพิพิธภัณฑ์แบบ night museum เปลี่ยนบรรยากาศมาชมตอนกลางคืน ส่วนสามวันสองคืน จะเพิ่มเติมตรงที่ชวนเด็กๆ ออกภาคสนาม ได้ทดลองขุดซากไดโนเสาร์เองเลย 

นอกจากทำค่ายแล้ว เรายังมีโครงการส่งต่อองค์ความรู้ โดยร่วมกับเด็กๆ เยาวชน รวมถึงผู้เกษียณอายุในอำเภอสหัสขันธ์ เพื่อมาร่วมกิจกรรมกับเรา ไม่ว่าจะเป็นการอบรมอาสาสมัครมัคคุเทศก์ ให้คนในชุมชนรอบๆ นำชม เป็นต้น

และอย่างที่ผมเล่าไว้ตอนต้น นอกจากการเป็นห้องสมุดด้านธรณีวิทยาที่สำคัญของประเทศ พิพิธภัณฑ์สิรินธรยังมองตัวเองเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของอำเภอสหัสขันธ์และจังหวัดกาฬสินธุ์ ผมจึงมักบอกว่าการเอาซากไดโนเสาร์ไปไว้ที่หิ้งพระที่บ้าน หรือเอาไปทำยา มันไม่เกิดประโยชน์อะไร เพราะสิ่งเหล่านี้มันคือหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เปิดโลกของการเรียนรู้ให้แก่คนอื่น ที่สำคัญ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็ช่วยยกระดับเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวได้ แทนที่คุณจะเอาซากไดโนเสาร์กลับไปเป็นของส่วนตัว คุณเอาสัญลักษณ์ของความเป็นเมืองไดโนเสาร์ไปทำเป็นของที่ระลึกขายนักท่องเที่ยวดีกว่า ซึ่งเมื่อเราสื่อสารไปแบบนั้น หลายคนก็นำซากไดโนเสาร์ที่เก็บไว้มาคืน 

และมันก็ไม่ใช่แค่การเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัด กาฬสินธุ์ยังเป็นอุทยานธรณีวิทยาระดับประเทศ ซึ่งสามารถต่อยอดไปจนถึงระดับโลกผ่านองค์กรยูเนสโกได้ด้วย โดยการไปถึงจุดนั้น มันไม่ใช่แค่พิพิธภัณฑ์ของเราอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกับชุมชนไปจนถึงความเข้มแข็งของจังหวัด ผมจึงย้ำเสมอว่า ซากไดโนเสาร์ที่ขุดพบได้ มันไม่ควรเป็นของใคร แต่เป็นสมบัติของทุกคนในประเทศ”  

เฉลิมชัย จิตราช
เจ้าหน้าที่กิจกรรมและนักสื่อความหมายประจำพิพิธภัณฑ์สิรินธร
http://www.sdm.dmr.go.th/website/

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[ THE CITIZENS เมืองพนัสนิคม ]<br />กนกวรรณ ลิมป์รุ่งโรจน์<br />นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เจ้าของบริษัท ควอนทัม คอนสตรัคชั่น จำกัด

“ความน่าอยู่ของพนัสนิคมคือโอกาสที่จะส่งเสริมให้เมืองเป็นบ้านหลังที่สองให้คนทำงานในเมืองมาพักผ่อนหรือมาใช้ชีวิตได้”“พนัสนิคมเป็นเมืองปิด ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยว และไม่ใช่เมืองผ่าน คุณจะไปพัทยาก็ไม่ต้องผ่านพนัสนิคม จะไปฉะเชิงเทราก็ไม่ต้องผ่านเรา อันนี้คือโจทย์สำคัญที่ทำให้คนรุ่นใหม่ไม่รู้จะทำงานอะไรในบ้านเกิดของพวกเขา สิ่งนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่เกิดมาหลายสิบปีแล้ว พอเข้ามหาวิทยาลัยหรือถึงวัยทำงานเลยเลือกย้ายไปที่อื่น ทำงานจนเกษียณก็ค่อยกลับมาอยู่พนัสฯ เมืองจึงเต็มไปด้วยคนชรากับเด็ก พอมันเป็นแบบนั้น เมืองจึงไม่มีพื้นที่ให้คนรุ่นใหม่เท่าไหร่ จริงอยู่ที่พอช่วงหลังโควิด เราเห็นแนวโน้มของคนรุ่นใหม่กลับมาทำธุรกิจที่เมืองเรามากขึ้น…

2 days ago

[ CITY MOMENT เมื่อพนัสนิคมเป็นมากกว่าเมืองน่าอยู่ ]

จักสาน อาหารถิ่น ดินแดนเอ็งกอ ทุนวัฒนธรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ “เครื่องจักสาน” “อาหารท้องถิ่น” “เอ็งกอ” และ “ผู้คน” ร่วมสำรวจต้นทุนทางศิลปวัฒนธรรมที่ช่วยเติมเต็มความสมาร์ทให้กับเมืองน่าอยู่  เมืองจักสาน กับการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานชาวพนัสฯ จากเมืองที่สันนิษฐานกันว่าเป็นที่ตั้งของเมืองพระรถเมื่อกว่า 1,000 ปีก่อน…

3 days ago

[ THE CITIZENS ] เมืองพนัสนิคม<br />ปราณี มูลผลา<br />ผู้ก่อตั้งศูนย์เครื่องจักสานใหญ่ที่สุดในโลก

“ก่อนการเข้ามาของนิคมอุตสาหกรรม พนัสนิคมก็เป็นเมืองเกษตรกรรมเหมือนเมืองอื่น ๆ ละแวกนี้ แตกต่างก็ตรงคนพนัสฯ มีฝีมือในด้านงานหัตถกรรม สมัยก่อนเขาจะปลูกต้นไผ่ไว้หัวไร่ปลายนา แล้วก็ตัดไผ่มาเป็นเครื่องมือ เป็นข้อง ไซ สุ่ม ไว้จับสัตว์น้ำหากิน หรือทำเป็นภาชนะใช้งาน ตั้งแต่เกิดมา ฉันก็เห็นคนพนัสฯ…

3 days ago

[ THE CITIZNES ] เมืองพนัสนิคม<br />ภูวิช บุญนาคกัลยกร<br /> เจ้าของ I-Destiny Gallery Resort และผู้ร่วมก่อตั้งงานพนัสบันดาลใจ

“หลังจากทำงานเป็นโปรดิวเซอร์รายการโทรทัศน์ที่กรุงเทพฯ ได้สิบกว่าปี มันก็ถึงจุดจุดหนึ่งที่ผมรู้สึกถึงความไม่ยั่งยืน จริงอยู่ รายการที่ผมทำค่อนข้างประสบความสำเร็จ แต่งานในวงการบันเทิงเนี่ยมันมีวาระของมัน ประกอบกับตอนนั้นแม่ก็เริ่มมีอายุมากขึ้นแล้ว แต่แกก็ยังคงเปิดร้าน ไม่ยอมหยุดทำงานสักที ผมจึงคิดว่าต้องทำอะไรสักอย่างให้เขารู้สึกวางใจที่เห็นว่าเรามีความมั่นคง ความคิดเรื่องการทำธุรกิจที่พักก็เริ่มขึ้นแต่ก่อน ผมไม่เคยมองว่าพนัสนิคมจะเป็นเมืองท่องเที่ยวเลย แต่มองอีกมุม  พนัสนิคมก็ไม่เคยมีที่พักที่สามารถรับรองแขกผู้ใหญ่สักเท่าไหร่ ถ้าใครมาแต่งงานที่พนัสนิคม…

4 days ago

[ THE INSIDER ]<br />สาธิต ขันธวิทย์<br />สถาปนิกชำนาญการ กองช่างเทศบาลเมืองพนัสนิคม

“ผมเป็นคนพนัสนิคม ก่อนหน้านี้เคยทำงานเป็นนักผังเมืองในเทศบาลเมืองที่เป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ จริงอยู่ที่พอทำงานในเมืองใหญ่ ตำแหน่งรับผิดชอบต่าง ๆ ของหน่วยบริหารราชการจึงค่อนข้างจะครอบคลุม แต่การพัฒนาเมืองกลับไม่ได้ถูกนำโดยผู้คนท้องถิ่น มันถูกขีดมาจากระบบใหญ่จากบนลงล่าง และทิศทางการออกแบบเมืองมันจึงถูกกำหนดโดยผู้ประกอบการ ชาวบ้านหลายคนอาจได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ซึ่งพวกเขาทำอะไรไม่ได้มาก  ข้อดีของการอยู่เมืองเล็ก ๆ อย่างพนัสนิคม คือการที่ไม่เพียงชาวบ้านทุกคนเข้าถึงทรัพยากรของเมือง…

4 days ago

[THE INSIDER เมืองพนัสนิคม]<br />กนกวรรณ เจริญวัฒนวิญญู<br />นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ เทศบาลเมืองพนัสนิคม

“เราเป็นคนอำเภอเกาะจันทร์ แต่ช่วงมัธยมฯ มาเรียนที่พนัสนิคม ซึ่งเราเห็นว่าพนัสนิคมเป็นเมืองสะอาดมาตั้งแต่นั้น คือตั้งแต่ตอนเราเป็นเด็ก เมื่อหลายสิบปีก่อนแล้วนะ จนพอสอบบรรจุเป็นข้าราชการด้านสาธารณสุข ตอนเขาให้เลือกเทศบาลสังกัด เราจึงเลือกเทศบาลเมืองพนัสนิคม ซึ่งไม่ใช่เพราะที่ทำงานอยู่ใกล้บ้าน แต่เมื่อเราหาข้อมูล จึงรู้ว่าเมืองนี้จริงจังเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมจริง ๆ จึงรู้สึกว่างานที่เราทำมันมีคุณค่า พอได้มาทำงานเราก็เห็นแบบนั้นจริง…

6 days ago