“ความที่ CEA ขอนแก่น เพิ่งตั้งได้ไม่นาน แต่หนึ่งในเป้าหมายการทำงานของเราคือ การบ่มเพาะนักสร้างสรรค์ Creative People และสนับสนุนงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาพื้นที่ เราจึงมีโอกาสได้ทำงานกับพลเมืองขอนแก่นหลากหลายกลุ่ม อย่าง KKTT และ Learning City เราก็เข้าไปร่วมประชุมนำเสนอความคิดเห็น และได้เชื่อมงานเชื่อมความร่วมมือกันผ่านการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ศรีจันทร์ในช่วงการเตรียมงานและจัดงาน Isan Creative Festival ปีแรก ซึ่งทางเครือข่ายก็เข้ามีส่วนช่วยเราในการกำหนดย่านสร้างสรรค์ รวมไปถึงเทศบาลนครขอนแก่นที่เขาดูแลพื้นที่อยู่ก็มาร่วมด้วย ตอนนั้นคือ เราเชิญชวนทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาประชุมระดมสมอง มาร่วมกระบวนการ Design Thinking และนิยามร่วมกันว่าเราเป็น ‘ทีมขอนแก่น’ ด้วยวิธีคิดแบบนี้ทำให้ทุกๆ งาน CEA ขอนแก่นได้มีส่วนเข้าไปร่วมคิดร่วมขับเคลื่อนไปด้วย อย่างการผลักดันเรื่อง City Branding การประชุมผลักดันเรื่อง MICE City การจัด Learning City Forum และการขับเคลื่อน Smart City ร่วมกับองค์กรต่างๆ
คือจริง ๆ มันดีมาก ๆ พอทุกคนเข้าใจกัน มันเหมือนเราอยู่ในสายธารเดียวกัน นั้นหมายถึงเราเห็นว่าปลายทางและภาพรวมคล้าย ๆ กัน พอรวมกันแล้วส่วนเราก็เป็นสายน้ำสาขาที่ต้องแตกไปแต่ละภารกิจ ซึ่งหลังจากเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เราต่างก็ไปลงมือทำด้วยอะไรที่เราทำได้ ใครทำอะไรได้ไปทำ ซึ่งมันดีมาก อันนี้คือจริง ๆ เป็น point ที่สำคัญของขอนแก่นเลยนะคะ
ขอนแก่นในมุมมองเรา เรามองว่าขอนแก่นเป็นเมืองกลาง ๆ ไม่ได้เป็นเมืองเก่าแบบที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นเมืองกำลังวัยรุ่นที่มีอาคารสถาปัตยกรรมแบบร่วมสมัยยุคโมเดิร์นเป็นสินทรัพย์อยู่ในพื้นที่ ซึ่งมี Potential มาก กับวัฒนธรรมอีสาน และความผสมผสานวัฒนธรรมจีน ญวน เป็นเอกลักษณ์ กับผู้คนอย่างภาคธุรกิจ และคนรุ่นใหม่ เป็น 1 พื้นที่และ 2 องค์ประกอบที่เหมาะเจาะในการส่งเสริมเรื่องธุรกิจสร้างสรรค์ แม้จะไม่ออกแนวดีไซน์มากๆ แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ และด้วย Character แบบนี้ Isan Creative Festival ปีแรกจึงนำมาพัฒนาต่อโดย Focus ไปที่ 4 จุดหลัก เรื่องแรกคือ Entertainment อย่างดนตรีหมอลำ เป็นความม่วนแบบคนอีสาน เรื่องต่อมาคือ Gastronomy อาหารอีสาน และเรื่องาน Craft งานทอ เช่น ผ้ามัดหมี่ สุดท้ายคืองานพัฒนาเมืองที่กำลังเป็นที่สนใจอย่างรถไฟฟ้ารางเบา เราก็ได้หัวรถไฟจากทาง ช.ทวี นำมาจัดแสดงด้วย เรียกว่าเป็นการรวมอัตลักษณ์และของเด่นของเมืองในด้านต่างๆ ที่แต่ละเครือข่ายทำอยู่ละ ให้มันเป็นภาพรวมเหมือนจิ๊กซอว์ให้มันต่อกันได้
ในส่วนของย่านศรีจันทร์ CEA ได้ทำการสำรวจก่อนการทำโปรแกรมย่านสร้างสรรค์ เพราะก่อนหน้านี้มีความพยายามผลักดันให้ย่านศรีจันทร์เป็นย่านนวัตกรรม และย่านเพื่อสุขภาพ งานสำรวจของเราชี้ว่าย่านศรีจันทร์มีศักยภาพที่จะเป็นย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้วยข้อมูลด้านมูลค่าทางเศรษฐกิจและโอกาสในขยายตัวซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของคนในย่าน เรามองว่าศรีจันทร์มี Potential ในเรื่องหนึ่ง คือ เขาเป็น Main street เส้นหลักดั่งเดิมของเมือง มันเกิดความซบเซาเพราะว่าตัวเมืองขยายออกไป และพื้นที่จอดรถจำกัด การเข้าถึงของคนค่อนข้างลำบาก คนในที่เคยอยู่ก็ย้ายออกไป หรือไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่แล้ว แต่ปิดร้านไว้ และปิดไว้เขาก็ไม่เดือดร้อน เพราะส่วนใหญ่เป็นคนมีฐานะ ย่านเลยจะดูร้าง ๆ หน่อย
แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่มี Landmark ของเมืองอยู่จำนวนมาก ทำให้พื้นที่มีความน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ศาลหลัก พิพิธภัณฑ์บรรณารักษ์ที่ตอนนี้ปรับใหม่เป็นมิวเซียมของเมือง เล่าเรื่องเมืองได้ร่วมสมัยและน่าสนใจ ไม่ไกลก็มีตึกมิตรผล ที่เขาปรับเป็นอาคารนวัตกรรมชื่อ ขอนแก่น Innovation Center ซึ่งได้กลายเป็น Landmark ใหม่ของเมืองไปแล้ว นอกจากนี้บรรดาเครือข่ายของเรา KKTT หอการค้า หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่เทศบาลทุกคนต่างมีความทรงจำ หรือไม่ก็มีรากผูกพันกับพื้นที่นี้ ย่านศรีจันทร์จึงมีความน่าสนใจมากๆ ทั้งในวันนี้ และกับการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
สิ่งหนึ่งที่เรารู้สึกว่าการทำงานของ CEA Blend เข้ากับคนเมืองได้ดีมากๆ คือ หลังจากการทำงานมาได้พักหนึ่ง เวลาจะมีการขับเคลื่อนริเริ่มแนวคิดใหม่ ๆ หรือ Project ใหม่ ๆ เราจะถูกเชิญชวนไปช่วยทุกครั้ง ตรง ๆ เลยก็เรื่องงาน Design งาน Art หรือลึกไปกว่านั้นก็ร้องขอให้เราไปจัดกระบวนการ Co-create อย่างโครงการฟื้นฟูสถานี บขส.เก่า เราเข้าไปช่วยทางเทศบาลทำ Workshop ช่วยกันดูว่าพื้นที่ใจกลางเมืองแบบนี้จะสามารถทำอะไรได้บ้าง แบบนี้แหละที่ชี้ให้เห็นว่าคนในเมือง และตัวเมืองมันสามารถพัฒนาเอาความคิดสร้างสรรค์ไปเสริมทำให้มันน่าอยู่ขึ้นได้จริง ด้วยบริบทของการมีส่วนร่วม บริบทการเอาความคิดสร้างสรรค์ไปเติมเต็มให้ชาวบ้าน แทนที่จะขายแบบตรงไปตรงมาแบบแต่ก่อน แต่ต้องปรับตัวเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ต่อไปต้องผสมผสานอยู่ร่วมกันได้ทั้งคนรุ่นเก่าคนรุ่นใหม่
เรามองว่าขอนแก่นอยู่ใน movement ที่ดีในเรื่องของธุรกิจที่กำลังเติบโตในย่านโดยนำความคิดสร้างสรรค์งานออกแบบเข้าไปใช้งาน อย่างล่าสุดเทศบาลเพิ่งทำถนนและทางเท้าถนนศรีจันทร์ตัดไปถนนหลังเมือง เขาเป็นถนนเรียบเน้นการเดิน ฝาท่อก็เป็นฝาท่อดีไซน์ลายดอกคูณ ถ่ายรูปมาเหมือนเกาหลี ทางเท้าเรียบร้อยสะอาดสะอ้าน ตอบทั้งเรื่อง Design Function และ Facility นี่คือตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ความคิดสร้างสรรค์มันเริ่มซึมซับเข้าไปในองค์กรต่าง ๆ ที่เราทำงานด้วย ทำให้ความคิดสร้างสรรค์มันเป็น Drive เมือง และเข้าไปอยู่ในการทำงานอย่างแนบเนียน”
จินตนา ชูพรมวงษ์
นักพัฒนากลยุทธ์พื้นที่สร้างสรรค์อาวุโส สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA ขอนแก่น
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…