“เพราะลำพังแค่โรงเรียนอย่างเดียว ไม่มีทางเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้อย่างครอบคลุม เมืองจำเป็นต้องมีพื้นที่และบรรยากาศที่ช่วยหล่อหลอมความสนใจของเด็กๆ”

“โรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ ตั้งขึ้นโดยคณะภราดาลาซาล นิกายโรมันคาทอลิก มีผู้ก่อตั้งคือนักบุญยอห์น แบพติสต์ เดอลาซาล เมื่อสามร้อยกว่าปีที่แล้ว พันธกิจหลักคือการจัดการศึกษาให้แก่เยาวชนและผู้ยากไร้ โดยในประเทศไทยมีโรงเรียนลาซาลอยู่ด้วยกัน 4 แห่ง นอกจากที่นครสวรรค์ ก็มีจันทบุรี บางนา (กรุงเทพฯ) และสังขละบุรี (กาญจนบุรี) โดยล่าสุดเรามีแผนจะเปิดสาขาใหม่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน   

ผมอยากเป็นครูตั้งแต่เด็ก และเห็นคณะลาซาลมีมิชชั่นเรื่องการศึกษา ก็เลยบวชเณรคณะนี้ และเข้าเรียนที่ลาซาลโชติรวีนครสวรรค์ ก่อนจะไปเรียนต่อเพื่อเป็นบราเธอร์ส กลับมาสอนหนังสือที่นี่ได้ 1 ปี ก็ย้ายไปสอนที่สังขละบุรี บางนา และวิทยาลัยแสงธรรม อำเภอสามพราน ตามลำดับ จากนั้นไปเป็นเลขาสำนักงานที่ดูแลโรงเรียนลาซาลในเอเชียตะวันออก (Lasallian East Asia District) ที่ฮ่องกง ความที่นักบวชในคณะนี้เขาไม่อยากให้มีการยึดติดกับสถานที่ใดที่หนึ่ง จึงมีการย้ายไปเรื่อยๆ หลังจากนั้นก็ได้หมายให้ย้ายไปอยู่ฟิลิปปินส์ แต่เจอโควิด-19 เสียก่อน เลยกลับมาเป็นอธิการที่ลาซาลโชติรวีนครสวรรค์จนถึงปัจจุบัน 

ระบบการบริหารโรงเรียนของเราก็เหมือนโรงเรียนทั่วไปเลย มีครูใหญ่เป็นผู้จัดการ ใช้หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ส่วนอธิการจะเป็นผู้ถือใบอนุญาต บริหารร่วมกับครูใหญ่ และจัดการเรียนการสอนด้านคริสต์ศาสนา อย่างไรก็ดี โรงเรียนเราเปิดกว้างในเรื่องของความเชื่อ น่าจะเป็นโรงเรียนคริสต์ไม่กี่แห่งที่อนุญาตให้นักเรียนที่ไม่ได้นับถือคริสต์เข้าเรียนวิชาตามศาสนาของตัวเอง เช่นเด็กพุทธก็จะเรียนวิชาพุทธศาสนา โดยจะแยกนักเรียนที่นับถือคริสต์เข้าโบสถ์ และโรงเรียนเราก็จัดพิธีกรรมทางพุทธศาสนาในวันสำคัญด้วย

เราจัดการศึกษาถึงระดับมัธยมปลาย โดยระดับมัธยมปลายจะมีด้วยกัน 5 ห้อง ห้อง 1-2 จะมุ่งเน้นด้านสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ห้องอื่นๆ เน้นด้านภาษา โดยปีการศึกษาหน้าเรามีแผนจะดึงวิชาพื้นฐานพวกฟิสิกส์ เคมี และชีววิทยา มาสอนเบื้องต้นในระดับ ม.3 ด้วย เพื่อจะทำให้เด็กนักเรียนทำความเข้าใจเบื้องต้น เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกเรียนตามความถนัดของแต่ละคนในระดับมัธยมปลาย

นอกจากนี้ เรายังมีโปรแกรมเสริม LEARN Education ที่โรงเรียนซื้อมาใช้กับนักเรียน เพราะเข้าใจว่าคณาจารย์ของเราไม่ได้เก่งทุกวิชา โปรแกรมนี้ก็จะมาหนุนเสริม และเปิดให้นักเรียนเข้าใช้เพื่อทบทวนบทเรียนจากที่บ้านได้พร้อมกัน

แม้จะมีลูกหลานของผู้ประกอบการในตลาดปากน้ำโพ อำเภอและจังหวัดใกล้เคียง มาเรียนกับเราเยอะ แต่อย่างที่บอก โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนขยายโอกาส เราจึงมีทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนจากครอบครัวผู้ยากไร้ทุกๆ ปี โดยกองทุนนี้ก็มาจากเงินบริจาคของผู้ประกอบการและหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดและในเครือลาซาลของเราเอง หรือช่วงโควิดที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ เราก็อนุญาตให้ผู้ปกครองผ่อนค่าเทอมด้วย 

ส่วนคำถามเรื่องการจัดการศึกษาเกี่ยวกับท้องถิ่น เมื่อก่อนโรงเรียนเรามีหลักสูตรท้องถิ่นครับ เพียงแต่พอกระทรวงศึกษาเขามีการปรับปรุงหลักสูตร วิชานี้ก็กลายมาเป็นวิชาสังคมทั่วไป เราเลยไปหนุนเสริมด้วยการทำชมรมท้องถิ่น และคอยจัดให้นักเรียนทุกคนในโรงเรียนได้ไปทัศนศึกษาดูสถานที่สำคัญๆ ของจังหวัด อาทิ บึงบอระเพ็ด ชุมชนหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านแก่ง หรือช่วงเดือนกุมภาพันธ์มีงานแห่เจ้าพ่อเจ้าแม่หรือตรุษจีน เรายังประกาศให้หยุดเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางจังหวัด

จริงอยู่ที่นครสวรรค์เรามีแลนด์มาร์คที่โดดเด่นอย่างพาสาน หรือมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่ แต่ในแง่มุมของพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเยาวชนเรามีน้อยมากเลยครับ พิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กๆ ก็ไม่มี สวนสัตว์ก็ไม่มี มีแต่บึงบอระเพ็ด แต่พื้นที่ก็ไม่ได้มีกิจกรรมที่ดึงดูดให้เด็กๆ ได้เข้ามาเที่ยวชมได้บ่อยๆ ซึ่งผมคิดว่าด้วยศักยภาพของจังหวัดเรา เราสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ หรือสร้างบรรยากาศของการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้เกิดขึ้นในเมืองได้

เพราะลำพังแค่สถานศึกษาอย่างโรงเรียนอย่างเดียว ไม่มีทางเติมเต็มการเรียนรู้ของเด็กๆ ได้อย่างครอบคลุม การอยู่ในเมืองที่มีสถานที่ มีพื้นที่ และมีบรรยากาศที่ช่วยหล่อหลอมความสนใจส่วนตัวของเด็กๆ รวมถึงส่งเสริมให้พวกเขาเข้าถึงองค์ความรู้หรือกิจกรรมที่เขาสนใจ จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก และถ้าอยากเห็นเมืองเราพัฒนา เมืองจำเป็นต้องมีสิ่งเหล่านี้”  

ภราดาธีระยุทธ ชาแดง
อธิการโรงเรียนลาซาลโชติรวีนครสวรรค์
https://www.lasallechote.ac.th/

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

4 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago