“สมัยก่อนแม่น้ำกว้างกว่านี้ แม่น้ำจะอยู่ติดตึกเลย ซุงลอยเต็มแม่น้ำ โดยส่วนใหญ่จะมาจอดตรงท่าเดชาฯ ตอนเป็นเด็ก ผมยังไปวิ่งเล่นบนซุงที่มันลอยแพมาเลย”

“เมื่อก่อนผมอยู่ชุมชนป้อมหนึ่ง ใกล้ๆ ตลาดลาวในตัวเมืองนครสวรรค์ ที่เรียกว่าตลาดลาวนี่ไม่ใช่คนลาวหรอก แต่เป็นคนจากภาคเหนือล่องเรือขนสินค้ามาขาย บางส่วนก็มาตั้งรกรากที่ปากน้ำโพ คนจีนที่นี่เรียกคนเหนือว่าลาว ก็เลยเรียกตลาดลาว แต่หลังๆ มาก็กลายเป็นคนเชื้อสายจีนอยู่เสียเยอะ

ตลาดลาวอยู่ติดแม่น้ำปิง เดินเท้าไปไม่ไกลก็คือปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงพาสานบนเกาะยมนั่นแหละ พวกเราอยู่ทันเห็นสมัยที่ตรงนั้นเป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางเรือ ตรงตลาดเทศบาลก็มีท่าเรือที่รับคนไปชุมแสง อีกสายไปก้าวเลี้ยว ขณะที่เรือที่สวนมาส่วนหนึ่งจะเป็นเรือขนข้าวสารไปส่งภาคเหนือ ถ้าใครจะเดินทางไปภาคเหนือ ก็มาขึ้นเรือหางยาวที่นี่ 

สมัยก่อนแม่น้ำกว้างกว่านี้ แม่น้ำจะอยู่ติดตึกเลย ซุงลอยเต็มแม่น้ำโดยส่วนใหญ่จะมาจอดตรงท่าเดชาฯ ตอนเป็นเด็ก ผมยังไปวิ่งเล่นบนซุงที่มันลอยแพมาเลย

ส่วนศูนย์กลางการค้าบนฝั่ง ต้องตึกเหลืองและตึกแดง อยู่ติดกับตรอกท่าเรือจ้าง คนขายของในนั้นเต็มไปหมด เขาก็เอาของที่ขนส่งกันทางเรือขึ้นฝั่งมาขาย ยังไม่มีห้างสรรพสินค้าอย่างทุกวันนี้

จนมีการสร้างถนนเชื่อมนครสวรรค์เข้ากรุงเทพฯ และมีการสร้างสะพานเดชาติวงศ์นั่นแหละ การคมนาคมขนส่งทางเรือจึงค่อยๆ หายไป นครสวรรค์จึงเปลี่ยนบทบาทจากศูนย์กลางขนส่งทางเรือ มาเป็นเมืองที่คนขับรถต้องแวะพักก่อนเดินทางขึ้นภาคเหนือ หรือคนจากภาคเหนือเดินทางลงภาคกลาง

พอเรียนจบ ผมก็ย้ายจากตัวเมืองไปบรรจุอยู่โรงเรียนรอบนอก จนใกล้เกษียณก็ย้ายกลับเข้ามา ตอนนี้อยู่ชุมชนหนองปลาแห้ง แล้วความที่ลูกไปเรียนมหาวิทยาลัยและรวดทำงานที่กรุงเทพฯ ก็เลยมีเวลามาทำอาสาสมัครชุมชน ไปๆ มาๆ ก็กลายเป็นประธานชุมชน เป็นมาได้ 3 สมัยแล้ว

ชุมชนหนองปลาแห้งมีอยู่ราว 160 ครัวเรือน แต่เดิมที่ดินตรงนี้เป็นวัดเก่าแก่ เลยเป็นที่ของสำนักพุทธศาสนา ลูกบ้านบางส่วนเป็นทหารเกษียณมาอยู่ บางส่วนเป็นพนักงานของบริษัทเสริมสุข เพราะชุมชนนี้อยู่ใกล้ทั้งค่ายทหาร (ค่ายจิรประวัติ) และโรงงานของเสริมสุข ที่ผมมาทำงานชุมชน เพราะผมเป็นครูมาก่อน มีความรู้ มีทักษะในการประสานงานกับราชการ ขณะเดียวกันก็มีเวลาพอ และก็ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องรายได้เพราะมีบำนาญอยู่แล้ว เลยอยากมาช่วยเหลือสังคม

ถ้าเฉพาะในชุมชนของเรา ผู้สูงอายุเยอะครับ เรามี 160 ครัวเรือน จำนวนผู้สูงอายุนี่ร้อยกว่าราย เด็กๆ แทบไม่มี คนหนุ่มสาวส่วนใหญ่ก็ไปทำงานต่างเมืองหมด แต่ในภาพรวมในเขตเทศบาล เราเริ่มเห็นคนรุ่นใหม่กลับเข้ามาบ้างแล้วนะ เป็นแนวโน้มที่ดี แต่ในระดับชุมชนเล็กๆ คณะกรรมการชุมชนอย่างพวกเราก็ต้องพึ่งพาสาธารณสุขบ่อยหน่อย เพราะต้องช่วยกันดูแลคนแก่

ที่ชอบเมืองนี้ เพราะผู้คนรักกันดี ยิ้มแย้มแจ่มใส เคารพซึ่งกันและกัน รวมถึงเชื่อในบรรพบุรุษ และเพราะเป็นแบบนี้ประเพณีตรุษจีนของเราจึงเข้มแข็งและมีชื่อเสียง หรือในระดับชุมชนที่ผมดูแล เห็นเงียบๆ แบบนี้ แต่ทุกคนให้ความร่วมมือดีมากเลยนะ ใครลำบากอะไร ก็พร้อมช่วยเหลือ มีจิตสาธารณะ อย่างเช้ามา ตี 5 คนในชุมชนบางส่วนเขาก็ตื่นขึ้นมากวาดถนน ทำความสะอาดซอยบ้านตัวเองกัน ก่อนจะรอใส่บาตรพระ เทศบาลเขายังมาชมเลยว่าชุมชนเราสะอาด

และวิถีชุมชนของเราแบบนี้ ยังปรากฏในหลายชุมชนทั่วเมืองนครสวรรค์นะ จริงอยู่ ถ้าในย่านการค้าใจกลางเมืองมันอาจจะไม่ค่อยมีแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต่างคนต่างอยู่ เขาก็สร้างความร่วมมือในแบบอื่นๆ โดยเฉพาะกับความร่วมมือกับทางเทศบาลในการขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับเมือง

ขณะเดียวกัน ผมเชื่อว่าคนในเมืองส่วนใหญ่ทราบดีว่าเมืองกำลังจะมีการพัฒนาครั้งใหญ่ในอีกไม่ช้า ทั้งศูนย์การค้า รถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ และอื่นๆ แต่ผมเชื่อว่า ถ้าคนนครสวรรค์ยังรักษาจุดเด่นด้านความร่วมมือและจิตสาธารณะแบบนี้ไว้ได้ เมืองของเราน่าจะเติบโตไปอย่างมีทิศทาง”  

ประสิทธิ์ พงษ์ไพบูลย์ และบุปผา พงษ์ไพบูลย์
ประธานชุมชนหนองปลาแห้ง และประธานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) เทศบาลนครนครสวรรค์

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago