“ถ้าเราเอาสโคปของย่านเมืองเก่าภูเก็ตมาวางบนถนนประสานไมตรีที่อยู่หน้าสถานีรถไฟลำปาง มันแทบจะไม่ต่างอะไรกันเลยนะครับ เพราะแม้เราจะไม่ได้มีอาคารสถาปัตยกรรมสวยๆ เรียงติดกันเท่าภูเก็ต แต่ความเป็นย่านการค้าของคนในพื้นที่จริงๆ ร้านที่ขายอาหารและขนมอร่อยๆ รวมถึงทางเท้าที่เดินสะดวก ความดั้งเดิมของถนนสายนี้ก็มีเสน่ห์ไม่แพ้เมืองท่องเที่ยวอย่างภูเก็ตเลย
ด้วยความที่เป็นย่านที่ริเริ่มโดยพ่อค้าแม่ค้าเชื้อสายจีน หลายคนมักมองว่าย่านสบตุ๋ยที่มีถนนประสานไมตรีพาดผ่านนี้เป็นไชน่าทาวน์แบบย่อส่วน แต่อันที่จริง เมื่อมองถึงการเชื่อมโยงกับย่านอื่นๆ สบตุ๋ยก็ถือว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมาก ทั้งกลุ่มชาวคริสเตียนที่อยู่ใกล้ๆ ชุมชนชาวไทใหญ่ ชาวพม่า และคนเมืองเอง ที่สำคัญผู้คนทุกกลุ่มก็กลมกลืนเข้าหากันจนเกิดเป็นพลเมืองชาวลำปาง ที่ต่างอาศัยอยู่ในอาคารหรือพื้นที่ที่ส่วนมากล้วนเป็นมรดกตกทอดมาจากอดีตทั้งนั้น ด้วยเหตุนี้ผมจึงมองว่าความเป็นย่านที่มีความหลากหลายและชีวิตชีวาแบบนี้ไม่ต่างอะไรจากพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต ซึ่งมีบรรยากาศของการเรียนรู้อยู่แล้ว
และเพราะมองเช่นนี้ โครงการวิจัยเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ผมมีส่วนขับเคลื่อนด้วย ก็เลยอยากไฮไลท์สิ่งเหล่านี้ขึ้นมาครับ เพราะถ้าไล่เรียงกันจริงๆ เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 1,300 ปีของเมือง พื้นที่ของการเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองลำปางที่เป็นทางการของเมืองเรากลับมีน้อยมาก เรามีมิวเซียมลำปาง หอปูมละกอน มีนิทรรศการในบ้านเก่าภายในย่านกาดกองต้า และที่เหลือจะกระจายอยู่ตามวัดต่างๆ ซึ่งทั้งหมดก็ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลเข้าหากัน ด้วยเหตุนี้หนึ่งในบทบาทสำคัญของโครงการวิจัยนี้ คือการเชื่อมข้อมูลเหล่านี้ และเปิดพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่มีหลักฐานอันชัดเจนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชาวลำปาง ให้คนในลำปางได้รับรู้กัน
เสน่ห์ของลำปางสำหรับผมมันคือการมีพื้นที่เก่าซ้อนทับไปกับวิถีชีวิตร่วมสมัยที่เป็นอยู่แบบนี้น่ะครับ หลายคนเคยได้ยินสโลแกนที่ว่า ‘นครลำปาง เมืองที่ไม่หมุนตามกาลเวลา’ เพราะเรายังเก็บมรดกทางประวัติศาสตร์ไว้เยอะมาก รวมไปถึงรถม้าที่เป็นสัญลักษณ์ของเมือง หลายคนเคยมาที่นี่เมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว มาอีกครั้งก็จะพบว่ามันเปลี่ยนไปน้อยมาก ซึ่งในเชิงการอนุรักษ์ก็เป็นเรื่องดีนะครับ แต่ถ้าเมืองมันไม่มีพลวัตรเลย เศรษฐกิจซบเซา คนรุ่นใหม่มาใช้ชีวิตไม่ได้เพราะไม่มีงานให้เขาทำ กลายเป็นเมืองของคนเกษียณ มันก็ไม่น่าจะตอบโจทย์ของยุคสมัยเท่าไหร่
ด้วยเหตุนี้ ผมเห็นว่าเราน่าจะใช้ต้นทุนทางประวัติศาสตร์ที่มีอยู่ตอนนี้ผสานกับกระบวนการเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนให้มันเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนเมืองไปยังจุดที่ผู้คนต้องการ จากเมืองปลายฝันของใครหลายๆ คน ลำปางก็อาจเป็นเมืองต้นฝันที่ดึงดูดให้คนรุ่นใหม่กลับเข้ามาขับเคลื่อนเมืองอย่างยั่งยืนต่อไป”
จาตุรงค์ แก้วสามดวง
นักวิจัยโครงการลำปางเมืองแห่งการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ลำปาง
(การพัฒนาเมืองลำปางสู่เมืองแห่งการเรียนรู้จากฐานภูมิทางสังคมและวัฒนธรรม)
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…