“หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมเมืองราชบุรีกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ หนูก็ได้รวมทีมกับเพื่อนๆ เข้าประกวดแนวคิดการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ของเมือง เราตั้งชื่อทีมว่า Jungle Kids โดยนำเสนอเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองราชบุรี แบ่งออกเป็น 5 พื้นที่หลัก พร้อมออกแบบของที่ระลึกในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวสะสมให้ครบ โดย 5 พื้นที่ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตลาดโคยกี๊ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง วัดช่องลม และวัดมหาธาตุ ส่วนของที่ระลึกที่เราออกแบบกัน ก็คำนึงถึงการถอดอัตลักษณ์ของพื้นที่นั้นๆ ด้วย เช่น ไอศกรีมแท่งทรงอาคารในตลาดโคยกี๊ ผ้าเช็ดหน้าที่มีลวดลายของตึกพิพิธภัณฑ์ หรือหมวกกันแดดที่วัดช่องลม เป็นต้น
ซึ่งตอนแรกเรายังเสนอให้มีรถรางวิ่งรอบเมืองทั้งฝั่งตลาดเก่า และฝั่งศาลหลักเมืองที่อยู่อีกด้านของแม่น้ำ เพื่อครอบคลุมแลนด์มาร์คสำคัญ รวมถึงเชื่อมแต่ละย่านเข้าด้วยกัน และยังเสนอทางเลือกอีกทางในกรณีที่งบประมาณจำกัด นั่นคือการใช้รถตุ๊กตุ๊กที่วิ่งรับส่งคนราชบุรีอยู่แล้ว ให้เปลี่ยนมาเป็นรถประจำทาง พานักท่องเที่ยวไปสถานที่ต่างๆ พร้อมสะสมของที่ระลึก
เป็นกิจกรรมที่สนุกดีค่ะ เพราะอันที่จริง แม้หนูจะเป็นคนราชบุรี และเห็นวัด เห็นตลาดเก่ามาตั้งแต่เด็ก แต่ก็แทบไม่รู้รายละเอียดของพื้นที่เหล่านี้เลย ก็อยากให้มีกิจกรรมนอกห้องเรียน ให้ผู้เชี่ยวชาญพาไปรู้จักเมืองของเราแบบนี้กับรุ่นน้องของเราบ้าง เป็นกิจกรรมประจำปีก็คงจะดีค่ะ”
ศศิกานต์ บุญเรือน
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี)
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…