หาดใหญ่เคยเป็นเมืองที่พระอาทิตย์ไม่เคยตก เป็นเมืองที่มีความสว่างรุ่งโรจน์ตลอดเวลา และเราทำให้เมืองกลับมาเป็นแบบนั้นได้ แถมยังทำได้อย่างยั่งยืนกว่าด้วย

“ผมย้ายมาอยู่หาดใหญ่ตั้งแต่ ป.4 มีแค่ช่วงเรียนมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้อยู่ที่นี่ แต่ก็อยู่ทันเห็นช่วงที่หาดใหญ่รุ่งเรืองมากๆ ในแบบที่ถนนใจกลางเมืองคับคั่งไปด้วยผู้คนทั้งวันทั้งคืนมาแล้ว แต่ภาพแบบนี้ไม่มีในหาดใหญ่มาร่วมๆ 20 ปีแล้ว และสถานการณ์มันก็ดร็อปลงเรื่อยๆ จนมาตกสุดช่วงโควิด-19 ก่อนที่จะมีแนวโน้มกลับมาดีขึ้นในช่วงเวลานี้

ถ้าเทียบหาดใหญ่ยุคหลังโควิดกับช่วงเวลาของวัน ผมคิดว่าเราอยู่ราวๆ ตี 4 คือสำหรับคนที่นี่ยังเห็นว่ามืดอยู่ แต่คนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจเริ่มจะเห็นแนวโน้มแล้วว่าอีกสัก 2 ชั่วโมงก็เช้า อย่างไรก็ดี การเปรียบเทียบนี้เป็นแค่ความรู้สึก เราต่างไม่รู้ว่าเป็นตี 4 จริงหรือเปล่า อาจเป็นเที่ยงคืนก็ได้ หรือถ้าบริบทภายนอกยังคงเปลี่ยนแปลง แล้วผู้คนที่นี่ไม่เปลี่ยนตาม จากตี 4 อาจย้อนกลับไปเป็น ตี 3 หรือตี 2 ก็ได้


มีหลายปัจจัยครับที่ทำให้หาดใหญ่ดร็อปลงมา ไม่ว่าจะ disruption จากการค้าออนไลน์ที่ทำให้หาดใหญ่เสียสถานะของศูนย์กลางการค้า ปัจจัยจากราคายางพาราซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจของจังหวัด หรือสถานะของการเป็นเมืองท่องเที่ยวแบบ entertainment ที่ทุกวันนี้เมืองอื่นๆ ก็ทำได้

นอกจากนี้ มายด์เซ็ทของคนหาดใหญ่ก็เป็นส่วนสำคัญ จากเดิมที่ทุกอย่างวิ่งเข้าหาเราตลอด เราจึงแทบไม่รู้สึกว่าต้องพัฒนาตัวเองเลย ทำอะไรก็ขายได้ ขณะเดียวกัน ในด้านการเมือง เราก็ยังคงมองผู้บริหารเมืองในฐานะพระเอกขี่ม้าขาว ถ้าเราได้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีวิสัยทัศน์ก็ดีไป แต่ถ้าเขาเป็นข้าราชการรอเกษียณ เมืองก็จะย่ำอยู่แบบเดิม และอย่าลืมว่าข้าราชการเหล่านี้ล้วนมีวาระ คุณจะไปคาดหวังการพัฒนาที่ต่อเนื่องได้อย่างไร ผมจึงบอกกับทุกคนเสมอว่าคนหาดใหญ่จำเป็นต้องพึ่งพาตัวเอง เราต้องเป็นคนนำการพัฒนา และให้รัฐเป็นฝ่ายอำนวยความสะดวก

ในฐานะที่ผมเป็นประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยภาคใต้ ผมเคยชวนตัวแทนจากทุกภาคส่วนไม่ว่าจะสภาอุตสาหกรรม หอการค้า และอื่นๆ มาคุยกันว่าถึงเวลาที่หาดใหญ่ต้องจัดตั้งทีมเศรษฐกิจได้แล้ว ทีมนี้จะพิจารณาทุกโครงการที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจของเมือง หาแนวร่วมในการพัฒนา ไม่ใช่แย่งกันทำอย่างที่เป็นอยู่ ปรากฏว่าในวงสนทนาครั้งนั้น มีผู้ใหญ่บอกว่าไม่เห็นจำเป็นต้องตั้งทีมเลย ใครพร้อมอะไรก็ให้ทำไปก่อนเลยไม่ต้องคอย แล้วสุดท้ายก็เข้าสู่ลูปเดิม คุณทำทุกอย่างเหมือนเดิม แล้วจะหวังได้ผลลัพธ์ใหม่ๆ ได้อย่างไร

 
ผมจึงคิดว่าถึงเวลาที่ทุกภาคส่วนต้องคุยกันเรื่องเมืองอย่างจริงจังได้แล้ว เมืองเราควรมีโปรเจกต์หรือมียุทธศาสตร์ที่เปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่หยั่งรากอย่างมั่นคงและให้ดอกผลแก่เศรษฐกิจเมืองอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมา เราสูญเสียงบประมาณมากมายให้กับการจัดอีเวนท์เมือง ซึ่งผมไม่ได้มองว่าเปล่าประโยชน์นะครับ อีเวนท์ช่วยสร้างสีสันและกระตุ้นเศรษฐกิจกับเมืองได้จริง แต่สัดส่วนที่เกิดตอนนี้มันผิด เอะอะก็จัดอีเวนท์ จัดเสร็จแล้วก็จบ ทุกคนแยกย้าย แถมผู้จัดก็เป็นออร์แกไนเซอร์จากกรุงเทพฯ อีก เขาจัดเสร็จ ก็ขนเงินกลับไป

เพราะแท้จริงแล้ว เมืองเราต้องมีสาธารณูปโภคที่ได้มาตรฐานในการช่วยยกระดับผู้ประกอบการ สาธารณูปโภคที่มาตอบโจทย์ความเป็นศูนย์กลาง medical hub หรือการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพของเรา รวมถึงการเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยของเรา สมาพันธ์ของเราหรือหอการค้าทำ MOU กับองค์กรต่างชาติไว้แล้วไม่น้อย แต่เมืองเรากลับมีสาธารณูปโภคไม่เพียงพอให้ต่างชาติอยากมาลงทุน ขณะที่หน่วยงานรัฐที่ดูแลเรื่อง business matching ก็ไม่แอคทีฟมากพอ สิ่งที่ทำไปจึงไม่ได้ออกดอกผลเท่าไหร่

สาธารณูปโภคที่ผมว่าก็ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานของเมือง ทำให้เมืองมีความคล่องตัว ทำให้คุณภาพชีวิตผู้คนดีขึ้น ไปจนถึงในระดับการวิจัยและผลิตนวัตกรรม โดยในปัจจุบันเรามีอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ มีศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยี หรือมีสถาบันการศึกษาชั้นนำต่างๆ ซึ่งมีแนวโน้มที่ดีแล้ว แต่เราจำเป็นก็ต้องมีกลไกที่ช่วยเสริมศักยภาพของพื้นที่เหล่านี้ต่อไป

แน่นอน เราคงหวังจะให้หาดใหญ่กลับไปรุ่งเรืองเหมือนเมื่อก่อนไม่ได้อีกแล้ว แต่ในสถานะของการเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคใต้ และการเป็นชุมทางรถไฟที่เชื่อมทรัพยากรต่างๆ ของไทยและมาเลเซีย รวมถึงพื้นฐานสาธารณูปโภคที่เมืองเรามีอยู่ตอนนี้ ผมเชื่อว่าหากทุกฝ่ายมานั่งคุยกันดีๆ และประสานความร่วมมือในการดำเนินกิจการต่างๆ หาดใหญ่จะสามารถฟื้นตัวกลับมาและเติบโตต่อไป

ผมมีภาพฝันเห็นเมืองของเราเป็นเมืองแห่งโอกาส เฉกเช่นเมื่อหลายสิบปีก่อนที่ผู้คนทั่วสารทิศมาที่นี่เพื่อเข้าถึงโอกาส ผมเคยทำเวิร์คช็อปกับนักธุรกิจในเมืองหาดใหญ่ และได้ฟังคำพูดของอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านบอกว่าหาดใหญ่เคยเป็นเมืองที่พระอาทิตย์ไม่เคยตก เป็นเมืองที่มีความสว่างรุ่งโรจน์ตลอดเวลา และใช่ครับ เราทำให้เมืองกลับมาเป็นแบบนั้นได้ แถมยังทำได้อย่างยั่งยืนกว่าด้วย” 

พิชัย จงไพรัตน์
ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ภาคใต้
และประธานผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจสยามคลาสสิค
http://www.siamclassic.co.th/

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago