“ผมเคยไปทำงานเป็นวิศวกรในบริษัทผลิตรถที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รู้จักจังหวัดเล็กๆ ชื่อ ไอจิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของหุบเขาโครังเค ในแต่ละปีคนญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวจะไปชมใบไม้เปลี่ยนสีที่หุบเขานั้นเป็นประจำ ตัวเมืองเขาจะเล็กๆ เงียบๆ แต่ทุกคนก็จดจำเมืองนี้ได้เพราะโครังเค
ไอจิทำให้ผมคิดถึงลำปาง ความที่เมืองเราถูกจดจำในฐานะเมืองผ่าน แต่ขณะเดียวกันเราก็มีทรัพยากรที่โดดเด่นไม่เหมือนใคร ลำปางถูกจดจำในฐานะเมืองรถม้า เมืองเซรามิก หรือที่หลายคนอาจไม่ทราบว่าเราเป็นที่ตั้งของโรงงานครั่งที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย ขณะเดียวกันตามพื้นที่รอบนอก ลำปางก็เป็นเมืองที่มีทัศนียภาพของภูเขาที่งดงาม ผมเคยคิดเล่นๆ ว่าถ้าหน่วยงานท้องถิ่นลองร่วมมือกันปลูกไม้ดอกที่เป็นเอกลักษณ์ริมถนนนอกเมืองสักสาย ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่เมื่อถึงเวลาต้นไม้ผลิดอกออกสีสันสดใส คงช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนได้ไม่น้อย อาจไม่ได้ยิ่งใหญ่แบบโครังเค แต่เรามีศักยภาพที่ทำให้โดดเด่นได้ ซึ่งมันก็ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วย
อีกอย่างหนึ่งคือลำปางเราไม่ค่อยมีสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้มาเยือนเท่าไหร่ เพราะแม้เราจะมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ อย่างวัดพระธาตุดอยพระฌานที่มีพระใหญ่ไดบุตซึประดิษฐานอยู่ หรือวัดเฉลิมพระเกียรติ แต่เรากลับขาดการเชื่อมโยงสถานที่เหล่านั้นเข้าด้วยกัน เลยคิดถึง One Day Bus หรือทัวร์แบบ hop on hop off แบบต่างประเทศ นักท่องเที่ยวเสียค่าตั๋วรอบเดียว สามารถขึ้นลงรถบัสได้ไม่จำกัด และใช้รถนี้วิ่งเชื่อมเส้นทางต่างๆ ทั้งในเมืองและแหล่งท่องเที่ยวโดยรอบ มันจะกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่มาเที่ยวง่ายขึ้นโดยไม่ต้องหาเช่ารถขับ และก็ทำให้เขาอยู่กับเราอย่างน้อยๆ ก็หนึ่งคืน
คือถ้ามองลำปางในฐานะประเทศประเทศหนึ่ง ผมคิดว่าเรายังขาดดุลอยู่พอสมควร เพราะแม้เราจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมเซรามิก แต่ pain point ก็คือ โรงงานเกือบทั้งหมดต้องนำเข้าวัตถุดิบมาจากที่อื่นและจากต่างประเทศ แต่ถ้าเราสร้างความร่วมมือให้ชาวบ้านผลิตวัตถุดิบส่งโรงงานล่ะ มันอาจจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากได้มากกว่านี้ครับ
เพราะอย่าลืมว่าลำปางเรามีต้นทุนที่ดีมากๆ ทั้งทำเลที่เชื่อมจังหวัดในภาคเหนือตอนบน ตอนล่าง และทางตะวันออกเข้าด้วยกัน เราน่าจะพัฒนาโลจิสติกให้เพิ่มมูลค่ากว่านี้ได้ อาจเป็นเขต warehouse area เชื่อมต่อการขนส่งอย่างมีศักยภาพ ในด้านการเกษตรเรามีสับปะรดที่มีคุณภาพ แต่ทุกวันนี้พอฤดูกาลสับปะรดทีไร ก็ยังเห็นเกษตรกรเอามาขายถูกๆ ริมถนนอยู่เลย รัฐน่าจะดีลตลาดต่างประเทศได้ดีกว่านี้ เพราะแม้ของที่ดูเยอะๆ แล้วเหมือนไม่ได้แพงมากของเมืองเรา อย่างสับปะรด เซรามิก หรือครั่ง แต่มันมีมูลค่าอย่างสูงในต่างประเทศ รัฐควรหาตลาดให้เจอเพื่อทำให้คนลำปางมีรายได้มากกว่านี้
นั่นล่ะครับ อยากให้มองลำปางเป็นประเทศประเทศหนึ่ง ถ้าเราทำให้ประเทศพึ่งพาตัวเอง และสามารถทำการค้ากับภายนอกได้ เศรษฐกิจในประเทศก็ดี ไม่มีใครอยากย้ายไปอยู่ที่อื่น พอเป็นแบบนั้น ผู้คนในประเทศก็จะมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้ประเทศของเรา หรือจริงๆ แล้วคือทำให้เมืองของเราน่าอยู่ครับ”
สุรเชษฎ์ รอบคอบ
อดีตวิศวกรเครื่องยนต์ และเจ้าของร้านลาบหลังวัง
และแบรนด์น้ำสลัดปลอดสารเคมี ‘ลีนน์’ (Leann)
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…