“คำว่าคนจีนโพ้นทะเล หมายถึงชาวจีนที่เราหลายคนได้ยินมาตั้งแต่เด็กว่าพวกเขาหอบเสื่อหนึ่งผืนและหมอนอีกหนึ่งใบออกจากบ้านเกิดเพื่อมาแสวงโชคต่างแดน คำนี้ยังเชื่อมโยงกับการต้องเดินทางด้วยเรือไปยังที่ต่างๆ ผ่านทะเล หรือแม่น้ำ เพื่อจะได้พบสถานที่ในการตั้งรกรากแห่งใหม่
สมัยก่อนการเดินเรือไม่ได้ปลอดภัย ไหนจะคลื่นลม ภัยพิบัติ ไปจนถึงโจรสลัด คนจีนที่ออกเดินทางจึงมักหาเครื่องยึดเหนี่ยวด้วยการอัญเชิญเจ้าพ่อเจ้าแม่และทวยเทพต่างๆ มาสถิตยังศาลเจ้าตามเมืองต่างๆ ที่พวกเขาต้องเดินเรือ เพื่อจะได้กราบไหว้ขอพรให้แคล้วคลาดปลอดภัยในการเดินทางหรือบันดาลให้การค้าเจริญรุ่งเรือง เราจึงเห็นว่าศาลเจ้าจีนหลายแห่งมักอยู่ริมแม่น้ำ รวมถึงศาลเจ้าปุงเถ่ากง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง ติดกับกาดต้นลำไย ย่านไชน่าทาวน์ของเมืองเชียงใหม่แห่งนี้ ก็เช่นกัน
‘ปุงเถ่ากง’ เป็นภาษาแต้จิ๋ว แปลว่า ‘ชุมชนดั้งเดิม’ ศาลเจ้าปุงเถ่ากงแห่งนี้จึงมีนัยของการเป็นที่สถิตของเทพเจ้าที่คุ้มครองรักษาชุมชนดั้งเดิมแห่งนี้ไว้ บนไม้อกไก่บริเวณหลังคาของศาลเจ้า สลักตัวเลข 2416 ไว้ ซึ่งนั่นคือปี พ.ศ. ที่ศาลเจ้าแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของผู้คนในยุคนั้น ที่นี่ไม่เพียงเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุดของเมือง แต่ยังเป็นศาลที่ผูกพันกับประวัติศาสตร์เมืองจริงๆ เพราะกระทั่งในวาระครบ 700 ปีเมืองเชียงใหม่ ก็ยังเป็นฤกษ์งามยามดีที่ศาลเจ้าแห่งนี้ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ไปพร้อมกัน
เมื่อก่อนศาลเจ้าจะอยู่ในซอยโดยมีตึกแถวฝั่งถนนไปรษณีย์กั้นอยู่ คุณพ่อผม วิบูลย์ โตวิวัฒน์ ที่ดำรงตำแหน่งประธานศาลเจ้าปุงเถ่ากงและประธานมูลนิธิส่งเสริมปุงเถ่ากง เชียงใหม่ เป็นคนรวบรวมเงินซื้อตึกแถวบริเวณนั้น เพื่อต่อเติมศาลเจ้าให้เชื่อมกับถนนไปรษณีย์ และเปิดพื้นที่ด้านหน้าออกสู่แม่น้ำปิง เป็นที่สะดวกแก่คนที่มาสักการะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงค่ำคืนก่อนวันตรุษจีนที่มีคนไทยเชื้อสายจีนมาถวายเครื่องเซ่นไหว้หนาแน่นเป็นพิเศษ เรียกได้ว่าคนเชื้อจีนแทบทุกคนในตัวเมืองเชียงใหม่จะทยอยมาที่นี่ไม่ขาดสาย รวมถึงในช่วงเทศกาลกินเจปลายปี ที่เราจะจัดงานไปจนถึงพื้นที่สวนน้ำปิงฝั่งตรงข้าม และตลอดถนนวิชยานนท์ มีการออกร้าน จัดเวทีการแสดงงิ้ว บรรยากาศคึกคักและเต็มไปด้วยรอยยิ้ม
ซึ่งนอกจากที่คนเชียงใหม่จะมาสักการะองค์ปุงเถ่ากง-ปุงเถ่าม่า รวมถึง ทีตี่แป่บ้อ (เทพยดาฟ้าดิน) กวนอิมเนี่ยเนี้ย (เจ้าแม่กวนอิม) และ ไช้ซิ้งเหล่าเอี้ย (เทพเจ้าโชคลาภ) ความที่ศาลเจ้าแห่งนี้ผูกพันกับคนเชียงใหม่หลายต่อหลายรุ่น อีกทั้งยังเป็นสถานที่อันเกิดจากแรงศรัทธาและความร่วมแรงร่วมใจของผู้คนในอดีตในการก่อร่างสร้างขึ้นมา การที่คุณมาสักการะเทพเจ้าที่นี่ จึงยังหมายรวมถึงการรำลึกถึงบรรพบุรุษผู้มาลงหลักปักฐานและมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองเช่นทุกวันนี้ รวมถึงการได้โอกาสกลับมาพบปะเพื่อนฝูง ญาติพี่น้องที่อาจแยกย้ายไปอยู่คนละบ้าน ซึ่งต่างมาไหว้เจ้าเหมือนกัน ศาลเจ้าของเราจึงมีความเป็นศูนย์กลางของชาวไทยเชื้อสายจีนไปโดยปริยาย”
///
ไพศาล โตวิวัฒน์
รองประธานมูลนิธิส่งเสริมปุงเถ่ากงเชียงใหม่
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…