พูดได้เต็มปากว่าสนั่นรักษ์เข้มแข็งที่สุด ทุกคนจับมือร่วมกัน ตั้งแต่ปกครองท้องถิ่น ผู้ประกอบการก็พยายามสนับสนุน กลุ่มอาชีพก็พร้อมรวมกัน ซึ่งถ้าทั้งสี่เทศบาลในอำเภอธัญบุรีเชื่อมต่อกัน จะเป็นเมืองเรียนรู้ได้ยาวเลยนะ

“เราเป็นมัคคุเทศก์อิสระ ส่วนมากพาเที่ยวตามแหล่งชุมชนในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ แต่พอเกิดสถานการณ์โควิดก็เลยไม่ได้ทำ เราต้องปรับตัว ก็มาคิดว่า ไม่เคยพานักท่องเที่ยวมาเที่ยวบ้านเลย บ้านเราเองแท้ ๆ ทีนี้เรารู้ว่าทุกปีจะมีการแข่งขันเขียนโปรแกรมการท่องเที่ยว ปีที่แล้วเลยเขียนส่งไป 2 โปรแกรมเป็นเส้นทางท่องเที่ยวและนวัตกรรมท่องเที่ยว ซึ่งเรานำเสนอนวัตกรรมท่องเที่ยวคือ “ไม้กวาดรักษ์โลก” ที่ชุมชนเราผลิตเองจากของรีไซเคิลในชุมชน และสามารถเอาไปใช้ได้กับทุกสถานที่ในเส้นทางท่องเที่ยวที่เราจัดทำ ก็ได้รางวัลติด 1 ใน 20 การประกวด “นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน” กิจกรรมการส่งเสริมชุมชนท่องเที่ยว รูปแบบ Smart Tourism ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเพื่อยกระดับชุมชนเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน โดยกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

เราเป็นอาสาสมัครแรงงานจังหวัดด้วย มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกจ้าง นายจ้าง กลุ่มแรงงานนอกระบบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ทำให้เรารู้จักคนในพื้นที่ เส้นทางท่องเที่ยวที่เขียนนำเสนอจึงเป็นการจับกลุ่มอาชีพในชุมชนเรามารวมตัวกัน เช่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนข้าว “ข้าวร่วมใจบึงสนั่น”, สวนผู้ใหญ่อ้วนไม้ดัด คลอง 12, เกษตรแก้วมังกร, ตลาดต้นไม้ไก่คู่ คลอง 14, กลุ่มวิสาหกิจชุมชนรักษ์สิ่งแวดล้อม, กลุ่มโอทอป, สวนครูตู่ที่ส่งเสริมผักปลอดสาร และปราชญ์ชาวบ้าน เช่น หมอยา หมอสมุนไพร หมอดินที่อยู่ในกลุ่มเกษตรกร ก็เป็นเส้นทางท่องเที่ยวเกษตรสไตล์ไทย ๆ พอเราวางเป็นการเกษตรอย่างเดียวก็แข่งกับคนอื่นยาก บ้านเราเป็นชุมชนเมืองผสมเกษตร พื้นที่เกษตรเป็นไม้เศรษฐกิจ พวกไม้ล้อม ไม้ดัด นาข้าวก็เป็นแปลงเล็ก ๆ ที่รวมกันเป็นแปลงใหญ่ ฉะนั้นเกษตรกรรมที่ปลูกกันเหมือนทางเหนืออย่างไร่ชา เราไม่มีเยอะอย่างเขา

เราก็มาคิดใหม่ทำใหม่ มองสิ่งที่บ้านเรามีดี คุยกับท้องถิ่นที่เข้ามาร่วมด้วย จับมือกับราชมงคล (มทร.ธัญบุรี) เราตั้งชื่อกลุ่ม “ฮักสนั่นรักษ์” ความหมายคือเรากอดกันกลมเกลียวในทุกภาคส่วน และขับเคลื่อนไปด้วยกัน เราวางเป้าหมายใหม่เป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ Wellness Tourism มีทั้งการกิน การอยู่ การอาศัย สุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ ทางมทร.ธัญบุรี คณะแพทย์แผนไทยมาลงพื้นที่กับเรา คุยกับปราชญ์ชาวบ้านที่เรามี อาจารย์ก็แนะนำให้พัฒนาคนก่อน แล้วก็พัฒนาศูนย์ท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ที่สำนักงานหน้าชุมชนเอื้ออาทร 10/2 เป็นศูนย์สุขภาวะรองรับคนในชุมชนก่อน จัดทำแพทย์แผนไทยครบวงจร คล้ายกับที่อภัยภูเบศร์ มีคุณหมอจากสาธารณสุขอยู่ประจำที่ศูนย์ฯ มีปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งด้านปรุงยามาอยู่ประจำ ให้คำปรึกษาแนะนำที่มาจากประสบการณ์และความสามารถของเขาล้วน ๆ มีนวดเท้า นวดตัว อบสมุนไพร ดูแลตั้งแต่เด็กเล็กจนผู้สูงอายุ สิ่งที่เรามีไม่ได้รอนักท่องเที่ยวอย่างเดียว แต่มีรองรับคนในชุมชน แล้วก็มีผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น โลชั่น ครีมนวด ที่ทำมาใช้ในศูนย์สุขภาพ ทางมทร.มาสนับสนุน ช่วยในการผลิตและติดแบรนด์ของบึงสนั่นรักษ์ ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทุกคนในชุมชนเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ ทุกคนมีสิทธิใช้ในศูนย์สุขภาพ ตอนนี้ก็อยู่ในขั้นลองใช้ ใช้แล้วดี ก็บอกต่อ ถึงตอนนั้นค่อยขายจริงจัง แล้วศูนย์สุขภาพที่นี่คือศูนย์นำร่อง ไม่ได้เปิดที่นี่ที่เดียว ในพื้นที่มีเอื้ออาทร 3 โครงการ เอื้ออาทรคลอง 9 เป็นเรื่องอาหาร เบเกอรีสุขภาพ เอื้ออาทรคลอง 10/1 เป็นสมุนไพร เอื้ออาทรคลอง 10/2 เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งสามแห่งมีจุดเด่นที่เอามาบูรณาการร่วมกันได้ และก็จะมีศูนย์แพทย์แผนไทยอยู่ในแต่ละเอื้ออาทร ช่วงนี้เป็นช่วงปรับคน หาจุดแข็ง ทำให้มีมูลค่าขึ้นมา

ตอนนี้เราทำโปรแกรมทัวร์หนึ่งวัน มารวมตัวกันที่ศูนย์ท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ที่เดียว คุณจะได้เห็นภาพรวมของตำบล ได้เห็นของดี Unseen ของบ้านเรา จะได้ตั้งแต่การกินอาหารปลอดภัย การรักษาดูแล สมุนไพรที่ใช้ก็เป็นสมุนไพรที่เราปลูกเอง อาจจะยังไม่เยอะ แต่ปลอดสารจริง ๆ อย่างน้อยเด็กก็ปลอดภัย ครอบครัวปลอดภัย ผู้สูงอายุก็ปลอดภัย ซึ่งต่อไปเมื่อกลุ่มเริ่มเข้มแข็งหรือนักท่องเที่ยวเริ่มเยอะ ก็อาจจะแบ่งไปลงสถานที่จริงเลย เช่น ถ้าสนใจเบเกอรีอาหารสุขภาพ คุณไปชุมชนเอื้ออาทรคลอง 9 ไปดูการทำ แล้วก็ลงมือทำ เอากลับบ้านได้ด้วย หรือสนใจเกษตรแก้วมังกร ซึ่งเป็นภาคีเครือข่ายเพราะเขาอยู่ติดกับพื้นที่หนองเสือ ก็ไปดูเขาทำแก้วมังกรแปรรูป แล้วก็ไปจบที่ตลาดต้นไม้ไก่คู่ ศึกษาไม้เศรษฐกิจของพื้นที่ อยากเรียนรู้เรื่องไม้ล้อม ไม้หญ้า ไม้ดัด ไม้ต่อยอด เราไม่หวง เรียนแล้วกลับไปทำต่อได้ ต่อไปก็อาจจะมีขี่จักรยานเที่ยว แล้วทางเทศบาลสนั่นรักษ์หนุนเรื่องสิ่งแวดล้อม เราก็มีโปรแกรมครึ่งวันสำหรับคนมาดูงานเรื่องสิ่งแวดล้อม อีกครึ่งวันดูแลสุขภาพกายใจ มีสปา นวดเท้า นวดตัว ใครมีปัญหาจะบำบัดรักษาส่วนไหนก็ปรึกษาได้ ปราชญ์ทางแพทย์แผนไทยของเราเก่ง มีประสบการณ์มาก

เราโชคดีที่ทุกคนร่วมมือร่วมใจ แต่ละคนรู้อยู่แล้วว่ามีดีอะไร เพียงแต่เขาไม่มีที่จะโชว์ อย่างมัดย้อมบ้านเรา ลวดลายแตกต่างจากที่อื่น เป็นมัดย้อมที่ใช้มือด้นลาย และเลี้ยงครามเอง ซึ่งใครจะรู้ว่าชุมชนเมืองมีตรงนี้ เขาทำอยู่ในบ้าน ได้เด็กรุ่นใหม่มาพัฒนา และใช้ธรรมชาติเข้าช่วย ผลงานสวยมาก ตอนนี้จะสร้างอาชีพที่เขาไม่ต้องออกจากบ้านไปไกล ออกมาแค่หน้าหมู่บ้าน ใครอยากมีรายได้ก็ออกมาช่วยทำ เช่น ผลิตภัณฑ์กระดาษผักตบ ธรรมดาถ้าสานผักตบชวาเราต้องซื้อเส้น แต่นี่มีผักตบชวาอยู่หน้าบ้าน หน้าบ้านเป็นเงินเป็นทองเลย บ้านใครก็โกยขึ้นมา เป็นการช่วยสิ่งแวดล้อมคลองด้วย ช่วยงบประมาณของเทศบาลที่ต้องโกยผักตบมาโปะไว้ข้าง ๆ ไม่ได้เอาไปใช้งาน นี่เราเก็บเอาต้นมาทำกระดาษ ใบเอามาทำเป็นจานได้เลย ทางกระทรวงอุตสาหกรรมสนับสนุนตัวบล็อกปั๊ม ก็เอาตัวกระดาษผักตบไปขึ้นรูปปั๊มเป็นจานได้เลย แปลงทรัพยากรเป็นเงินให้คนในชุมชน การใช้โฟมกับพลาสติกก็น้อยลง ใช้ทรัพยากรที่ตัวเองมีให้คุ้มค่าที่สุดและหารายได้เพิ่ม แต่ปัญหาก็มีตรงที่ชาวบ้านยังต้องพยายามต่อยอดในจุดแข็งของตัวเอง สิ่งที่เรามี ที่อื่นก็มี เช่น ทำสีให้กระดาษผักตบของเราแตกต่างขึ้นมา แล้วในกลุ่มของเราก็จะทำไม่เหมือนกัน กลุ่มนี้ทำผักตบชวาแบบนี้ กลุ่มนี้ทำอีกแบบ ของเราก็จะมีหลาย ๆ อย่าง ไม่แย่งตลาดกัน เพราะเราไปออกบูทด้วยกันเป็นกลุ่ม

โปรแกรมท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์ปรับเปลี่ยนได้ ลงมือทำได้ เป็นการท่องเที่ยวเรียนรู้จริง ๆ ปทุมธานีเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ มีหลายอย่างที่เรียนรู้แลกเปลี่ยนกันได้ตลอด แต่ละที่เก่งไม่เหมือนกันตามบริบทเมือง ถ้าพูดถึงความเข้มแข็ง พูดได้เต็มปากว่าสนั่นรักษ์เข้มแข็งที่สุด ทุกคนจับมือร่วมกัน ตั้งแต่ปกครองท้องถิ่น ผู้ประกอบการที่เขามีโอกาสก็พยายามสนับสนุน กลุ่มอาชีพก็พร้อมรวมกัน ไม่ใช่ต่างคนต่างอยู่ ซึ่งถ้าทั้งสี่เทศบาลในอำเภอธัญบุรีเชื่อมต่อกัน เป็นเมืองเรียนรู้ได้ยาวเลยนะ”

สุภา ชัยมานะเดช

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวฮักสนั่นรักษ์

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago