เชียงใหม่เป็นเมืองศิลปะ แต่ยังเห็นป้ายหรือสิ่งที่เป็นทัศนอุจาดเต็มไปหมด

“ผมมองว่าความเป็นเมืองนานาชาติที่มีวัฒนธรรมอันหลากหลาย คือความพิเศษของเมืองเชียงใหม่ เพราะข้อสำคัญข้อหนึ่งเลยก็คือความหลากหลายเปิดให้เราได้เรียนรู้นอกสถาบันการศึกษาได้อย่างไม่จบสิ้น อย่างการทำงานกราฟิตี้หรือสตรีทอาร์ทของผม ก็เกิดจากการเรียนรู้จากศิลปินฝรั่งที่มาใช้ชีวิตหรือทำงานที่นี่ ไม่มีโรงเรียนไหนมาสอนการพ่นกำแพงหรอกครับ

แน่นอน เมื่อก่อนคนส่วนใหญ่มองว่าสตรีทอาร์ทมีภาพลักษณ์ที่ทำให้เมืองสกปรกหรือเป็นที่น่ารังเกียจ แต่พอเวลาผ่านไปเราก็ได้เรียนรู้ว่าถ้ามีการเรียนรู้หรือการจัดการที่ดี สตรีทอาร์ทมีส่วนทำให้เมืองสวยงามและเพิ่มมูลค่าของย่านนั้นๆ อย่างเช่นที่เมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง ในหลายย่านของสิงคโปร์ หรือเมืองเก่าอย่างภูเก็ตหรือสงขลา สตรีทอาร์ทกลายเป็นเครื่องดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมเยือนไม่ขาดสาย

อย่าง Dream Space Gallery CNX ที่ผมรับหน้าที่ร่วมดูแลอยู่ก็เช่นกัน ที่นี่เกิดจากวิสัยทัศน์ของเจ้าของที่เป็นนักธุรกิจที่มองว่าเมืองของเราควรจะมีสถานที่เรียนรู้เชิงวัฒนธรรมร่วมสมัยให้คนรุ่นใหม่ เขาจึงแบ่งพื้นที่ที่เป็นโกดังสำหรับจัดแสดงงานศิลปะแนวสตรีทอาร์ท รวมถึงพื้นที่เวิร์คช็อปศิลปะเด็ก โรงละคร ไปจนถึงลานสเก็ต เป็นทางเลือกให้เยาวชนที่สนใจในกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์นอกห้องเรียน ผมมองว่าทุกๆ เมืองควรมีพื้นที่แห่งการเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้น เพราะมันมีความสำคัญไม่ต่างจากศูนย์การค้า พิพิธภัณฑ์ หรือสวนสาธารณะ

นอกจากนี้ ผมเชื่อเช่นเดียวกับอีกหลายคนที่เห็นว่าเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งศิลปะครับ ไม่ใช่แค่ว่าที่นี่มีศิลปินหรืออาร์ทสเปซอยู่เยอะ แต่ประวัติศาสตร์และความงามของเมืองหล่อหลอมให้คนที่นี่รักในศิลปะและวัฒนธรรม จึงรู้สึกเสียดายที่ว่าหน่วยงานรัฐหรือผู้ประกอบการกลับไม่ค่อยนำจุดแข็งตรงนี้มาประยุกต์กับการออกแบบหรือพัฒนาเมืองเท่าที่ควร เพราะในขณะที่เรามีคนทำงานสร้างสรรค์ในเมืองมากมาย แต่เรากลับเห็นป้ายหรือสิ่งที่เป็นทัศนอุจาดเต็มไปหมด จึงคิดว่าถ้าเราหาวิธีเชื่อมให้รัฐหรือผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลต่อภูมิทัศน์เมืองได้ร่วมงานกับนักออกแบบหรือศิลปิน เมืองเชียงใหม่จะสวยงามและน่าอยู่ได้มากขึ้นกว่านี้อีกเยอะครับ”

///

สัญชัย ไชยนันท์

ศิลปินสตรีทอาร์ท และผู้ดูแล Dream Graff ภายใน Dream Space Gallery CNX

#WeCitizensTh #LearningCity #ChiangMai

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[The Insider]<br />พัชรี แซมสนธ์

“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…

2 weeks ago

[The Insider]<br />พรทิพย์ จันทร์ตระกูล

“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…

2 weeks ago

[The Insider]<br />ณรงค์ศักดิ์ เตือนสกุล

“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…

3 weeks ago

[The Insider]<br />นนทพัฒ ถปะติวงศ์

“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />ชวนพิศ สุริยวงค์

“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว  ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…

3 weeks ago

[The Citizens]<br />กาญจนา ใจปา และพิทักษ์พงศ์ เชอมือ

“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…

3 weeks ago