เมืองแห่งการเรียนรู้จึงไม่ใช่แค่การสนับสนุนให้คนในเมืองได้เรียนรู้ แต่ภาครัฐจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน

“พะเยาเป็นหนึ่งในสี่เมืองของไทย ที่ได้รับการเสนอชื่อขึ้นทะเบียนเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก ซึ่งก่อนหน้านี้เราในฐานะทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพะเยา ได้ขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ต่อเนื่องมาสองปี ปีนี้เป็นปีที่สามแล้วครับ (ทั้งสี่เมืองประกอบด้วยเชียงใหม่ สุโขทัยและหาดใหญ่ โดยเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 จังหวัดพะเยา ได้รับการรับรองเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกอย่างเป็นทางการ)

ในปีแรกของโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ เราเน้นที่การประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในเขตเทศบาลเมืองเข้าใจก่อนว่าเราจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ไปทำไม เป็นแล้วมันจะดีต่อเมือง หรือช่วยปากท้องชาวบ้านได้อย่างไร

พอเข้าปีที่สอง นอกจากเราจะได้ขยายพื้นที่โครงการจากความร่วมมือขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เรายังมุ่งสร้างเครือข่ายพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองเป็นหลัก โดยใช้กลไกจากโมเดลเศรษฐกิจใหม่ หรือ BCG

BCG เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ประกอบด้วย เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เน้นการใช้ทรัพยากรชีวภาพเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่คำนึงถึงการหมุนเวียนทรัพยากร และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม


แม้ดูเป็นคำที่ใหม่ แต่เอาเข้าจริงผู้ประกอบการในพะเยามีรูปแบบการทำธุรกิจและวิถีชีวิตเชื่อมโยงกับ BCG อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นเครื่องแต่งกายหรืออาหารการกินส่วนใหญ่ก็มาจากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทั้งนั้น

ส่วนในปีที่สาม เรายังเน้นไปที่การสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับผู้ประกอบการ เท่าๆ กับที่หารูปแบบการดำเนินโครงการของเราให้ยั่งยืนโดยอาจไม่ต้องพึ่งพา ทุน บพท. ในอนาคต เพราะเราไม่อยากให้โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ต้องหยุดลง หากเกิดเราไม่ได้รับทุนสนับสนุนต่อ ก็คิดว่างั้นจะทำยังไงได้ ผู้ประกอบการจะมีส่วนขับเคลื่อนโครงการได้ด้วยตัวเองอย่างไร ซึ่งหนึ่งในวิธีที่คิดไว้คือการก่อตั้งบริษัทพัฒนาเมือง แสวงหาการร่วมทุน หรือการที่ชุมชนมาเป็นหุ้นส่วนในโครงการพัฒนาเมือง ซึ่งก็ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจกับเครือข่าย เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป  

ผมมองว่าในหลายปีหลังมานี้ คนพะเยาและเครือข่ายชุมชนต่างๆ มีความตื่นตัวในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เข้ามาส่งเสริมอาชีพหรือพัฒนาธุรกิจได้พอสมควรเลยนะครับ ติดอยู่ก็ตรงที่การบริหารจัดการของหน่วยงานราชการที่ยังล่าช้ากว่าโลกปัจจุบันพอสมควร เช่น พวกงานทะเบียนเอกสาร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อผู้ประกอบการ

คุณดูอย่างธนาคารทุกวันนี้สิ เขามีแอปพลิเคชั่นรองรับธุรกรรมทางการเงินรวดเร็วมากๆ แต่พอมาเป็นราชการ ติดต่อเรื่องทะเบียนอะไรที ก็อาจเสียเวลารอ หรือคนป่วยไปใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ ทุกวันนี้คุณยังต้องไปจองคิวตั้งแต่ตีสี่ตีห้าอยู่เลย

ผมมองว่าถ้าระบบราชการเปลี่ยนได้ ไม่เพียงทำให้การพัฒนาเมืองมันเคลื่อนได้เร็ว คุณภาพชีวิตคนในเมืองก็จะดี และช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้มากด้วย

เมืองแห่งการเรียนรู้จึงไม่ใช่แค่การสนับสนุนให้คนในเมืองได้เรียนรู้ แต่ภาครัฐจำเป็นต้องเรียนรู้ด้วยเหมือนกัน เรียนรู้ในการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เรียนรู้ที่จะลดขั้นตอนการทำงานไม่ให้เชื่องช้าอุ้ยอ้าย เรียนรู้ที่จะปรับตัวไปตามโลกที่เปลี่ยนไป

เพราะอย่าลืมว่ารัฐคือกลไกสำคัญที่จะทำให้เมืองพัฒนา จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถ้าคนในเมืองแอคทีฟ ผู้ประกอบการแอคทีฟ และผู้บริหารเมืองก็แอคทีฟ แต่ระบบการจัดการเมืองไม่แอคทีฟตาม”

ผศ.ดร.รัฐภูมิ พรหมณะ
รองผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา
และนักวิจัยในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 week ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

1 week ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

1 week ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 weeks ago

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago