สำคัญกว่าค่าตอบแทน คือการที่เด็กๆ ได้ฝึกสมาธิ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ ไม่ว่าพวกเขาจะโตไปทำอาชีพอะไร ถ้ามีพื้นฐานตรงนี้ ก็ไปต่อได้ง่ายทั้งนั้นครับ

“ผมเป็นครูสอนวิชาศิลปะโรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์ และสอนวิชาดนตรีในชั่วโมงวิชาชุมนุม ก็จะชวนเด็กๆ ที่สนใจอยากเล่นดนตรี พอมีแวว หรือมีพื้นฐานทางดนตรีมาซ้อมวงกัน

โรงเรียนเราเปิดสอนระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเป็นโรงเรียนร่วม รับเด็กที่บกพร่องด้านการเรียนรู้มาเรียนด้วย จึงมีวิชาชมรมที่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมเสริมเพื่อช่วยพัฒนาการด้านการเรียนรู้แก่เด็กๆ

ต้องยกเครดิตให้ผู้อำนวยการโรงเรียน อาจารย์กิ่งเพชร ธารพร ที่คอยสนับสนุนชมรมดนตรี ซึ่งไม่เพียงการสนับสนุนเครื่องดนตรีให้เด็กๆ ได้ฝึกซ้อม แต่ยังเชื่อมโยงไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้วงดนตรีของโรงเรียนได้จัดแสดงตามอีเวนท์สำคัญๆ ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ไปจนถึงงานระดับจังหวัดด้วย

วงดนตรีของโรงเรียนชื่อวงดอกพะยอมครับ มีสมาชิกด้วยกัน 13 คน ก็จะผลัดเปลี่ยนเป็นรุ่นๆ ไป ถ้าพี่ ป.6 เรียนจบ ก็จะรับสมาชิกใหม่ ขณะนี้สมาชิกอายุน้อยสุดเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เล่นตำแหน่งคีย์บอร์ด   

ผมจะสอนเด็กๆ ทุกเครื่องดนตรีเลย โดยผสานดนตรีไทยสากลที่เด็กๆ ชอบอยู่แล้ว เข้ากับดนตรีลูกทุ่งและดนตรีพื้นบ้านอีสาน และใช้เครื่องดนตรีโปงลางซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเอกลักษณ์ของกาฬสินธุ์มาบรรเลงประกอบ ส่วนใหญ่จะซ้อมช่วงพักเที่ยง พอเด็กๆ กินข้าวเสร็จ ก็มารวมตัวกันในห้องซ้อม หลักๆ นอกจากสอนวิธีการเล่นดนตรีแล้ว ผมจะสอนเรื่องการทำงานร่วมกันเป็นทีม ให้ทุกคนสามัคคีกัน เพราะถ้าสมาชิกไม่สามัคคี เราก็จะบรรเลงเป็นเพลงไม่ได้

อีกเรื่องคือการฝึกฝนให้เด็กๆ เกิดสมาธิและรู้จักความอดทน เพราะดนตรีมันไม่ใช่แค่หัดสองสามวันแล้วจะขึ้นเพลงได้เลย ยิ่งเด็กวัยนี้เขาจะติดเพื่อนและติดเล่นกันด้วย ผมก็จะบอกเขาว่าถ้าถึงเวลาซ้อมก็ขอให้มีสมาธิเต็มที่ บางครั้งซ้อมไปก็มีเด็กๆ น้ำตาซึมกันบ้าง แต่เราก็อยากให้เขาจริงจัง และรู้จักถึงประโยชน์ส่วนรวม ให้ทุกคนทำหน้าที่ของตัวเองเต็มที่

วงดอกพะยอมส่วนมากจะเล่นในกิจกรรมโรงเรียน ตอนเลิกเรียนวันอังคารและพฤหัสบดี บางครั้งก็ไปโชว์ที่ถนนคนเดินตลาดสร้างสุขบ้าง งานระดับเทศบาลและระดับจังหวัด เราก็ไปแสดงมาด้วย ล่าสุดไปแสดงที่งานฟื้นใจเมืองตรงริมน้ำปาว มีผู้ใหญ่มาถามว่าวงเรารับงานไหม ผมก็จะไปคุยกับ ผอ.กิ่งเพชร เรื่องรับงานว่าสะดวกให้เด็กๆ ไปไหม

ค่าจ้างจะแบ่งให้สมาชิกในวงเท่ากันหมดแหละครับ เด็กได้ค่าขนม พวกเขาก็ดีใจ แต่สำคัญกว่านั้น คือการที่พวกเขามีสมาธิ และสามารถทำงานเป็นทีมได้ ไม่ว่าพวกเขาจะโตไปทำอาชีพอะไร ถ้ามีพื้นฐานตรงนี้ ไปต่อได้ง่ายทั้งนั้นครับ”    

เสนีย์ การกระจ่าง
ครูสอนศิลปะโรงเรียนเทศบาล 6 ทุ่งศรีเมืองประชาวิทย์
และผู้ควบคุมวงดนตรีดอกพะยอม

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago