“ผมอยู่กับการออกแบบและก่อสร้างมาตั้งแต่เด็ก เพราะครอบครัวผมทำธุรกิจติดตั้งอลูมิเนียมและกระจกชื่อ เอสที อลูมิเนียม และนั่นทำให้พอเรียนจบกลับมาบ้าน ผมก็เลยเริ่มทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่ใช่แค่การทำอาคารหรือทำบ้านให้คนอื่นอาศัย แต่ถ้าเราทำที่อยู่อาศัยให้มั่นคงแข็งแรงและมีความสวยงาม จะช่วยทำให้ภูมิทัศน์เมืองในภาพรวมดูดีขึ้น และทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นได้
และจากความที่เป็นนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก เมื่อมีผู้ประกอบการที่อยากเห็นบ้านเมืองดีขึ้นจนนำมาสู่การตั้ง บริษัท พิษณุโลกพัฒนาเมือง จำกัด ผมจึงได้รับการชักชวนให้เข้ามาเป็นคณะกรรมการ ซึ่งผมก็ยินดีอย่างมาก เพราะเรามีเป้าหมายเดียวกัน
จากบทบาทแรกที่คอยประสานงานกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ด้วยกัน ในการสร้างมาตรฐานการก่อสร้างให้ตอบโจทย์กับผู้คน รวมถึงช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเครือข่าย พอมาทำบริษัทพัฒนาเมือง ผมก็เลยใช้บทบาทในส่วนนี้ในการขับเคลื่อนภาพรวมของเมืองผ่านการประสานไปยังภาคส่วนต่างๆ ในการปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง ทำให้พื้นที่สาธารณะมันมีฟังก์ชั่นตอบโจทย์ผู้คนในเมือง มีพื้นที่สีเขียวมากขึ้น รวมถึงผลักดันให้เกิดย่านเศรษฐกิจ หรือสถานที่ที่ดึงดูดการท่องเที่ยวใหม่ๆ เสริมเข้ามาให้กับเมือง
ควบคู่ไปกับการทำบริษัทพัฒนาเมือง พอผมสามารถดูแลธุรกิจของตัวเองได้มั่นคงดีแล้ว สามารถดูแลคนครอบครัวเราเองได้ดี และสามารถรับผิดชอบลูกบ้านซึ่งเป็นลูกค้าบ้านจัดสรรของเราได้ดีแล้ว ผมจึงคิดถึงการดูแลผู้คนในเมืองบ้านเกิดของผม นั่นทำให้ผมตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
พิษณุโลกเป็นเมืองที่มีศักยภาพหลายด้านมาก เพราะมีทำเลที่เป็นเหมือนสี่แยกอินโดจีน เชื่อมเมืองเศรษฐกิจในระดับนานาชาติ หากมีการจัดการเมืองที่ดี เราสามารถดึงเม็ดเงินเข้ามาให้คนในเมืองเราได้มากกว่านี้อีกมาก แต่นั่นล่ะ ที่ผ่านมา เราอาจจะต่างคนต่างทำงาน หรือด้วยระบบบริหารจัดการอะไรก็ตามแต่ เมืองจึงไม่เหนียวแน่นพอ เราอยู่ในทำเลระดับสี่แยกแท้ๆ แต่จังหวัดที่อยู่ในซอยอย่างบุรีรัมย์ หรือสุพรรณบุรี เขากลับมีการพัฒนาได้ดีกว่า
และกลายเป็นว่าค่าเฉลี่ยรายจ่ายของคนที่มาในเมืองของเราควรจะอยู่ที่ 3,000 บาทต่อคน ตอนนี้เราได้จากเขาแค่ 1,300 บาท โจทย์สำคัญของผมจึงเป็นการทำให้ผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยในเมืองของเรามากขึ้น ให้อย่างน้อยๆ อยู่ที่ 3,000 บาทก่อน
สิ่งนี้ก็กลับมาที่โจทย์การพัฒนาเมือง ซึ่งก็เป็นมุมมองแบบเดียวกับนักอสังหาริมทรัพย์เลยครับ นั่นคือการทำให้บ้านของเรามีฐานรากที่ดี มีผังการใช้ประโยชน์ที่ตอบโจทย์ และถ้าเราช่วยกันทำ เมืองมันก็จะมีความพร้อม น่าอยู่ และมีแรงดึงดูดในด้านการลงทุน
นั่นล่ะครับ ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าหลายธุรกิจในเมืองพิษณุโลก มันเหมือนผู้ประกอบการต้องว่ายน้ำทวนกระแส ต้องกระเสือกกระสนเพราะสิ่งแวดล้อมไม่เอื้อ ผมจึงหวังว่าจะมีส่วนในการทำให้กระแสน้ำของเมืองเราดี สะอาด และทำให้ทุกคนสามารถทำธุรกิจได้อย่างราบรื่นและมั่นคง”
มงคล เหลี่ยมวัฒนกุล
นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก
https://www.facebook.com/MongkolPLK1/?paipv=0&eav=AfbYzgaZrzLaBPmgKXR6zRlz9e4AtPQbk3C_jnRjYy0CMZNHyffcCMDKLMgBygw8zyo&_rdr
“เมืองอาหารปลอดภัยไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เฉพาะผู้คนในเขตเทศบาลฯแต่มันสามารถเป็นต้นแบบให้เมืองอื่น ๆ ที่อยากส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนได้เช่นกัน” “งานประชุมนานาชาติของสมาคมพืชสวนโลก (AIPH Spring Meeting Green City Conference 2025) ที่เชียงรายเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา เน้นย้ำถึงทิศทางการพัฒนาเมืองสีเขียว…
“ทั้งพื้นที่การเรียนรู้ นโยบายเมืองอาหารปลอดภัย และโรงเรียนสำหรับผู้สูงวัยคือสารตั้งต้นที่จะทำให้เชียงรายเป็นเมืองแห่งสุขภาพ (Wellness City)” “กล่าวอย่างรวบรัด ภารกิจของกองการแพทย์ เทศบาลนครเชียงราย คือการทำให้ประชาชนไม่เจ็บป่วย หรือถ้าป่วยแล้วก็ต้องมีกระบวนการรักษาที่เหมาะสม ครบวงจร ที่นี่เราจึงมีครบทั้งงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษาเมื่อเจ็บป่วย และระบบดูแลต่อเนื่องถึงบ้าน…
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…