“สมัยก่อนถ้าจะไปไหนก็ต้องนั่งเรือไป คนแก่งคอยนิยมนั่งเรือไปเรียนหนังสือที่อยุธยากันเยอะ แต่ถ้าจะไปกรุงเทพฯ เขาก็นั่งเรือมาขึ้นที่ท่าน้ำแก่งคอยและเดินต่อไปที่สถานีรถไฟเพื่อไปยังหัวลำโพง”

“ก๋งของยายเป็นคนจีนแต่เดิมแกอยู่กรุงเทพฯ ก่อนจะตามย่าล้อม-พี่สาวของก๋ง มาอยู่แก่งคอย ย่าล้อมแต่งงานกับนายอำเภอแก่งคอย และมีที่ดินเยอะ ความที่ย่าล้อมไม่มีลูก ก็เลยแบ่งให้พี่ๆ น้องๆ ก๋งก็ได้ที่ดินจากย่าล้อมมา

ก๋งมีลูก 3 คน โป๊ะ โภคสุพัฒน์ เป็นลูกชายคนโต และเป็นเตี่ยของยาย ฉนวน โภคสุพัฒน์ และนางบุตรจันทร์ อิ่มรังสี ทั้งสามคนนี้เป็นหุ้นส่วนของตลาดแก่งคอยในยุคนั้น โดยอาฉนวน น้องของก๋ง เขาทำโรงหนังแห่งแรกของเมือง ชื่อ ‘แก่งคอยรามา’ แต่ตอนนี้ปิดตัวไปหลายปีแล้ว

ยายเกิดที่ตำบลบ้านป่า อยู่กับคุณย่าที่ทำนาปีเลี้ยงชีพ พอโตขึ้นมา ย่าก็ส่งให้ยายมาเรียนในตัวเมืองแก่งคอย มานอนค้างกับพี่สาวบ้านอาฉนวนใกล้ๆ โรงหนังนี่แหละ สมัยนั้นยังไม่มีการตัดถนน รถราแทบไม่มี ก็ต้องนั่งเรือเป็นหลัก นั่งตั้งแต่ยังเป็นเรือกรรเชียงจนเปลี่ยนมาเป็นเรือติดเครื่องยนต์ สมัยนั้นถ้าจะไปไหนก็ต้องนั่งเรือไป คนแก่งคอยนิยมไปเรียนหนังสือที่อยุธยากันเยอะ เขาก็นั่งเรือกันไป แต่ถ้าจะไปกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เขาก็นั่งเรือมาขึ้นที่ท่าน้ำแก่งคอย แล้วเดินต่อไปที่สถานีรถไฟ นั่งไปลงที่หัวลำโพง

ยายเรียนหนังสือไม่จบ ขึ้นมัธยมแล้วก็คิดถึงบ้าน เลยหนีกลับมาเสียก่อน ยายกลับไปทำนาจนสาว แต่งงานและมีลูกที่บ้านป่า จนสามียายเสีย ยายเลยไม่ทำนาต่อแล้ว ย้ายมาอยู่ในตัวเมืองแก่งคอยโดยไปขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ในโรงงานกะรัต แล้วมานอนบ้านเตี่ยตรงท่าน้ำนี้ (ตลาดท่าน้ำแก่งคอย) บ้านเตี่ยอยู่หลังสุดท้ายของตลาด อยู่ติดแม่น้ำ สมัยก่อนตรงนี้คึกคัก เพราะเป็นท่าน้ำหลักของเมือง พ่อค้าแม่ค้าจากอำเภอต่างๆ เขาจะเอาสินค้ามาขึ้นฝั่งที่นี่ บางคนก็มาจอดเรือเพื่อรอระดับน้ำข้ามแก่งละแวกนี้ ที่ชื่อ ‘แก่งคอย’ ก็มาจากตรงนี้ เขามาคอยแก่งอยู่แถวนี้

ตอนที่ยายมาอยู่บ้านนี้ การเดินทางและขนส่งทางเรือหายไปเยอะ ถนนมิตรภาพสร้างเสร็จสักพักใหญ่แล้ว และรถราก็กลายเป็นพาหนะหลัก บ้านตรงนี้เลยเงียบหน่อย แต่ก็ยังมีการค้าขายกันคึกคักอยู่ แต่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนไปเยอะ ซอยบ้านยายแทบไม่มีใครเปิดร้านแล้ว กระทั่งในตัวตลาดหน้าสถานีรถไฟก็เงียบลงไปเยอะ ก็เข้าใจได้ว่ายุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้วน่ะ จะให้ทำยังไงได้

ยายมีลูกสามคน ลูกสาวคนโตเขาอยู่กับสามีที่บ้านป่า เมื่อก่อนยายอยู่กับลูกคนเล็กที่บ้านหลังนี้ แต่เขาอายุสั้นกว่ายายก็เลยจากไปก่อน ทุกวันนี้ลูกคนกลางมาอยู่ด้วย”

คุณยายสดสี โภคสุพัฒน์
ชาวตลาดท่าน้ำแก่งคอย

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago