“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’
การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง Smart City แต่ถามว่า Smart City จะไม่เกิดขึ้นได้จริง ถ้าเราไม่พัฒนาคนให้เป็น Smart People วิธีการของเทศบาล คือ เราเริ่มต้นที่รากฐานด้านการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลจำนวน 11 โรงเรียน 11 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เรามีนักเรียนทั้งหมดเกือบ 10,000 คน มีครูทั้งหมด 500 กว่าคน การศึกษาของโรงเรียนเทศบาลเราวางไว้โดยใช้แนวคิด 3 Success Success ที่หนึ่ง ด้านทางวิชาการ นักเรียนที่มีความถนัดทางด้านความรู้ ด้านวิชาการ ประสงค์ที่จะไปเรียนต่อในที่สูงขึ้นให้ได้รับสนับสนุนและส่งเสริมอย่างเต็มที่ มีการปรับปรุงการเรียนการสอนจากระดับอนุบาลถึงระดับประถม และระดับมัธยม มีโครงการพัฒนาครู พัฒนาอุปกรณ์ การเรียนการสอน อาคาร สถานที่ ให้สอดคล้อง และเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก บวกกับปลูกฝังคุณลักษณะพึงประสงค์ 5 บวก 1 เป็นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการมีวินัย อดทน รับผิดชอบ เอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ กตัญญู บวก 1 คือ สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น
Success ที่สองคือด้านให้เป็นทางเลือกด้านกีฬา อาชีพ ใครมีแววที่จะไปทางด้านอาชีพ หรือทางสายวิชาการไม่ใช่แนวของเขา ก็มาเลือก Success นี้ได้ Success ที่สามคือทักษะชีวิตให้คิดเป็น เน้นการพัฒนาทักษะชีวิตเพื่อที่เขาจะได้อยู่คู่กับสังคมได้ โดยไม่มีปัญหาต่อไปในอนาคต ไม่ให้เด็กหลุดออกไปจากระบบการศึกษา และการดูแลของสังคม ซึ่งขอนแก่นเองก็เคยมีบทเรียนเรื่องนี้ จากการมีเด็กแก๊งซึ่งเคยมีมากถึง 22 แก๊ง มีสมาชิกเป็นพัน ๆ คน กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่มากของเมืองใหญ่ แต่ทางเทศบาล ครู ผู้ปกครอง ต่างก็ช่วยกันชักชวนให้เด็กแก๊งค่อย ๆ กลับเข้ามาร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ ทำให้พวกเขามีคุณค่า และใครที่พร้อมกลับไปเรียนในระบบก็ให้กลับมาเรียน บางคนก็ไปต่อสายอาชีพ ให้เขาได้มาร่วมกิจกรรมกับเทศบาล จนกระทั่งปัจจุบันอยู่เทศบาลและหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกว่า 25 หน่วยงานก็ร่วมกันผนึกกำลังดูและเด็กกลุ่มนี้ และทางเทศบาลก็จัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กขึ้นมาให้เขาได้ใช้ประโยชน์ ดูลทั้งเรื่องคุณภาพชีวิต เรื่องการศึกษา อาชีพ ปัญหายาเสพติด และเรื่องเอดส์
เรื่องเรียนรู้นอกห้องเรียน หรือการเรียนรู้ตามอัธยาศัย สำหรับคนทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเยาวชน ผู้ใหญ่ จนวัยผู้สูงอายุ เทศบาลก็ได้จัดตั้งศูนย์ ICT เป็นแหล่งเรียนรู้ไว้ที่ตลาดสดเทศบาล 1 แม่ค้า มีหลักสูตรเป็นคอร์สสั้นๆ ให้เรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ หรือการใช้เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน ถ้าใครอยากอ่านหนังสือเราก็มีโครงการชื่อว่า Mini Library เป็นห้องสมุดขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ตามสวนสาธารณะ เพื่อให้ชุมชนได้มาหยิบหนังสือไปอ่าน หรืออย่างชุมชนที่เข้าไม่ถึงห้องสมุดอย่างชุมชนริมทางรถไฟ เราก็มีรถสามล้อพ่วงข้างจากทางเทศบาลใส่หนังสือตามไปถึงที่ให้เด็กๆ และคนในชุมชนได้หยิบยืมอ่าน นี่คือสิ่งที่เราพยายามทำ พยายามสร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในทุกมิติ เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และก็เป็นสังคมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็น Smart Education หนึ่งในองค์ประกอบของ Smart City ขอนแก่นที่ประกอบด้วย Smart People, Smart Living, Smart Economy, Smart Environment, Smart Education, Smart Mobility และ Smart Government
ซึ่งการก้าวสู่การเป็น Smart City คือยุทธศาสตร์ แนวทาง และการใช้เกณฑ์มาตรฐานในการนำพาเมืองขอนแก่น ให้ทัดเทียมกับเมืองอื่นๆ ในระดับสากล
ผมขอนำเรียนเพิ่มเติมจากการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองโดยมีศูนย์การที่การพัฒนาคน และการพัฒนาการเรียนรู้ตลอดชีวิตแล้ว ขณะนี้เทศบาลนครขอนแก่นยังคงเดินหน้ากับโครงการ LRT ร่วมกับเทศบาล 5 เทศบาล ซึ่งมอบให้กับบริษัทในสังกัด 5 เทศบาล คือ บริษัท ขอนแก่น ทรานซิท ซิสเต็ม จำกัด KKTS โดยปัจจุบันระดมทุนได้แล้ว 25 ล้านบาท โดยทั้ง 5 เทศบาลมีความมุ่งหวังว่าหากทำให้โครงการ LRT สำเร็จ จะช่วยแก้ปัญหาการจราจร และระบบขนส่งสาธารณะในเมือง พร้อมไปกับการยกระดับคุณภาพชีวิตไปด้วย ทั้งที่เกิดจากการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจโดยรอบสถานี การพัฒนาธุรกิจตามแนวเส้นทาง และการสร้างงานทั้งทางตรงอย่างการผลิตและซ่อมแซมรถรางเบา และทางอ้อมจากผลของการพัฒนาระบบราง และที่สำคัญคือการพัฒนาการศึกษาให้มีหลักสูตรระบบรางให้ นักเรียน นักศึกษา ประชาชนในจังหวัดขอนแก่นในอีสาน สามารถที่จะมาเลือกเรียนในที่นี่ได้ เมื่อเรียนจบคุณก็จะมีงานทำ การยกระดับรายได้ ซึ่งเราก็ประเมินแล้วว่าจะส่งผลดีไม่ใช่เพียงแค่จังหวัดขอนแก่น แต่จะกระจายผลประโยชน์ไปยังอีก 4 จังหวัด อีสานตอนกลาง สอดรับไปกับการพัฒนาให้ขอนแก่นเป็น Logistics Hub และสร้างโอกาสในด้านอื่น ๆ ตามมามากมายในอนาคต ณ ขณะนี้กระบวนการรับฟังความคิดเห็นทำความเข้าใจกับคนขอนแก่น ได้ดำเนินการไปแล้ว เหลือเพียงหานักลงทุนมาร่วมลงขันสร้างให้ LRT ให้เกิดขึ้นจริงต่อไป”
ธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์
นายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…