“แม้กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา จะมีหน้าที่ในการจัดการและส่งเสริมการศึกษาทั้งในและนอกห้องเรียน รวมถึงกับทุกเพศทุกวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงผู้สูงอายุอยู่แล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า ที่ผ่านมาลำพังหน่วยงานเทศบาล เราหาได้มีกลยุทธ์เชิงวิชาการมากนัก
การร่วมงานกับโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ ที่ขับเคลื่อนโดยมหาวิทยาลัยพะเยา จึงสร้างแต้มต่อให้การขับเคลื่อนการศึกษาในเมืองของเราให้รุดหน้ามากยิ่งขึ้น โดยที่ทางมหาวิทยาลัยพะเยามาเสริมให้เรา คือการสานเครือข่ายจนทำให้นักเรียนและประชาชน เข้าถึงการศึกษาที่ตอบโจทย์กับการทำงาน การใช้ชีวิต และทักษะในศตวรรษที่ 21
ที่เห็นได้ชัด คือเมื่อมองหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดเทศบาล เรามีวิชาวิทยาการคำนวณเปิดสอนเป็นปกติอยู่แล้ว แต่โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ได้เชื่อมวิชานี้เข้ากับผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ (NT) ยกระดับภาควิชาสู่การเขียนโค้ดคำสั่งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และทำให้บทเรียนสนุกขึ้นด้วยการจัดหาหุ่นยนต์ให้นักเรียนได้ทดลองเขียนโค้ดเพื่อบังคับเจ้าหุ่นยนต์นี้กันจริงๆ จากวิชาวิทยาการคำนวณที่เคยเรียนอย่างแห้งๆ ตอนนี้เด็กๆ ไม่เพียงเห็นภาพว่าจะเรียนไปทำไม แต่ยังสนุก และมีทักษะที่สามารถนำไปต่อยอดได้จริงเชิงวิชาชีพอีกด้วย
และนั่นทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนเทศบาล 4 (ภูมินทร์ราษฎร์นุกูล) นำทักษะนี้ไปเติมความครีเอทีฟจนเกิดเป็นโครงการ Smart Kids จิตอาสา ออกแบบชุดคำสั่งให้หุ่นยนต์เก็บหน้ากากอนามัยหรืออุปกรณ์การแพทย์ที่อาจติดเชื้อ ชนะเลิศการประกวดหุ่นยนต์ระดับจังหวัดมาแล้ว ขณะเดียวกันเทศบาลของเรายังได้รับรางวัลการจัดการศึกษาดีเด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับประเทศเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมาอีกด้วย
สำหรับการจัดประชุมหรืองานเสวนาต่างๆ ได้พัฒนาทักษะและความเข้าใจในการออกแบบหน้าตาอาหารให้ขนมและของว่างดูดี ช่วยเพิ่มเสน่ห์ของผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกัน อันนี้ต้องยกเครดิตให้แนวคิด จาก ‘Local สู่เลอค่า’ ของคุณขาบ-สุทธิพงศ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์ที่เปิดสตูดิโออยู่ที่บึงกาฬ ซึ่งคณะของเรามีโอกาสไปดูงานมามากๆ
ในส่วนของพื้นที่การเรียนรู้ของเทศบาลเมืองพะเยาเอง เรากำลังมีแผนปรับปรุงอุทยานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ ให้เกิดเป็นอุทยานการเรียนรู้จังหวัดพะเยา หรือ TK Park เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเกี่ยวกับเมือง ประวัติศาสตร์ เทคโนโลยี ไปจนถึงการมีเครื่องไม้เครื่องมือที่ส่งเสริมการเรียนรู้และสตูดิโอที่เด็กๆ สามารถเรียนและฝึกซ้อมดนตรี พร้อมพื้นที่จัดแสดงไปด้วย และไม่จำกัดเฉพาะเด็กๆ ในเขตเทศบาล แต่รวมถึงนักเรียนทุกคนใน 9 อำเภอของจังหวัดพะเยา ซึ่งเราพยายามจะดึงให้เด็กๆ จากรอบนอกมาใช้บริการหรือทำกิจกรรมไปพร้อมกับเรา
เพราะไม่ใช่เด็กๆ ทุกคนจะสามารถมีไอแพดส่วนตัวหรือเข้าถึงเทคโนโลยีแบบเด็กในเมืองได้ เราจึงเชื่อว่าการจัดการศึกษาให้ทั่วถึงและเท่าเทียมที่สุด มีส่วนยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในเมืองได้
มณฑากาญจน์ ปรางค์มณีรัตน์
หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
กองการศึกษา เทศบาลเมืองพะเยา
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…