“หลังเรียนจบ เราไปทำงานที่ฮ่องกงมาเกือบ 6 ปี จนอากงป่วยหนัก เลยตัดสินใจกลับบ้าน ครอบครัวเราเปิดร้าน ‘ท่งเฮงกี่’ ขายกุนเชียง หมูหยอง หมูแผ่น หมูสวรรค์ ซึ่งเปิดในย่านสบตุ๋ยของเมืองลำปางมา 80 กว่าปีแล้ว สมัยตั้งแต่รุ่นคุณทวดท่านย้ายมาจากซัวเถา ความที่สมัยเด็กๆ เราช่วยงานเตี่ย จึงรู้กรรมวิธีทั้งหมด พออากงเสียชีวิต เราก็เลยมาสานต่อธุรกิจเต็มรูปแบบร่วมกับเตี่ย โดยเราเป็นรุ่นที่ 4 ของร้าน
แม้ว่าเป็นธุรกิจขายของฝากดั้งเดิมที่หลายคนมองว่าติดตลาดไปแล้ว แต่ครอบครัวเราก็เห็นตรงกันว่า ถ้าปล่อยให้เตี่ยทำลำพังนี่อาจไม่ไหว เพราะแกก็ไม่ทันกับเทคโนโลยี จำเป็นต้องมีคนรุ่นใหม่อย่างเรามาช่วยเรื่องการตลาด การออกแบบ รวมถึงการขายออนไลน์ที่เป็นตลาดใหม่ ซึ่งทางออนไลน์ก็กลายเป็นตลาดใหม่ที่ช่วยร้านเราได้เยอะมาก
ไม่ได้เสียดายที่ต้องกลับมาอยู่บ้านเลยค่ะ เพราะคิดว่าอย่างไรเสีย เราก็จะต้องกลับมาช่วยธุรกิจที่บ้านอยู่แล้ว ตอนแรกเราคิดจะกลับมาเปิดบริษัทท่องเที่ยวด้วย เลยสมัครคอร์สด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิต แล้วก็ไปเรียนเป็นมัคคุเทศก์ จนเข้าวงการได้รู้จักคนนั้นคนนี้ในลำปาง รวมถึงหอการค้า ไปๆ มาๆ จากที่ตั้งใจทำธุรกิจท่องเที่ยว กลายเป็นว่าเราหันมาทำงานด้านสังคม (สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวฯ และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวฯ – ผู้เรียบเรียง) ควบคู่ไปกับบริหารร้านอย่างเต็มตัวแทนเสียอย่างนั้น (หัวเราะ)
เรามองว่าถ้าเราทำงานด้านสังคมที่มีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจให้แก่เมือง ผลสะท้อนมันก็จะกลับมาที่ธุรกิจของเราอยู่ดี ไม่ว่าจะในแง่มุมของการท่องเที่ยว การค้า หรือการทำให้เมืองมีความน่าอยู่ ถ้าทำให้ลำปางมีศักยภาพดีขึ้นได้ ร้านเรา รวมถึงธุรกิจอื่นๆ ในเมืองก็จะดีขึ้นตาม โดยเราโฟกัสไปที่สองส่วนหลักๆ คือเชื่อมโยงผู้ประกอบการไปสู่ตลาดใหม่ๆ ผ่านการออกงานแสดงสินค้าระดับประเทศและนานาชาติ และการทำกิจกรรมที่ดึงดูดให้คนมาเที่ยวลำปางเยอะๆ อย่างงานวิ่งเทรลประจำปีที่ดอยฟ้างาม อำเภอแจ้ห่ม ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้คนจากที่อื่นได้ทราบว่าลำปางก็มีเส้นทางเทรลดีๆ ด้วยเช่นกัน
หรือพอได้ทราบว่าที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิตทำโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เราก็คิดว่าสิ่งนี้จะช่วยเมืองเราได้มาก เพราะไม่ว่าคุณจะพัฒนาเมืองไปทิศทางไหน หัวใจสำคัญมันต้องถูกขับเคลื่อนด้วยองค์ความรู้และการสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้ให้กับคนในเมือง
ก็พอดีกับที่ร้านท่งเฮงกี่เราอยู่ในย่านสบตุ๋ย ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่โครงการจัดกิจกรรม จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้เรียนรู้ย่านไปพร้อมกับหาวิธีเชื่อมองค์ความรู้นั้นไปสู่การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในเมือง หนึ่งในกิจกรรมที่เรามีส่วนร่วม คือการจัดงานนั่งรถม้าจิบชาย้อนวันวานในย่านสบตุ๋ย เป็นการชวนผู้ประกอบการ ตัวแทนจากภาครัฐ และชาวลำปางมานั่งรถม้าชมเมือง แล้วไปจิบชาพูดคุยเรื่องแนวทางการพัฒนาเมืองกันที่บ้านพระยาสุเรนทร์ ซึ่งก็สอดคล้องกับโครงการที่เราอยากจะผลักดันให้ลำปางมีงานตรุษจีนในย่านสบตุ๋ยอยู่แล้วด้วย
ในแง่มุมของการท่องเที่ยว เราพยายามบอกทุกคนว่าลำปางไม่ใช่เมืองผ่าน เรามีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ยูนีคไม่เหมือนที่ไหน เพียงแต่ที่ผ่านมาเรายังขาดการเชื่อมร้อยทรัพยากรเหล่านี้เข้าด้วยกัน ซึ่งในบทบาทของเราก็พยายามจะเชื่อมโยงผู้ประกอบการด้านต่างๆ เข้าด้วยกัน รวมถึงดึงให้รัฐมาสนับสนุนกิจกรรมในเมืองมากกว่านี้ รวมถึงคนรุ่นใหม่ที่นำความคิดสร้างสรรค์มาพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวของเมือง เราเชื่อว่าลำปางมีศักยภาพมากๆ แต่มันไม่อาจจะพัฒนาไปได้ ถ้าไม่มีการร่วมมือทั้งจากรัฐกับเอกชน และคนรุ่นก่อนหน้ากับคนรุ่นใหม่ค่ะ”
วลีย์รัตน์ วิภาศรีนิมิตร ไลนส์
เจ้าของร้านท่งเฮงกี่
นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวเมืองเขลางค์นคร
และประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…