“หาดใหญ่มีคลองระบายน้ำอยู่สองแห่ง คลองอู่ตะเภาทางทิศตะวันตกของเมือง และคลองเตยทางทิศตะวันออก ทั้งสองแห่งทำหน้าที่ระบายน้ำจากในเมืองออกสู่ทะเล
โดยคลองที่ตัดผ่านย่านใจกลางเมือง และอยู่คู่กับวิถีคนหาดใหญ่ จนคนส่วนใหญ่เคยชินจึงไม่ได้เห็นว่ามันมีความสำคัญอะไรคือคลองเตย คลองนี้เป็นกลไกหนึ่งที่ทำให้ตัวเมืองไม่เกิดน้ำท่วมเมื่อฝนตกหนัก ซึ่งตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีหลายครัวเรือนรุกล้ำพื้นที่ริมคลอง หรือหนักเข้าก็มีบางคนเอาขยะไปทิ้งในนั้น ทำให้ไม่เพียงน้ำในคลองเน่าเสีย แต่ขยะยังไปอุดตันทำให้คลองบางช่วงสูญเสียศักยภาพในการระบายน้ำอีก
พี่เป็นหนึ่งในทีมงานของพี่เจี๊ยบ (สิทธิศักดิ์ ตันมงคล, หัวหน้าโครงการคลองเตยลิงก์) โดยเป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐซึ่งก็คือเทศบาลนครหาดใหญ่ ก็ช่วยดูเรื่องผังเมือง และเป็นตัวกลางเชื่อมหน่วยงานหรือชุมชนต่างๆ เข้ากับโครงการ เพราะต้องเข้าใจว่าพอทำงานกับหลายชุมชน บางชุมชนอาจพึงพอใจให้ความร่วมมือกับภาคประชาชน แต่บางชุมชนก็ต้องอาศัยเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเป็นตัวกลาง
อันที่จริงก่อนหน้านี้คลองเตยมีนักวิจัยมาทำงานหลายโครงการมากนะ ทั้งทางด้านชลประทาน ผังเมือง สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ แต่พอมันอยู่ในระดับงานวิจัย เมื่อวิจัยเสร็จ แม้หลายโครงการจะมีข้อเสนอที่ดี ก็กลับไม่ได้รับการพัฒนาต่อ การศึกษาจึงถูกปล่อยทิ้งไว้อย่างนั้น
แต่กับโครงการคลองเตยลิงก์ที่อยู่ใต้ร่มของโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ พี่มองว่าการใช้คำว่า ลิงก์ (link) ของพี่เจี๊ยบ จึงไม่ใช่แค่การเชื่อมโยงในเชิงกายภาพหรือการคมนาคม แต่เป็นการลิงก์ผู้คนในชุมชนรอบคลองให้ทำงานร่วมกัน และสร้างมูลค่าจากต้นทุนที่มี และด้วยความที่พี่เจี๊ยบแกทำงานด้านพัฒนาเมืองมายาวนาน แกจึงสามารถรวบรวมเครือข่ายทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคมที่มาร่วมขับเคลื่อนโครงการนี้ได้มากถึง 50 กว่าเครือข่าย พี่เห็นถึงความตั้งใจของแกที่อยากเปลี่ยนแปลงเมืองหาดใหญ่ และเห็นว่าเครือข่ายนี้มีศักยภาพมากพอที่จะเปลี่ยนงานวิจัยให้กลายเป็นการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม
เราก็ต้องมาดูกันต่อว่าทางโครงการจะได้รับการสนับสนุนให้ไปต่อได้มากขนาดไหน แต่ที่ผ่านมา โครงการมีความก้าวหน้าที่น่าดีใจนะ เครือข่ายกว้างขึ้น ภาคประชาชนเข้มแข็งขึ้น และทางเทศบาลก็พร้อมรับข้อเสนอไปพัฒนาต่อในอนาคต นี่ไม่ใช่การอวยหน่วยงานเดียวกันเองนะ แต่นายกเทศมนตรีของเราเขาก็ตระหนักในเรื่องนี้ และพยายามดึงภาคีต่างๆ มาร่วมพัฒนาเมือง ตรงนี้แหละที่พี่มองว่ามันเป็นความหวัง
ส่วนคำถามที่ว่าคนหาดใหญ่ควรเรียนรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษ พี่มองว่าการมีทักษะที่หลากหลายซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่อาชีพหรือแหล่งรายได้ใหม่ๆ น่าจะสำคัญ เพราะคนทุกคนไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร แต่ละคนก็ล้วนมีองค์ความรู้และทักษะเฉพาะตัวของตัวเอง การดึงความรู้ที่แต่ละคนมีเหล่านั้นมารวมไว้ในแพลตฟอร์มใดแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่กระจายสิ่งนี้ส่งให้คนอื่นได้เรียนรู้นี่แหละ จะทำให้ผู้คนในเมืองเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ในการทำมาหากินหรือพัฒนาคุณภาพชีวิตตัวเองได้
ความคิดแบบนี้ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่พี่เจี๊ยบทำกับโครงการคลองเตยลิงก์อยู่เหมือนกัน เพราะเขาพยายามดึงอัตลักษณ์ชุมชน ดึงภูมิปัญญา และทักษะเฉพาะของผู้คนในแต่ละชุมชนเลียบคลองเตยมาเป็นฐานข้อมูลให้คนทั่วไปได้เข้าถึงและเรียนรู้ เขาพยายามเปลี่ยนให้คลองที่คนหาดใหญ่มองข้าม กลายมาเป็นพื้นที่เรียนรู้ทั้งเชิงศิลปวัฒนธรรมไปจนถึงวิชาชีพ”
พีรวรรณ พงษ์ไพบูลย์
นักผังเมืองชำนาญการพิเศษ เทศบาลนครหาดใหญ่
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…