“สมัยก่อนผมเป็นนักข่าวของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ประจำจังหวัดพิษณุโลก ความที่หนังสือพิมพ์แต่ละวันมีจำนวนหน้าจำกัด และเมื่อสี่สิบกว่าปีที่แล้วยังไม่มีอินเตอร์เน็ท หลายข่าวที่ผมเขียนส่งไป บรรณาธิการไม่ได้เอาไปตีพิมพ์ ก็เลยเกิดเสียดาย ทั้งๆ ที่บางข่าวมันเป็นประโยชน์ต่อคนพิษณุโลก จึงตัดสินใจเปิดหนังสือพิมพ์เป็นของตัวเอง ชื่อว่า ประชามติ
ผมเป็นสมาชิกของสภาหนังสือพิมพ์แห่งชาติอยู่แล้ว ก็ทำเรื่องไปขออบรมผู้บริหารสื่อระดับสูง เพื่อจะได้ออกมาทำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น โดยทำเป็นรายปักษ์ ออกทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน
ตอนแรกผมก็ทำของผมคนเดียว จนหลังๆ มีทีมงานมาช่วย โดยจ้างโรงพิมพ์เขาพิมพ์ให้ โรงพิมพ์เขาคิดเราครั้งละ 20,000 บาท จ่ายไปจ่ายมา ก็พบว่าต้นทุนสูง ถ้างั้นเราลงทุนทำโรงพิมพ์ของเราเองดีกว่า จะได้รับงานพิมพ์สิ่งพิมพ์อื่นๆ ในเมืองพิษณุโลกด้วย
ตอนนี้ทำมาสี่สิบกว่าปีแล้วครับ ผมไม่ได้ทำข่าวเองแล้ว จะมีทีมงานทำ ผมจะดูภาพรวม ถามว่ายังอยู่ได้ไหม ก็อยู่ได้นะ เราขายเล่มละ 10 บาท เดี๋ยวนี้ไม่มีโฆษณา เพราะเขาไปลงทางออนไลน์หมด แต่ยอดจำหน่ายก็ครอบคลุมกับต้นทุน แถมมีกำไรนิดหน่อย เลยทำมาได้จนถึงทุกวันนี้
แน่นอน เดี๋ยวนี้คนไม่อ่านหนังสือพิมพ์กันแล้ว เพราะข่าวสารส่วนใหญ่มันอยู่บนจอมือถือหมด แต่ความที่ประชามติมันอยู่คู่กับวิถีชีวิตคนพิษณุโลกมานาน และเราทำข่าวเกี่ยวกับชุมชน ความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับสังคมเมือง ไปจนถึงข่าวมรณกรรม และรายงานผลสลากกินแบ่งรัฐบาล จึงยังมีคนอ่านประจำอยู่ แต่ผมก็คิดว่าพอหมดคนอ่านรุ่นนี้ไป ก็น่าจะขายยากแล้ว
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มันก็เป็นภาพสะท้อนของเมืองพิษณุโลกด้วย ผมจำได้ว่าสมัยก่อนเมืองเราเล็กมาก ผมโตมาในย่านอมรินทร์นคร แต่ก็เดินเท้าถึงกันหมดทั้งตลาดใต้ สถานีรถไฟ ไปจนถึงแถววัดใหญ่ ผู้คนก็รู้จักกันหมดว่าใครเป็นใคร หนังสือพิมพ์จึงมีอิทธิพลมาก แต่พอยุคสมัยมันเปลี่ยน คนต่างถิ่นเข้ามาเยอะ ลูกหลานพิษณุโลกก็ออกไปทำงานที่อื่นมาก ความสัมพันธ์แบบชุมชนเมืองดั้งเดิมเลยหายไป คนอ่านหนังสือพิมพ์ผมก็จะเหลือแต่คนที่เคยโตๆ มาด้วยกันและยังอาศัยอยู่เมืองนี้
พอได้เห็นว่าทางมหาวิทยาลัยนเรศวรพยายามเข้ามาทำโครงการฟื้นฟูตลาดใต้ผ่านเรื่องเล่าและความทรงจำของคนในย่าน ผมจึงยินดีให้ความร่วมมืออย่างมาก เพราะถึงผมไม่ได้เป็นคนตลาดใต้ แต่ผมก็เดินมาจ่ายตลาดที่นี่บ่อยๆ รวมถึงดูหนังที่โรงหนังในตลาดใต้ตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่ยังเป็นโรงหนังสำเนียงวัฒนา ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นโรงหนังศิวาลัย และเป็นโรงหนังกิตติกรในที่สุด จนเขาปิดตัว ถูกทุบทิ้ง และกลายเป็นทาวน์เฮ้าส์หลังโรงงิ้วในทุกวันนี้
ผมจึงร่วมโครงการนี้ด้วยการไปบอกเล่าความทรงจำที่ผมมีกับตลาดใต้ ซึ่งก็สามารถย้อนกลับไปตั้งแต่ผมอายุแค่ 7 ขวบ และมีไฟไหม้ครั้งใหญ่ที่ตลาดและทั่วเมืองพิษณุโลกเมื่อปี 2500 บ้านผมก็ไหม้กับเขาไปด้วย หรือเรื่องศาลเจ้าพ่อปุ่นเถ่ากง-ม่า ที่ผมติดตามเตี่ยมาไหว้เจ้าตั้งแต่เด็กจนถึงทุกวันนี้
ตลาดใต้เป็นตลาดแห่งแรกของเมืองพิษณุโลกนะ เพราะเมื่อก่อนความเจริญทั้งหมดของเมืองอยู่บริเวณริมน้ำน่านละแวกนี้ จนเทศบาลมาทำอาคารตลาดให้ หลายคนจึงรู้จักตลาดใต้ในชื่อ ตลาดเทศบาล 1 ก่อนที่เมืองจะขยายตัวจนมีตลาดเทศบาล 2 บริเวณวัดใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดเหนือ จากนั้นก็มีตลาดย่านสถานีรถไฟ เรียกตลาดเทศบาล 3 และตลาดเทศบาล 4 แถวโคกมะตูม เหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเจริญของเมืองที่ค่อยๆ ขยายไปตามย่านต่างๆ ตามลำดับ
แต่นั่นล่ะ เดี๋ยวนี้เมืองมันกระจายไปทั่ว ศูนย์กลางเดิมมันเลยมีรูปแบบแค่เชิงกายภาพ แต่ไม่ได้ถูกใช้งานหรือคึกคักอย่างที่มันเคยเป็น ซึ่งก็เข้าใจได้แหละ มันเป็นยุคสมัยที่ผ่านไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม ผมก็อยากให้เทศบาลนครพิษณุโลกรวมถึงเอกชนที่เป็นเจ้าของอาคาร มาช่วยดูแลย่าน ดูแลตลาดเก่าๆ ในเมืองให้มากกว่านี้หน่อย ทำให้สาธารณูปโภคมันพร้อม ถนนหนทางสะอาด หรือเอกชนก็ช่วยเปิดอาคารทำให้มันดูมีชีวิตชีวาขึ้น เพราะถ้าพื้นฐานย่านดี และย่านมีชีวิตชีวา มันก็จะดึงดูดให้คนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาลงทุนในย่านเก่าๆ มากขึ้น และนั่นทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นตามมา”
สุรินทร์ ชัยวีระไทย
เจ้าของหนังสือพิมพ์และโรงพิมพ์ประชามติ
ที่ปรึกษาสมาคมจีน และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมนักเรียนเก่าสิ่นหมิน
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…