“หลายคนบ่นว่าหาทางเข้าแก่งคอยยาก ถ้าไม่ใช่คนคุ้นเคยพื้นที่หรือเปิด GPS มา เขามักจะขับรถเลยกันไปหมด ไม่แน่ใจว่าป้ายอาจไม่ชัดหรือเพราะอะไร”

“พี่เป็นคนแก่งคอย เคยทำงานโรงงานผลิตอะไหล่คอมพิวเตอร์และเครื่องจักรอยู่ที่อำเภอบางปะอิน ก็จะนั่งรถจากแก่งคอยไปทำงานที่นั่นทุกเช้า ส่วนสามีพี่เป็นคนต่างถิ่น แต่มาได้งานที่โรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงที่แก่งคอย เลยมาอยู่ด้วยกันที่นี่

ความที่เราสองคนทำงานโรงงาน เลยต้องส่งลูกไปให้ญาติช่วยเลี้ยง จนลูกขึ้น ม.1 พี่ก็พบว่าลูกค่อนข้างเกเรและมีอาการผิดปกติทางอารมณ์ ปัญหาก็อยู่ที่เราเองนี่แหละที่มีเวลาให้เขาไม่มากพอ ไม่ใช่เรื่องอื่น เลยตัดสินใจลาออกจากงานที่โรงงาน และเอาเขากลับมาเลี้ยงเอง จะได้มีเวลาดูแลเขาเต็มที่

พอออกจากงาน ก็ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับลูก พาเขาไปหาหมอที่โรงพยาบาลในอำเภอเมืองเป็นประจำ และอยู่เป็นเพื่อนเขา โดยช่วงหลังๆ พอไม่ได้ทำงานเข้า เราก็รู้สึกเหงา เลยทำอาหารแจกเพื่อนบ่อยๆ เราเป็นคนชอบทำหมูสะเต๊ะ ครั้งหนึ่งก็เลยทำหมูสะเต๊ะให้เพื่อน เพื่อนชมว่าอร่อย และยุให้เราทำขาย ตอนแรกเราก็ไม่กล้าขายหรอก แต่พอยุมากเข้า ก็เลยลองขายดู

ตอนนั้นทางหอการค้าแก่งคอยเขาพยายามจะฟื้นฟูย่านตลาดท่าน้ำแก่งคอย ซึ่งเป็นตลาดเก่าริมแม่น้ำป่าสักของเมืองให้กลับมามีชีวิตชีวา จึงมีการจัดถนนคนเดินพอดี พี่เลยทดลองตลาดโดยการเอาหมูสะเต๊ะที่ทำไปขาย ปรากฏว่าได้รับเสียงตอบรับที่ดี ก็ได้ขายต่อเนื่อง แต่ไม่นานโควิดก็กลับมาระบาดเสียก่อนเลยต้องหยุดขาย นี่เพิ่งจะได้กลับมาขายอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้เอง

ชื่อร้านสุดนัดดาหมูสะเต๊ะ เป็นชื่อพี่เองเลย ก็เราเป็นคนทำนี่ (ยิ้ม) พี่ทำของพี่คนเดียวหมักหมูเอง เอาเสียบไม้ ปิ้งเอง และขายเอง ที่ลูกค้าชมมาคือเนื้อหมูเรานิ่ม กินโดยไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้มยังได้ สาเหตุก็เพราะพี่ให้ความสำคัญกับการหมักหมูมาก จะหมักทิ้งไว้สองคืนเพื่อให้ซอสมันเข้าเนื้อ ให้รสชาติมันกลมกล่อม

อย่างงานแก่งคอยย้อนรอยสงครามโลก พี่ก็ไปออกร้านด้วย ตั้งแผงอยู่หน้าสถานีรถไฟ ส่วนวันศุกร์และเสาร์ พี่ไปขายที่ตลาดนัดบ้านแก้ง (อ.เฉลิมพระเกียรติ) ขายได้เดือนกว่าๆ แล้ว ก็พอได้อยู่ ส่วนวันอื่นยังไม่มีแผน พี่ทำของพี่คนเดียว ก็เหนื่อยอยู่ ขายทุกวันคงไม่ไหว   

พี่ไม่ได้คิดจะขายหมูสะเต๊ะเป็นอาชีพหลักน่ะ อาทิตย์นึงน่าจะขายสัก 2-3 วันแบบนี้ ก็กำลังมองว่าจะทำธุรกิจแบบซื้อมาขายไปมากกว่าในอนาคต จะได้มีเวลาดูแลลูกด้วย

ก็อยู่ที่แก่งคอยนี่แหละ บ้านพี่อยู่นี่ จะให้ไปไหน เมืองมันโอเคสำหรับเรานะ ไปไหนมาไหนสะดวก หากินง่าย อาหารก็มีให้เลือกหลากหลายดีด้วย

แต่ถ้าให้มองในมุมนักท่องเที่ยว จริงๆ แก่งคอยมายากนะ หลายคนบ่นว่าหาทางเข้าเมืองยาก ไม่รู้เป็นเมืองลับแลหรืออย่างไร คือถ้าไม่ใช่คนคุ้นเคยพื้นที่หรือเปิด GPS มา ส่วนใหญ่เขาขับรถเลยกันไปหมด ไม่แน่ใจว่าป้ายอาจไม่ชัดหรือเพราะอะไร ในขณะเดียวกัน ถ้าจะออกจากแก่งคอยเพื่อเข้าไปทางอำเภอเมืองสระบุรีก็ยากอีก คุณต้องขับรถขึ้นสะพานและวนไปกลับรถอีกหลายกิโลเมตรมาก ยิ่งคุณออกจากเมืองช่วงเย็นๆ ที่เขาเลิกงานกัน กว่าจะได้กลับรถนี่ติดยาวเลย แก่งคอยอยู่ห่างจากอำเภอเมืองสระบุรีแค่นี้ บางทีใช้เวลาเหมือนไปต่างจังหวัด

ได้ยินมาว่า มีความพยายามของหลายหน่วยงานจะทำให้แก่งคอยเป็นเมืองท่องเที่ยว ก็อยากฝากเรื่องป้ายบอกทางหรือการจราจรตรงนี้ด้วย”

สุนัดดา กงขุนทด
เจ้าของร้านสุนัดดาหมูสะเต๊ะ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

4 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 month ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 month ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago