“เราเป็นคนชอบงานจักสาน และใช้มันในชีวิตประจำวัน ครั้งหนึ่งเราไปเดินตลาด สวมเดรสและถือตะกร้าหวายไปด้วย เดินไปสักพัก มีคุณป้ามาทักว่าขายอะไรน่ะลูก เรายิ้ม และบอกว่าเป็นคนซื้อเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ)
หลังจากวันนั้นมาเราก็คิด อืม… ถ้างานจักสานแบบนี้มันถูกปรับดีไซน์ให้สอดคล้องการแต่งกายของคนสมัยนี้ก็น่าจะดีนะ แบบที่เรายังเห็นว่าทุกวันนี้ยังมีคนสานข้องใส่ปลาขายอยู่ ซึ่งเราไม่แน่ใจว่าจะมีกี่คนที่ซื้อไปจับปลาจริงๆ แต่ถ้ามีการปรับดีไซน์อีกหน่อย ข้องจับปลาก็อาจจะเป็นได้มากกว่าพรอบหรือของตบแต่งบ้าน หากเป็นของใช้ที่ไปกับยุคสมัยได้จริงๆ
หลังเรียนจบด้านสถาปัตยกรรมที่เชียงใหม่ เราไปทำงานเป็นสถาปนิกที่สิงคโปร์ งานหนักแต่ก็สนุก แต่เราคิดถึงบ้านมากกว่า ทำอยู่สองปีเลยกลับเชียงใหม่มาทำงานออกแบบและรับเหมาก่อสร้างอยู่อีกพักใหญ่ จนทราบว่า TCDC เชียงใหม่ (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เชียงใหม่) เปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่บริการข้อมูลประจำห้องสมุดพอดี เราเลยสมัครไป
ที่เลือกทำที่นี่ตอนแรกเพราะอยากทำงานที่ใกล้ชิดกับงานออกแบบ ได้อยู่กับของสวยๆ งามๆ แต่พอได้มาทำจริงๆ เราพบว่ามิติของงานมันกว้างและลึกกว่านั้นเยอะ หัวใจสำคัญคือการใช้องค์ความรู้ไปช่วยชุมชน ไปช่วยผู้ประกอบการ ช่วยให้ชาวบ้านให้เห็นว่างานออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มันเพิ่มมูลค่าให้สินค้าและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตทุกคนได้จริง ซึ่งเราคิดว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายดี
ควบคู่ไปกับการดูแลห้องสมุดและจัดกิจกรรมเทศกาลออกแบบประจำปีรวมถึงอีเวนท์สนับสนุนงานออกแบบอื่นๆ อีกหนึ่งบทบาทของเราที่นี่คือดูแลและให้บริการฐานข้อมูลด้านการออกแบบ ฐานข้อมูลนี้มันต่างจากหนังสือในห้องสมุดคือมันคือข้อมูลล้วนๆ ที่ช่วยสนับสนุนการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในหลายๆ ด้านได้
กล่าวคือ มันมีตั้งแต่ตัวเลขการส่งออกผลไม้ในแต่ละปีของไทย การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ ไปจนถึงเทรนด์สีและเทรนด์ออกแบบแต่ละปี ที่สำคัญคือชุดข้อมูลด้านวัสดุที่สามารถเข้าถึงได้ทั่วโลก อย่างถ้าคุณคิดว่าผ้าสำเร็จรูปที่มีในตลาดมันน่าเบื่อไปแล้ว คุณอาจจะค้นหาวัสดุอื่นๆ ที่อาจเอามาตัดเสื้อผ้าได้จากในนี้ และสามารถติดต่อไปหาคนที่ทำวัสดุนั้นได้เองเลย หรือในทางกลับกันถ้าคุณสามารถผลิตวัตถุดิบอะไรบางอย่างได้เอง และอยากทำขาย ก็เอาข้อมูลมาลงในนี้ มันจะเชื่อมคุณไปหาผู้ประกอบการทั้งโลก
แต่นั่นล่ะ พอพูดแบบนี้ก็อาจจะฟังดูยังเข้าถึงยากสำหรับพ่อค้าแม่ค้าในท้องตลาด อีกหน้าที่สำคัญที่เราพยายามอยู่ตอนนี้ คือการเดินออกจากออฟฟิศ เพื่อไปแนะนำให้พวกเขารู้จัก รู้วิธีเข้าถึง และรู้วิธีประยุกต์ใช้ข้อมูลเหล่านี้ให้ตอบโจทย์กับธุรกิจที่พวกเขาทำอยู่ ซึ่งเราก็มักพูดเล่นกับเพื่อนเสมอว่าพวกแบรนด์แฟชั่นไฮเอนด์อย่างบาเลนเซียกาหรือแอร์เมส ยังเคยเอารูปแบบหรือวัสดุที่คนในตลาดบ้านเราคุ้นเคยมาออกแบบกระเป๋าราคาเป็นแสนๆ ได้เลย เราก็น่าจะสร้างมูลค่าจากสิ่งที่เรามีได้บ้าง
เชียงใหม่เป็นเมืองที่รุ่มรวยด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมมากๆ เลยนะคะ เรามีสล่าหรือช่างฝีมือที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลอยู่เยอะมาก แต่ปัญหาหนึ่งก็คือพอยุคสมัยเปลี่ยน วิถีชีวิตดั้งเดิมก็เปลี่ยนตาม งานหัตถกรรมหลายชิ้นก็กำลังสูญหายไปด้วย ขณะเดียวกันสัดส่วนของนักออกแบบรุ่นใหม่ที่นำภูมิปัญญาทางหัตถกรรมดั้งเดิมมาต่อยอดก็ยังถือว่าน้อยอยู่มาก เราเลยคิดว่าหนึ่งในวิธีที่จะทำให้สิ่งนี้ไม่สูญหายไป คือการใช้การออกแบบมาประยุกต์เพื่อสร้างที่ทางให้ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรมยังอยู่ในชีวิตประจำวันเราต่อไปได้ เพราะนั่นไม่ใช่แค่เรื่องการสืบสานมรดก แต่ยังรวมถึงปากท้องของช่างฝีมือที่สืบต่อมาอีกด้วย
ซึ่งก็คงดีไม่น้อยถ้าต่อไปเราถือตะกร้าหวายไปเดินตลาด แทนที่จะมีคนมาทักว่าเราขายอะไร แต่เป็นคนรุ่นใหม่มาถามว่าตะกร้าใบนี้สวยดี ไปซื้อได้ที่ไหน เชียงใหม่ควรต้องเป็นแบบนี้”
///
มาฆพร คูวาณิชกิจ
เจ้าหน้าที่บริการข้อมูล ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…