สิ่งที่น่าดีใจคือได้เห็นชาวบ้านตระหนักในต้นทุนด้านสุขภาพ และการออมทรัพย์ของตัวเอง เพราะเมื่อพวกเขามีเงินเก็บและมีสุขภาพที่ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีขึ้นตามมา

“ในส่วนของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน พวกเรารับผิดชอบในโครงการย่อยที่ 5 การประเมินและพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจชุมชนปากพูน ซึ่งได้รับมอบหมายจากหัวหน้าโครงการให้ไปสอบถามชาวบ้านในชุมชนและเจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นว่าชุมชนประสบปัญหาเรื่องใด และต้องการให้โครงการวิจัยมาหนุนเสริมเรื่องใดเป็นพิเศษ

เราทำแบบสอบถามและการสัมภาษณ์จากชาวบ้านใน 12 หมู่บ้านของตำบลปากพูน โดยได้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นวัยทำงานอายุระหว่าง 21-60 ปี เกือบ 400 คน พร้อมไปกับการจัดเวทีชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในภาพรวมเราพบว่าชาวปากพูนมีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ในแง่มุมด้านสุขภาพ การทำงาน และสัมพันธภาพ ยังอยู่ในระดับปานกลาง โดยปัญหาที่พบส่วนใหญ่มีสองเรื่องหลักคือ อาการเจ็บป่วยจากการทำงาน และอีกเรื่องคือปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากชาวบ้านยังขาดการออมทรัพย์

พอทราบเช่นนั้น ควบคู่ไปกับการจัดกระบวนการการเรียนรู้ของโครงการย่อยอื่นๆ เราก็ได้ร่วมกับนักวิชาการจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาให้ความรู้ในการดูแลร่างกายแก่ชาวบ้าน โดยเฉพาะโรคกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงานของชาวสวนและชาวประมง รวมถึงโรคกระดูกที่เกิดในผู้สูงวัย

ส่วนประเด็นด้านการออมทรัพย์ เราได้ชวนนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมาจัดกิจกรรมให้ความรู้ในด้านการทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีการทำประเมิน ROI หรืออัตราส่วนของกำไรสุทธิกับค่าใช้จ่าย พร้อมให้ทำแบบฟอร์มการบันทึกบัญชีอย่างเป็นระบบ แทนที่จะบันทึกใส่สมุดแบบเดิม และทีมเราก็เข้ามาตรวจสอบและให้คำแนะนำทุกๆ สัปดาห์

การประเมินครั้งนี้ทำให้เราทราบว่าที่ผ่านมาชาวบ้านมักไม่ใส่ต้นทุนค่าแรงและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของตัวเองในบัญชีด้วย ส่วนใหญ่ก็คิดว่าหาหรือผลิตผลิตภัณฑ์มาได้เท่าไหร่ ขายได้กำไรเท่าไหร่ และมีค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจไปเท่าไหร่ ซึ่งเมื่อเราแนะนำให้ใส่ต้นทุนค่าแรงตัวเองไปด้วย ก็พบว่ากำไรที่เขาคิดว่าได้มาตลอดกลับลดลง

นั่นทำให้ชาวบ้านหันกลับไปจัดการต้นทุนตัวเองใหม่ ประกอบกับการได้องค์ความรู้เรื่องดูแลสุขภาพ พวกเขาก็มีความระมัดระวังในการทำงานมากขึ้น เพราะตระหนักดีว่าหากมีอาการบาดเจ็บหรือล้มป่วยจนต้องหยุดงาน รายได้ก็จะลดลง ซึ่งเมื่อพวกเขาตระหนักในเรื่องนี้แล้ว ก็จะทำให้การทำงานมีความรัดกุมและเป็นระบบยิ่งขึ้น ปรากฏว่าเมื่อเราทำการประเมินชาวบ้านหลังเสร็จสิ้นโครงการ ผลกำไรของพวกเขาสูงขึ้นมาด้วยจริงๆ เป็นที่พอใจของทั้งเราและชาวชุมชนอย่างมาก

นอกจากนี้เรายังได้ทำการประเมิน SROI หรือผลตอบแทนทางสังคมจากโครงการย่อยต่างๆ ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านหลายคนไม่เคยคิดมาก่อน หากเมื่อผลการประเมินออกมา ก็ส่งผลบวกต่อชุมชนค่อนข้างมาก

ยกตัวอย่างเช่นผลการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในโครงการอุโมงค์ป่าโกงกาง ที่ซึ่งภายหลังที่โครงการวิจัยเข้ามาผลักดันการพัฒนาคุณภาพน้ำผึ้งและบรรจุภัณฑ์ และการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เสริมเข้ากับการทำประมงพื้นบ้านที่มีอยู่เดิม ก็พบว่ามูลค่าทรัพยากรในป่าโกงกางสูงอย่างที่ชาวบ้านไม่เคยคาดคิดมาก่อน ยังไม่รับรวมความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนซึ่งส่งผลต่อภาพรวมในด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน สิ่งนี้ก็ทำให้พวกเขาตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ นำมาสู่จิตสำนึกหวงแหน และการสร้างแนวทางอนุรักษ์พื้นที่ในลำดับถัดไป 

หรือการประเมินโครงการ ‘พร้าวผูกเกลอ’ ที่ทีมวิจัยลงไปสร้างเครือข่ายเพื่อยกระดับผู้ประกอบการสวนมะพร้าว จากการประเมินก่อนเริ่มโครงการ จะพบว่ายอดขายของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ทรงตัว แต่เมื่อมีการผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ การทำแบรนด์ การทำสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงเชื่อมผู้ประกอบการสู่การจัดจำหน่ายในช่องทางออนไลน์ เมื่อมีการประเมินหลังโครงการแล้วเสร็จ ก็พบว่าชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งสวนมะพร้าวต่างๆ ยังสามารถเป็นต้นแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ผู้ประกอบการรายอื่นๆ ได้อีกด้วย

แม้โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จะมีข้อจำกัดเนื่องจากเป็นโครงการที่ได้รับทุนจาก บพท. ในระยะเวลา 1 ปี แต่เนื่องจากทีมของเรามองเห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาในมิติต่างๆ ของชุมชน ในฐานะนักวิจัยเราจึงพยายามเชื่อมสัมพันธ์กับคนในพื้นที่ และกระตุ้นให้นักศึกษาซึ่งเราพาพวกเขามาลงพื้นที่ด้วยทุกครั้ง มองหาแง่มุมในการทำวิจัยในพื้นที่ต่อในโอกาสต่อๆ ไป เพื่อหวังให้งานวิชาการเป็นอีกหนึ่งกลไกในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนแห่งนี้อย่างยั่งยืนต่อไป”

นอรินี ตะหวา และหทัยรัตน์ ตัลยารักษ์
อาจารย์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ปากพูน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago