“ไอคอนสยามเปิดมาปีนี้เป็นปีที่สี่ แต่เรามีโอกาสมีส่วนร่วมกับโครงการและกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูในพื้นที่ย่านกะดีจีน-คลองสานและต่อยอดโครงการขับเคลื่อนย่านกะดีจีน-คลองสาน สู่การเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้มาก่อนที่ห้างจะเปิด คือโดยคอนเซปต์ เราไม่ใช่แค่ศูนย์การค้า เราบอกทุกคนว่า ไม่ใช่ที่ที่มาเพื่อซื้อของ แต่เราอยากให้เป็นพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ อีกอย่างคือจุดเริ่มต้นนโยบายของผู้บริหารเลยว่า เมื่อไหร่ที่เรามีบิ๊กโพรเจกต์เกิดขึ้น มันจะมาทั้งความต้อนรับและข้อสงสัย เราจะเตรียมพื้นที่ยังไงไม่ให้เราสร้างความเดือดร้อน แต่เราจะเป็นคนที่มาด้วยความมีประโยชน์มากกว่า เลยเป็นที่มาที่เราอยากร่วมมือกับภาคการศึกษาหรือใครก็ตามที่มีแนวคิดนี้เหมือนกัน
คือไอคอนสยามจะมาพร้อมกับนักท่องเที่ยววันละสองแสนคน เพราะฉะนั้นพื้นที่รอบๆ ต้องเตรียมความพร้อมเพื่อเขาจะได้รับประโยชน์ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ค้าขายหรือทำเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เรามีคอนเซปต์เดียวกับโครงการวิจัยฯ ที่จะทำให้ทุกพื้นที่ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองเข้มแข็ง และมั่นใจในศักยภาพที่เขามี คือตอนนี้ห้างสร้างเสร็จแล้ว อาจจะมองภาพไม่ออกว่าก่อนหน้านี้เป็นยังไง เราอยากเป็นหนึ่งในองค์กรที่ร่วมขับเคลื่อนการทำกิจกรรมหรือการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมในย่าน ก็คุยกันหลายภาคส่วน ฟอร์มกันขึ้นมาเป็น “มูลนิธิประชาคมย่านกะดีจีน-คลองสาน” เป็นบทบาทหนึ่งที่เราไปร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ในส่วนของไอคอนสยาม เราเตรียมความพร้อมให้เป็นที่โชว์ของ แน่นอนว่าเราเป็นพื้นที่ขายของ แต่เราไม่ได้อยากเป็นสถานที่ซื้อของอย่างเดียว โหนดทุกโหนดรอบไอคอนจะต้องได้รับประโยชน์ด้วย เราทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มาร่วมกันเพื่อจะเตรียมโอทอปในพื้นที่ เรามีสเปซที่ชั้น G ชื่อว่า ธนบุรีดีไลต์ ซึ่งเขาสามารถมาขายของที่เป็นเอกลักษณ์ของเขาในพื้นที่เราซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองสุขสยาม คอนเซปต์คือมาเที่ยวไอคอนสยามหนึ่งวันเหมือนได้ไปทุกภาค
อีกส่วนคือ Learning Space ที่ให้ปราชญ์ชุมชนมาเป็นวิทยากร มาทำเวิร์กช็อป ให้ลูกค้าเข้ามาแลกเปลี่ยน เช่น รอบๆ เรามีตลาดพลูซึ่งเข้มข้นมากเรื่องกินเจ ก็ให้วิทยากรจากตลาดพลูมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องการกินเจยังไงให้ถูกต้องและตามสมัยนิยม แล้วเราก็ได้เรียนรู้ว่า เราอยากจะขยาย ไม่ใช่แค่ปราชญ์ชุมชนในพื้นที่ แต่เด็กๆ คนรุ่นใหม่ ที่เขามีของ เขาเห็นตัวอย่างแล้วว่าที่นี่ให้พื้นที่ฟรีในการที่เขาจะมาทำอะไรสักอย่างกับเรา เราก็เปิดกว้าง มีพื้นที่ มีออร์แกไนเซอร์ด้วย ขออย่างเดียวต้องทำเอง จุดเริ่มต้นตรงนี้ทำให้เรามีกลุ่มแฟนคลับ เช่น ไอคอนสยามลีลาศคลับ มีสมาชิกสามร้อยกว่าคน ซึ่งเริ่มมาจากครูที่วิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี เขาเก่งสอนลีลาศ เราก็ให้พื้นที่เขาสอนฟรี ซึ่ง Learning Space ก็เป็นได้ทุกที่ในห้างเลย ร้านอาหาร ริเวอร์พาร์ก ห้องประชุม ให้เหมาะกับแต่ละอีเวนต์หรือหัวเรื่องนั้นๆ แล้วเราอยู่ฝ่ายสนับสนุนสังคม ภาษาอังกฤษคือ Creating Share Value ไอคอนสยามเป็นหน่วยงานแรกๆ ที่ไม่ใช่ CSR เราใช้เวลาแปดปีในการปรับทัศนคติพี่ๆ ชุมชนนะคะ ต้องต่อสู้มากกับทัศนคติที่มองว่าถ้าภาคเอกชนเข้ามาต้องบริจาค ให้ของ มันล้าสมัยแล้ว บริจาคมันไม่ยั่งยืน ผู้บริหารทันสมัยมากนะ เขาทรีตซีเอสอาร์เป็นซีเอสวี คือการสานประโยชน์ร่วมกัน คือการลงขัน เรามีสถานที่ ถ้าเทียบเป็นตารางเมตรคือแพงด้วย แต่เราเอาพื้นที่มาลงขันฟรี ปราชญ์ชุมชนเอาองค์ความรู้เขามาลงขันฟรี แล้วเราก็ร่วมกันทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ย้อนกลับไปว่าถ้าเอกชนมีเงินต้องบริจาคต้องซื้อของให้ ซึ่งเครื่องมือแรกที่คุยกับพวกเขาคือ การที่เราเปิดธนบุรีดีไลต์ เข้ามาขายของได้เลย เฉพาะค่าน้ำค่าไฟ ไม่ได้แพง แต่คุณต้องจ่าย ไม่มีใครให้เราฟรีโดยไม่หวังผลตอบแทนหรอก ถ้าไม่ได้จ่ายไม่มีคุณค่า ทำของฟรีแล้วลงไปงั้นแหละ สุดท้ายก็ไม่มา ไม่เอา แต่เมื่อไหร่ได้จ่ายเงินนิดนึงจะมีความรู้สึกว่า ต้องทำหน่อย
เราก็โชคดีที่ชุมชนในย่านกะดีจีน-คลองสานเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง น่ารักมาก เราอยู่กับเขาปีสองปีเขาเรียนรู้คุ้นชินกับการที่ภาคธุรกิจไม่ได้มาให้ของฟรี ของที่ไม่ฟรีมีแวลูมากกว่านั้น เช่น ถ้ามาสุขสยามแล้วสนุกมาก จะเห็นว่ามีพ่อค้าแม่ค้าหลายคนที่ปลดหนี้ได้เพราะเขามาขายที่เรา จะเห็นแพลตฟอร์มที่หลากหลายผสมผสานกัน ฮีโร่จากหลายท้องถิ่นทั่วประเทศ อย่างหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จมากคือวิทยาลัยสารพัดช่างธนบุรี มีนักเรียนช่างไฟมาโชว์ของ เรียกว่า ไอคอนอาสา ไปช่วยอาสาซ่อมไฟตอนที่มีไฟไหม้ในพื้นที่ แล้วเราก็ให้เงินเขาเขาก็ภูมิใจว่าเขายังเรียนไม่จบแต่ได้รายได้ด้วยได้ช่วยคนด้วย ปณิธานของเราคือมีหน้าที่ทำให้ทุกโหนดรอบๆ ของเราเป็นที่รู้จักและได้ประโยชน์จากการมาของนักท่องเที่ยววันละสองแสนคนของเรา แล้วเราก็ทำได้จริงๆ เช่นมีลูกค้าไอคอนที่เป็นคนเกาหลีไปกินส้มตำวัดสุวรรณ แล้วโพสต์ลงโซเชียล คนเกาหลีก็แห่ไป ตอนนี้ดังมาก คนเกาหลีมาช้อปปิ้งแบรนด์เนม แล้วเขาก็ยังเดินออกไปอีกแปดร้อยเมตรเพื่อจะไปซื้อส้มตำวัดสุวรรณ
ตอนนี้ในเครือข่ายของโครงการวิจัยฯ มีโพรเจกต์ว่า ต้องทำ Learning Space นี้กระจายออกไปข้างนอก พื้นที่ทำงานไม่ใช่แค่กะดีจีน-คลองสานละ ฝั่งพระนครเองที่ข้ามแม่น้ำไปก็จะเป็นอีกหลายชุมชน คือเราต้องทำให้แต่ละโหนดของเราพร้อมที่จะเป็น Learning Space เราปวารณาบอกทุกคนทั้ง we!park, UddC, สวนศิลป์ฯ เลยว่า ถ้าเมื่อไหร่ที่คิดจะทำอะไรที่ฝั่งธน ขอโอกาสให้เราได้ทำอะไรก็ได้ จะเป็นสถานที่ หรือองค์ความรู้ ให้คุยได้เลย อย่างไอคอนมีกิจกรรมลีลาศแบบสวิงริมน้ำเจ้าพระยา ตรงไอคอนสยามริเวอร์พาร์ก ที่ที่แพงที่สุดของเรา เราเป็นไพรเวตพร็อพเพอร์ตี้รายแรกริมน้ำเจ้าพระยาที่กล้าเปิดพื้นที่ของตัวเองให้ชุมชนเข้ามาใช้ฟรี หกโมงเช้าของแต่ละวันจะมีพี่ป้าน้าอามาเต้นแอโรบิก เต้าเต๋อ โยคะ ตื่นเช้ามาอยากออกกำลังกายริมน้ำที่สวยที่สุดต้องเข้ามาไอคอนสยามริเวอร์พาร์ก และเราก็มีเงื่อนไข ว่าต้องหันลำโพงยังไง เพื่อไม่ให้ไปรบกวนคนอื่น มันเป็นการอยู่ด้วยกันได้แบบหลากหลาย”
ดร.วดี ภิญโญทรัพย์
ผู้จัดการฝ่ายอาวุโสสนับสนุนสังคม
บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…