“พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของอาคารศาลากลางหลังเก่า ซึ่งปัจจุบันได้รับการพัฒนาเป็นหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์
แต่เดิมพิพิธภัณฑ์นี้เป็นของสำนักงานจังหวัดฯ มีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดดูแลตรงนั้น กระทั่งมีการย้ายศาลากลางไปอยู่นอกเมือง จึงมีการถ่ายโอนพิพิธภัณฑ์ให้มาอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ในปี 2563 ก่อนที่เทศบาลฯ จะร่วมมือกับเครือข่ายภาคประชาชนจัดตั้งหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่บริเวณชั้นล่าง และเปิดทำการมาถึงปัจจุบัน
หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์เปิดก่อนโควิด-19 ไม่นาน จึงไม่เป็นที่รับรู้ของคนส่วนใหญ่เท่าไหร่ จนสถานการณ์เริ่มซา ทางมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เขาก็มาร่วมกับเทศบาลฯ เพื่อทำวิจัยเรื่องพื้นที่การเรียนรู้ และใช้หอศิลป์กับพิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ของเราเป็นศูนย์กลาง จึงมีกิจกรรมต่างๆ จัดขึ้นเรื่อยมา โดยเฉพาะการย้ายถนนคนเดินจากย่านเมืองเก่ามาตั้งอยู่รอบอาคารหอศิลป์โดยจัดขึ้นทุกเย็นวันอังคาร รวมถึงมีกิจกรรมด้านการเรียนรู้สำหรับคนทุกวัยในตลาดด้วย พื้นที่เราจึงเป็นที่รู้จักมากขึ้น ไม่เฉพาะว่าเรามีนิทรรศการประวัติศาสตร์เมืองอยู่ชั้นบน และมีนิทรรศการศิลปะให้ชมชั้นล่าง แต่อาคารหลังนี้และรอบๆ สามารถปรับใช้เป็นลานจัดกิจกรรมให้หน่วยงานต่างๆ ได้ เป็นที่รู้จักในฐานะพื้นที่เรียนรู้ที่สามารถปรับไปตามโจทย์ของงานได้ ก็ต้องขอบคุณศิลปินสตรีทอาร์ทที่มาช่วยกันเพ้นท์อาคารให้มีสีสันสดใส สร้างภาพลักษณ์สร้างสรรค์ดึงดูดคนรุ่นใหม่มาใช้บริการด้วย
พี่คิดว่าอาคารหอศิลป์หลังนี้เป็นภาพสะท้อนของความร่วมมือของคนกาฬสินธุ์ที่ไม่ใช่แค่มาจากหน่วยงานรัฐฝั่งเดียว จริงอยู่นี่คือพื้นที่ที่บริหารโดยเทศบาล แต่การเกิดขึ้นของหอศิลป์และกิจกรรมรอบๆ โดยเฉพาะตลาดถนนคนเดิน เกิดจากการที่ทางเครือข่ายศิลปินได้คุยกับท่านนายกเทศมนตรี ก่อนจะมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ และกลุ่มผู้ประกอบการในการจัดตั้งตลาด จากตลาดเล็กๆ ไม่นานก็เกิดเป็นเครือข่ายผู้ประกอบการซึ่งมีพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน อย่างถนนคนเดินริมน้ำปาวที่เปิดขึ้นใหม่ ก็มาจากกลุ่มผู้ประกอบการที่นี่ร่วมมือกับทางเทศบาลและมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เช่นกัน
เช่นเดียวกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ที่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ขับเคลื่อน ก็ทราบมาว่าเขาได้งบประมาณไม่เยอะ เรียกว่าไม่พอที่จะจัดนิทรรศการหรือถนนคนเดินที่มีกิจกรรมต่อเนื่องอย่างที่เห็นด้วยซ้ำ แต่ก็เพราะได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ งานจึงเกิดขึ้นได้ คุณลองเข้าไปดูเว็บไซต์หอศิลป์ก็ได้ งบกิจกรรมมีแค่หมื่นเดียว แต่เขาก็ทำออกมาได้ดีเกินงบไปเยอะมากๆ
แม้กิจกรรมเมืองแห่งการเรียนรู้จะช่วยสร้างความเคลื่อนไหวให้เมืองกาฬสินธุ์ได้มาก แต่ก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเมืองของเรายังมีความเหลื่อมล้ำอยู่เยอะ ก็จำเป็นที่จะต้องแก้ไขหรือพัฒนาอีกมาก แต่เรื่องการศึกษาสำหรับเด็กๆ ในระบบ พี่ว่าวิชาการเราค่อนข้างโอเคแล้ว ควรส่งเสริมด้านอื่นๆ มากกว่า เช่นความถนัดทางวิชาชีพที่สอดรับกับบริบทของพื้นที่ หรือเรื่องศิลปะก็สำคัญ พอมีหอศิลป์ขึ้นมา ก็ทำให้พี่รู้ว่าเด็กๆ เขาสนใจศิลปะกันเยอะ บางทีเราอาจส่งเสริมให้เขาเข้าถึงการเรียนรู้เรื่องนี้ ไปพร้อมกับหาช่องทางหรือโอกาสให้เด็กๆ สามารถเอาสิ่งที่เรียนมาไปต่อยอดกับสถาบันหรือแหล่งเงินทุนต่างๆ ต่อไปได้”
รัศมี พลเทียน
นักวิชาการการศึกษา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
และหัวหน้างานการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…