“ถ้าเป็นผู้หญิงในครอบครัวพี่จะทอผ้าได้ทุกคนค่ะ ตอนเด็กๆ เราจะรวมตัวกันตรงใต้ถุนบ้าน มียายซ้อน (ยายซ้อน กำลังหาญ) คุณยายของพี่เป็นจุดศูนย์กลาง หลานๆ จะมากองรวมกัน และทอผ้าแข่งกัน ตื่นมาลงจากบ้านก็เจอกี่ทอผ้า เราโตมาแบบนั้น ตอนเด็กๆ ชอบไม่ชอบไม่รู้ แต่เริ่มทอเป็นตั้งแต่อายุ 15 ปีแล้ว
พี่เป็นลูกสาวของยายพิมพ์ (พิมพ์ ชมพูเทศ) ได้เรียนทอผ้ามาจากทั้งยายซ้อน แม่ และคุณป้า (ยายทองอยู่ กำลังหาญ) ซึ่งทั้งสองท่านก็เรียนต่อมาจากยายซ้อนอีกที ยายซ้อนเคยทอผ้าซิ่นตีนจกถวายสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่วังสวนจิตรลดา หลังจากนั้นพระองค์ท่านก็ทรงเสด็จมาเยี่ยมยายซ้อนที่บ้านหลังนี้ และก็เคยทรงให้เจ้าหน้าที่เดินทางไปรับท่านและยายทองอยู่ มาสาธิตการทอผ้าตีนจกที่พระราชวังไกลกังวลด้วย
และตอนปี 2534 พี่ยังเป็นตัวแทนกลุ่มทอผ้าตีนจกของที่บ้านไปประกวดการทอผ้าที่วัดแคทราย เป็นผู้เข้าประกวดที่เด็กที่สุด และได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 โดยรับรางวัลจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ดีใจและภูมิใจมากๆ
ทุกวันนี้บ้านคูบัวไม่ค่อยเหลือช่างที่ทอซิ่นตีนจกเท่าไหร่แล้ว ส่วนใหญ่จะทอผ้าฝ้ายทั่วไป เพราะขายได้ง่ายกว่า จะมีของแม่พี่ที่ยังทำอยู่ แรกๆ พี่ก็ทอด้วย จนพักหลังหันมาทอผ้าไหมตรานกยูงเป็นหลัก นกยูงทอง นกยูงสีน้ำเงิน และนกยูงสีเขียว เราใช้ไหมย้อมสีธรรมชาติ ได้อารมณ์ สีสัน และสัมผัสแบบธรรมชาติ ผ้าทอชนิดนี้หาคนทำยาก และกำลังเป็นที่ต้องการของนักสะสม งานพี่จึงมีคนจองซื้อกันตั้งแต่อยู่ในกี่
หลักๆ พี่ทอที่บ้านที่ลาดพร้าว 101 กรุงเทพฯ แต่เสาร์อาทิตย์ก็จะขับรถกลับมาหาแม่ที่คูบัว หรือถ้าวันไหนมีสื่อมาถ่ายทำที่คูบัว แม่ก็จะโทรเรียกให้พี่มาช่วยนั่งทอสาธิตหน่อย คุณป้าพี่ ยายทองอยู่ ซึ่งทอผ้ามาด้วยกันกับแม่ตั้งแต่เด็ก เพิ่งเสียชีวิตไป พี่ก็กำลังคิดจะกลับมาอยู่เป็นเพื่อนแม่ที่นี่
พี่มีลูกสาวสองคน คนโตได้ทุนจากรัฐบาลกำลังเรียนต่อปริญญาโทที่รัสเซีย คนเล็กเรียนปริญญาตรีปีสุดท้ายอยู่กรุงเทพฯ ลูกคนโตดูจะสนใจการทอผ้า และก็ทอได้อยู่ แต่เราไม่ได้คาดหวังให้เขาต้องมาทอผ้าเหมือนเรานะ ก็อยากให้ลูกทำในสิ่งที่พวกเขาสนใจหรือพวกเขารักจริงๆ
เหมือนกับพี่ตอนแรกๆ ที่เรียนจบมา ก็ทำงานอย่างอื่นอยู่พักใหญ่ ไม่คิดจะทอผ้าเหมือนแม่เลย แต่สุดท้าย เราก็ใช้ทักษะที่ติดตัวมาแต่เด็กประกอบอาชีพจนถึงทุกวันนี้ ลูกเราก็เหมือนกัน พี่ไม่ปิดกั้นอะไรเขา แต่ถ้าท้ายที่สุดเขาค้นพบว่าเขารักการทอผ้า และเลือกจะเป็นช่างทอ นั่นก็เป็นการตัดสินใจของเขา”
สายชล กระทู้
ช่างทอผ้าไหมตรานกยูง
ผู้สืบทอดรุ่นล่าสุดของกลุ่มทอผ้าตีนจกยายซ้อน กำลังหาญ
บ้านคูบัว อำเภอเมือง ราชบุรี
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…