รศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ หัวหน้าคณะประสานงานโปรแกรม CIAP ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้
การทำงานร่วมกับโปรแกรมฯ ในภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ อาจารย์เข้าไปมีส่วนช่วยสนับสนุนใน 3 พื้นที่ ได้แก่ เทศบาลเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี เทศบาลเมืองปากเกร็ด จ.นนทบุรี และเทศบาลเมืองทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดยส่วนตัวมีความคุ้นเคยกับพื้นที่อยู่แล้ว และบางแห่งเคยทำงานร่วมกันมาก่อนมากว่า 20 ปี เราจึงเห็นว่าแต่ละเมืองมีมุมมองกับงานวิจัย และการพัฒนาเมืองอย่างไร แต่ละเมืองมีศักยภาพ หรือเด่นเรื่องใด และผู้นำเมืองโดย นายกฯ เทศบาลแต่ละแห่งต่างเลือกเฟ้นเอาประเด็นเมืองที่น่าสนใจมาร่วมขับเคลื่อน เพราะคาดหวังว่าอยากให้เมืองของตนพัฒนาไปไกลกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น ที่พนัสนิคมจะโดดเด่นเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นเมืองที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของประเทศในฐานะ “เมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน” ในปี พ.ศ.2566 กลุ่มเมืองที่มีประชากรน้อยกว่า 20,000 คน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม แต่ในทางกลับกันประชากรในเมืองมีแนวโน้มจะลดลง เป็นเมืองหด ที่ต้องการความเปลี่ยนแปลง โจทย์วิจัยจึงตั้งขึ้นมาว่าจะทำอย่างไร ทั้งกระตุ้นศักยภาพเมืองให้สามารถดึงดูดผู้คน ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่มีกิจกรรมในเมืองมากขึ้น ผ่านการยกระดับย่านเก่า ย่านการค้า ย่านที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ เพื่อหวังดึงดูดคนรุ่นใหม่ และเรียกคนกลับเข้าเมือง
สำหรับเมืองปากเกร็ด ปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมาการบริหารจัดการเมืองได้มุ่งเน้นศักยภาพและความพร้อมในการจัดการน้ำท่วมได้เป็นอย่างดี จนพื้นที่ทั้ง 66 ชุมชนของเทศบาล คือรูปธรรมและต้นแบบการจัดการปัญหาน้ำท่วม ซึ่งในปีนี้โปรแกรมฯ ได้เข้าไปพัฒนาโจทย์กับทางเทศบาล และเห็นร่วมกันว่าระบบการจัดการน้ำท่วมต้องได้รับการยกระดับและขยายผลด้วยกัน 2 ส่วน คือ การใช้ระบบข้อมูลเมือง (City Data Platform) และ LINE OA ผนวกเข้ากับการสร้างแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ การดูแลสร้างเสริมคุณภาพชีวิตระดับชุมชน
พื้นที่สามคือเมืองทุ่งสง ที่นี่เป็นอีกเมืองที่โดดเด่นเรื่องการจัดการอุทกภัย และเคยได้รับรางวัลพระปกเกล้า เมื่อปี พ.ศ.2565 (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วมแบบบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติของชุมชนในเขตเทศบาลทั้ง 22 แห่ง การมุ่งเป้าเป็น “เมือง Resilient City ที่สามารถจัดการกับภัยพิบัติ” ของเทศบาลฯ จึงเป็นความท้าทายสำคัญและเป็นโจทย์วิจัยที่โปรแกรมเข้าไปช่วยสนับสนุนให้เมืองสามารถจัดการกับภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนกลายเป็นเมืองที่น่าอยู่และน่าลงทุน
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…