“เราเห็นว่ามีหลายเรื่องในเมืองที่หลายคนยังไม่รู้ และถ้าจะดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจในพื้นที่ ก็น่าจะใช้เรื่องลึกลับมาเป็นตัวนำ เลยตั้งชื่อกลุ่มว่า Secret of Ratchaburi”

“พวกเราเรียนสายศิลป์จีนธุรกิจ โรงเรียนดรุณาราชบุรี รุ่นที่เรียนสาขานี้มีอยู่ 12 คน แต่จะเรียนร่วมห้องกับเพื่อนที่เรียนศิลป์ภาษาอังกฤษและไอทีพร้อมกัน ยกเว้นวิชาหลักที่แยกกันไปเรียน

ตอน ม.4 เราสองคนได้ร่วมกิจกรรมอบรมยุวมัคคุเทศก์ของโครงการเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนต่อการมองเมืองราชบุรีบ้านเกิดของเรา เพราะแม้เราจะคุ้นเคยกับสถานที่ต่างๆ แต่ความเป็นจริง ถ้าเราไม่ได้รู้จักและสอบถามคนในพื้นที่ ก็กลับแทบไม่รู้ที่มาที่ไปของสถานที่นั้นๆ เลย พอเข้าร่วมอบรมจึงได้รู้ว่า อ่อ ชุมชนริมน้ำตรงนี้เริ่มขึ้นมาได้อย่างไร โอ่งมังกรก็มีที่มาที่น่าสนใจนะ กำแพงเมืองเก่าทำไมถึงไปอยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ เป็นต้น

นอกจากนี้ พอได้รู้แล้ว เรายังได้ฝึกให้เล่าเรื่องที่เรารู้ด้วย อย่างพีมได้โจทย์ให้เล่าเรื่องซุ้มประตูจีน ก็ต้องทำความเข้าใจสัญลักษณ์ของซุ้มก่อน และอธิบายให้คนอื่นเข้าใจถึงความหมายและความสวยงามของซุ้ม ทำให้เรากลายเป็นช่างสังเกต เวลาเห็นอะไร ก็ทำให้เราอยากรู้ถึงที่มาของสิ่งนั้นๆ

พอขึ้น ม.5 จากโครงการเมืองสร้างสรรค์ เขาเปลี่ยนแนวทางมาเน้นการทำให้ราชบุรีเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ เราก็ได้ร่วมกิจกรรมต่อ คราวนี้เขาให้เรารวมกลุ่มมาเข้าอบรม เพื่อช่วยกันหาแนวทางการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ในเมืองราชบุรีกัน เราเห็นว่ามีหลายเรื่องในเมืองที่หลายคนยังไม่รู้ และถ้าจะดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้มาสนใจในพื้นที่ ก็น่าจะใช้เรื่องลึกลับมาเป็นตัวนำ เลยตั้งชื่อกลุ่มว่า Secret of Ratchaburi โดยมีผลงานคือโมเดลศูนย์การเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองที่บอกเล่าเกร็ดต่างๆ ที่หลายคนอาจยังไม่รู้ และตั้งชื่อศูนย์การเรียนรู้นี้เป็นชื่อเดียวกับกลุ่ม

ถามว่าความลับอะไรของราชบุรีที่เราอยากบอกเล่าให้คนอื่นรู้? พีมว่าอาจไม่ใช่ความลับเสียทีเดียว แต่เป็นเรื่องที่หลายคนอาจยังไม่รู้ พีมสนใจเรื่องประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของชาวจีนในชุมชนตลาดเก่าค่ะ เพราะนี่เป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของเมือง โอ่งมังกรก็เริ่มจากตรงนี้ คิดว่าถ้าเรามีสื่อในการนำเสนอให้คนอื่นเห็นว่าแต่ละยุคสมัย ชาวจีนเดินทางมาถึงที่นี่ได้อย่างไร พวกเขาต่อสู้ดิ้นรนจนสร้างตัว สร้างธุรกิจ และมีส่วนสร้างเมืองขึ้นมาได้อย่างไร รวมทั้งผสานเข้ากับคนท้องถิ่นจนเป็นคนราชบุรีทุกวันนี้ได้อย่างไร


ส่วนนุ่นสนใจคล้ายๆ พีม คือที่มาของตลาดเก่าริมแม่น้ำแม่กลอง ตรงนั้นมีหลายเรื่องที่นุ่นเองก็อยากรู้อีกเยอะ เช่น ศาลเจ้า พิพิธภัณฑ์ ตลาดสนามหญ้า รวมถึงตึกเก่าทรงยุโรปที่เป็นศาลแขวงในปัจจุบัน ซึ่งนุ่นเห็นว่าสวยมากๆ ทั้งหมดล้วนมีจุดเด่นและเรื่องราวเบื้องหลังที่น่านำมาบอกเล่าให้คนอื่นๆ ได้รู้ 

ส่วนตัวพีมอยากเรียนต่อด้านโบราณคดีค่ะ แต่ก่อนไม่ชอบประวัติศาสตร์เท่าไหร่เลย แต่พอมาร่วมกิจกรรมก็ได้พบมุมมองใหม่ๆ อีกทั้งยังได้เรียนกับครูที่สอนวิชาประวัติศาสตร์สากลในห้องเรียนที่สอนสนุกมาก เขาสอนเหมือนเราได้ดูหนังเลย จากที่คิดว่าประวัติศาสตร์ต้องท่องจำ ก็เปลี่ยนความคิดมาเป็นการสังเกต รู้จักเปรียบเทียบ และทำความเข้าใจ ก็คิดว่าน่าจะเรียนต่อทางด้านนี้

สำหรับนุ่นคิดว่าจะเรียนต่อคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ ค่ะ เพราะถึงแม้เราเรียนมาด้านศิลป์จีนธุรกิจ แต่คิดว่าภาษาอังกฤษเป็นพื้นฐานที่ทำให้เราเข้าถึงการเรียนรู้อื่นๆ ตอนนี้เราพอมีพื้นภาษาจีนแล้ว ถ้าอังกฤษเราแน่น เราก็ยังสามารถไปเรียนภาษาอื่นเพิ่มเติม ทำให้เรามีโอกาสทำอาชีพที่หลากหลายเพิ่มขึ้นมา”

อัญชณียา พึ่งโสภา (พีม) และ อินทิรา พิมลบรรยง (นุ่น)
นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 5 โรงเรียนดรุณาราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

[THE RESEARCHER]<br />ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์<br />หัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด เทศบาลเมืองลำพูน<br />นักวิจัยจากสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…

3 days ago

[THE CITIZENS]<br />ปริยาพร วีระศิริ<br />เจ้าของแบรนด์ผ้าไหม “อภิรมย์ลำพูน”

“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ   และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม   ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ไชยยง รัตนอังกูร<br />ผู้ก่อตั้ง ลำพูน ซิตี้ แลป

“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ธีรธรรม เตชฤทธ์<br />ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน

“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…

1 week ago

[THE CITIZENS]<br />ชนัญชิดา บุณฑริกบุตร<br />ผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ชุมชนเมืองลำพูน

“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม)  จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…

2 weeks ago

[THE CITIZENS]<br />นงเยาว์ ชัยพรหม<br />คนทำโคมจากชุมชนชัยมงคล

“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว  สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…

2 weeks ago