“เราอาจจะเฉยๆ กับสิ่งเก่าๆ ที่เราเห็นทุกวัน แต่ใครจะรู้ว่าพอคนที่อื่นมาเห็น เขาอาจเห็นคุณค่าบางอย่างที่เราไม่เคยสนใจมัน”

“ที่นี่เป็นโรงสีตั้งแต่สมัยช่วงสงครามโลก ก๋งผมเป็นคนบุกเบิกก่อนส่งต่อมาที่รุ่นพ่อ เป็นโรงสีโบราณที่ใช้แกลบให้พลังงาน และเพราะเป็นแบบนั้น พอโรงสียุคใหม่เขาใช้แก๊สกันหมด ไหนจะเรื่องปล่องควัน รวมถึงรถสิบล้อที่ใช้ขนส่งวิ่งเข้ามาในเมืองจนมีส่วนสร้างมลภาวะ ช่วงราวๆ ปี 2530 พ่อผมก็เลยตัดสินใจหยุดกิจการนี้ลง และหันมาทำขนส่ง เป็นโกดังให้เช่าแทน 

ตอนแรกผมไม่มีไอเดียจะทำอะไรกับโรงสีนี้เลย ผมเรียนมาทางสายคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมเมอร์ทำงานอยู่กรุงเทพฯ ความที่ภรรยาผมเป็นคนแก่งคอย เขาก็อยากกลับมาดูแลครอบครัวที่นี่ ผมก็ตามใจ เพราะผมก็อยากกลับมาดูพ่อแม่ตัวเองด้วย จึงตัดสินใจลาออกกลับมาอยู่บ้าน

ตอนนั้นน่าจะยุคปี 40 กว่าๆ คอมพิวเตอร์ยังไม่แพร่หลาย อินเทอร์เน็ทก็ยังเป็นแบบต่อสายโทรศัพท์อืดๆ ยังไม่มีกระแส work from home เหมือนทุกวันนี้ ก็คิดหนักเหมือนกันนะว่าจะกลับมาทำอะไร ช่วงแรกๆ ก็เลยทำฟรีแลนซ์ไอทีตามโรงงานต่างๆ ไปก่อน และก็ดูธุรกิจที่บ้านด้วย

จนมาราวๆ ปี 50 นี่แหละที่ผมเห็นว่าโรงสีซึ่งอยู่ในบริเวณบ้านเราเนี่ยมันน่าจะเอาไปทำอย่างอื่นได้มากกว่าปิดร้างไว้ ซึ่งทำเลก็ดีด้วยเพราะอยู่ริมแม่น้ำป่าสักและอยู่ใกล้ตลาดใจกลางเมือง ก็เลยชวนคุณพ่อว่ามาทำอะไรสักอย่างเถอะ ตอนนั้นกระแสกาแฟยังไม่ฮิตเท่าทุกวันนี้ แต่ผมค่อนข้างเชื่อมั่นว่าร้านกาแฟอีกหน่อยจะมา เลยตัดสินใจฟื้นฟูที่นี่เป็นร้านกาแฟ ตั้งชื่อไปตรงๆ เลยว่า ‘โรงสีกาแฟ’ เปิดเมื่อปี 2554

โรงสีกาแฟได้รับเสียงตอบรับที่ดีเลยครับ อาจเพราะเมืองมันยังไม่เคยมีแบบนี้มาก่อน จนทุกวันนี้ก็ยังดีใจที่มีคนบอกว่า ร้านเราเป็นเหมือนเป็นหนึ่งในห้องรับแขกของเมืองแก่งคอย หรือเป็นอีกแห่งที่ช่วยทำให้คนในเมืองมองเห็นว่าต้นทุนเดิมอย่างบ้านเก่าหรือย่านเก่าที่เราคุ้นตา สามารถนำมาฟื้นฟูให้กลายเป็นจุดเช็คอินทางการท่องเที่ยวได้

อย่างผมเจอกับตัวเลย ผมโตมาในโรงสีนี้ เห็นแผ่นสังกะสีก็รู้สึกขวางหูขวางตาอยากรื้อออก แต่นักท่องเที่ยวมาก็บอกว่าตรงนี้เท่ดี ตราชั่งข้าวเปลือกที่อยู่เดิม ผมก็เฉยๆ กับมัน ช่างภาพมาบอกว่านี่คือมุมถ่ายรูปที่สวย เหล่านี้ก็เริ่มทำให้ผมรู้สึกว่า ถ้าเรามองในมุมคนที่อื่น มันมีคุณค่าบางอย่างที่เรามองไม่เห็นมัน จนกว่าจะมีคนมาบอกมัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ในช่วงหลังๆ จะมีกระแสของการฟื้นฟูย่านเก่าตามเมืองต่างๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่าแก่งคอยถึงจะมีต้นทุนทางประวัติศาสตร์ดีแค่ไหน แต่ด้วยสภาพเมืองมันไม่เอื้อ ที่จอดรถไม่เพียงพอ ทางเท้าไม่เอื้อต่อการเดิน เมืองร้อนเพราะไม่มีพื้นที่สีเขียวให้ร่มเงา นั่นก็ทำให้ตลาดแก่งคอยยังคงซบเซา เพราะกายภาพเมืองไม่เอื้อ นักท่องเที่ยวคิดจะมา แต่พบว่ามันช่างลำบาก เขาก็เลือกจะไปที่มันสบายกว่า

ผมจึงเห็นว่าแนวคิดเรื่อง ‘เมืองสีเขียว’ หรือ ‘เมืองเดินได้’ เนี่ย มันจำเป็นต่อเมืองที่มีข้อจำกัดแบบเรามากๆ เพราะมันไม่ใช่แค่ดึงดูดให้คนมาเยือน แต่ยังหนุนเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในเมือง พอเมืองมันเดินสะดวก แทนที่คนจะไปซื้อของตามซูเปอร์สโตร์ขนาดใหญ่นอกเมือง เขาก็จะเลือกมาซื้อของในตลาดหรือในย่านเก่าเป็นหลักมากกว่า

แต่แค่เมืองเดินง่ายยังไม่พอ เมืองต้องมีที่จอดรถที่เพียงพอ อันนี้ขอวงเล็บให้มันเป็น smart parking ด้วย ใช้ IOT มาบริหารจัดการ คือเทศบาลไม่ต้องไปเช่าที่จอดรถขนาดใหญ่ที่ไหนเลย เราใช้ที่ว่างที่เรามีอยู่เต็มเมืองนี่แหละ และใช้ระบบคอยอัพเดตว่าตรงไหนมีที่ว่างบ้าง คนจากข้างนอกก็เข้าไปจอด จากนั้นก็ขึ้น EV Bus หรือระบบขนส่งสาธารณะที่คอยรับส่งผู้คนจากมุมต่างๆ เข้ามาใช้พื้นที่ในเมือง อย่างร้านผมก็มีที่จอดรถเยอะแยะ ผมก็อาจเอาที่ของผมไปเข้าระบบนี้ ให้คนมาจอดได้ เขามาจอดเสร็จ ก็รอรถสาธารณะมารับเพื่อไปซื้อของในเมือง

พอเรามีสามตัวนี้ (เมืองเดินได้, ที่จอดรถอัจฉริยะ, ระบบขนส่งมวลชน) เมืองมันจะดึงดูดให้คนมาใช้ แล้วจริงๆ แก่งคอยมันเล็กมาก แค่ 2×2 ตารางเมตรเอง ถ้ามีพื้นที่สีเขียวเยอะ เช้าๆ เย็นๆ คุณเดินเล่นได้ทั้งเมือง คนมีอายุหน่อยก็อาจนั่งรถบัสหรือรถไฟฟ้าไป เป็นต้น พอโครงสร้างพื้นฐานดี คุณทำธุรกิจอะไรในเมืองก็ขึ้น หรือคุณจะทำการท่องเที่ยว เปลี่ยนย่านเก่า เปลี่ยนตลาดท่าน้ำ หรือวัดแก่งคอยเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรืออย่างที่พยายามทำกิจกรรมล่องเรือแม่น้ำป่าสักกันอยู่ คนก็จะมากัน

ในฐานะที่ผมเกิดแก่งคอย ผมก็เคยสงสัยว่าสมัยตอนผมเด็กๆ ที่เมืองยังไม่ทันสมัยอย่างทุกวันนี้ ทำไมย่านใจกลางเมืองถึงคึกคักและเศรษฐกิจดีจัง แล้วก็พบว่าเพราะสมัยก่อนทุกบ้านยังไม่มีรถส่วนตัว การคมนาคมหลักคือการใช้รถไฟไปต่างอำเภอหรือจังหวัด ส่วนการคมนาคมในตัวเมืองคือไม่ปั่นจักรยานก็เดินเท้าเอา เศรษฐกิจของเมืองมันจึงหมุนเวียนเพราะมีคนไปมาหาสู่กันตลอดเวลา

ไม่ได้หมายความว่า ผมอยากให้เมืองเรากลับไปล้าสมัยแบบในอดีตนะครับ แต่ถ้าเรานำวิถีสมัยนั้นอย่างการเดินเท้าหรือปั่นจักรยานมาเป็นทางเลือกหลัก ภายใต้การพัฒนาในเมืองร่มรื่นน่าเดิน มีระบบขนส่งสาธารณะที่พร้อม สิ่งนี้ไม่เพียงทำให้เศรษฐกิจในตลาดกลับมาดี แก่งคอยจะยังเป็นเมืองน่าอยู่ และมลภาวะที่กำลังเป็นปัญหาในเมืองก็จะลดลงตามมาด้วย”  

นพพล ธรรมวิวัฒน์
เจ้าของร้านโรงสีกาแฟ

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

1 week ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago