Categories: Uncategorized

[เมืองเหนือ : เมืองวัฒนธรรม เกษตร ผู้สูงอายุ และ E-sport city] ผศ. ดร.จุฑาทิพย์ เฉลิมผล

ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหัวหน้าคณะประสานงานโปรแกรม CIAP​ ภาคเหนือ

“ส่วนดีนอกจากงานวิจัยจะเข้าไปช่วยงานเทศบาลได้แล้วก็คือ เราสามารถเปรียบเทียบงานพัฒนาเมืองในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ว่ามีความท้าทายอะไร และผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่”

การทำงานโดยใช้โปรแกรม CIAP ในปีนี้ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ เรื่องหนึ่งคือ บริบท และโจทย์ของแต่ละเมืองไม่เหมือนกัน แต่จากประสบการณ์การทำงานวิจัยพัฒนาเมืองของ บพท. และคณะทำงาน เราพบว่ามีเครื่องมือ และนวัตกรรมอยู่ชุดหนึ่งที่น่าจะเวิร์คกับเมืองของเราได้ โดยหัวใจอยู่ที่โจทย์วิจัยที่ต้องมาจากท้องถิ่น มาจากวิสัยทัศน์ แผนงาน และความสนใจของเขาเอง แล้วเอาเครื่องมือนี้ไปใช้ เอานักวิจัย วิชาการเข้าไปร่วมงาน ส่วนดีนอกจากงานวิจัยจะเข้าไปช่วยงานเทศบาลได้แล้วก็คือ เราสามารถเปรียบเทียบงานพัฒนาเมืองในปัจจุบันของแต่ละพื้นที่ว่ามีความท้าทายอะร และผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหมายหรือไม่

ในงานโปรแกรมฯ อาจารย์มีส่วนช่วยสนับสนุนเมืองในภาคเหนือ ได้แก่ เทศบาลนครลําปาง เทศบาลเมืองลําพูน เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครเชียงราย และเทศบาลเมืองแพร่ ภาพรวมของเมืองทั้งหมดแบ่งเป็นกลุ่มง่าย ๆ ได้ว่า เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองลำพูนจะเน้นไปที่การใช้วัฒนธรรมนำเรื่องการพัฒนาเมือง โดยกลุ่มเป้าหมายอาจเป็นผู้สูงอายุ หรือภาคประชาชน ชุมชน และเอกชนที่จะมีบทบาทเข้ามาช่วยตั้งแต่ระดับข้อมูลไปจนถึงปฏิบัติการ และเกิดผลลัพธ์ เช่นเดียวกับที่เทศบาลเมืองแพร่ที่เน้นเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ ผ่านเป้าหมายการสร้างเมืองที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคโนโลยี 

สำหรับเมืองพิษณุโลก ท้องถิ่นและนักวิจัยให้ความสนใจกับการพัฒนาย่านชุมชนเก่าในเมือง โดยใช้การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยว ขยายผลจากพื้นที่ตลาดใต้ในเขตเทศบาล  เมืองเชียงราย มุ่งเป้าไปที่การสร้างเมืองนวัตกรรมทางเกษตร และสร้างศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมการเกษตร พร้อมส่งเสริมความแข็งเรงของนิเวศเกษตรปลอดภัยให้เกิดขึ้นในเมือง  และสุดท้ายคือเมืองนครสวรรค์ ที่สนใจการขับเคลื่อนเมืองให้เป็น E-Sport City และเป็นศูนย์กลางของเรื่องนี้ในระดับภูมิภาค งานวิจัยก็จะเข้าไปเติมความเข้มแข็งของนิเวศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นใหม่ น่าสนใจ และท้าทายมาก 

Wecitizens Editor

Recent Posts

[ CIAP 4 ภาค ผลักดันต้นแบบเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ด้วยพลังท้องถิ่น และงานวิจัย ] ผศ. ดร.มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม

หัวหน้าโปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) และหัวหน้าคณะประสานโปรแกรมฯ ภาคอีสาน “4 เมืองในอีสาน ต่างมุ่งไปที่เรื่องพัฒนาเศรษฐกิจ เพราะผู้นำเมือง มองเห็นแล้วว่า เมืองรองของอีสานวันนี้มีโอกาส และเติบโตได้จริง” เมืองในภาคอีสาน  “โปรแกรมนี้ เรื่องสำคัญ คือ โจทย์วิจัยเพื่อการพัฒนาเมืองต้องมาจากตัวเทศบาลเป็นหลัก…

8 hours ago

[ ผู้คน – การเดินทาง – การพัฒนาเมืองของเราทุกคน ] อ.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม

สร้างเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดด้วยงานวิจัย : Livable and Smart City by Research ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กรหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ในแวดวงงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย หลายคนจะคุ้นชินกับชื่อของ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม …

2 months ago

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

2 months ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

2 months ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

3 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

3 months ago