“เราใช้โมเดลบูรณาการในรูปแบบที่ไม่ใช่ขนมชั้น แต่เป็นขนมเปียกปูน” กล่าวคือบูรณาการศาสตร์และศิลป์จากคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมา mold ด้วยกันอย่างกลมกล่อม”

จากเมืองสร้างสรรค์และน่าอยู่
สู่ ‘ราชบุรี เมืองแห่งการเรียนรู้’

ศาสตราจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ

ความที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเป็น อว. ส่วนหน้าของจังหวัดราชบุรี (หน่วยปฏิบัติการส่วนหน้าของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในการสนับสนุนการพัฒนาจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ประจำจังหวัดราชบุรี) จึงมีพันธกิจในการพัฒนาและบูรณาการงานวิจัยให้มาช่วยขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในราชบุรีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อ บพท. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนงานวิจัยในระดับพื้นที่ มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงเห็นเป็นโอกาสดีในการทำงานร่วมกันในพื้นที่ที่เปี่ยมด้วยศักยภาพอย่างจังหวัดราชบุรี

เราได้รับทุนสนับสนุนจาก บพท. มาตั้งแต่ปี 2563 ในชุดโครงการ ‘การอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าราชบุรี เมืองสร้างสรรค์และน่าอยู่ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน’ โดยเราใช้โมเดลบูรณาการในรูปแบบที่ไม่ใช่ ‘ขนมชั้น’ แต่เป็น ‘ขนมเปียกปูน’ กล่าวคือไม่ใช่การทำงานแบบบนลงล่างหรือแยกเลเยอร์กัน แต่เป็นการบูรณาการศาสตร์และศิลป์จากคณะวิชาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมา mold ด้วยกันอย่างกลมกล่อม ซึ่งเรามีทั้งนักวิจัยจากคณะโบราณคดี คณะมัณฑนศิลป์ คณะวิทยาการจัดการ และคณะวิทยาศาสตร์ สร้างแนวร่วมในการพัฒนาเมืองทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ งานออกแบบสร้างสรรค์ การจัดการท่องเที่ยว และการดูแลสิ่งแวดล้อม ไปพร้อมกัน

ทั้งนี้ เรายังได้แต้มต่อที่ดีจากงานวิจัยของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เนื่องจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ได้ทำแผนแม่บทเมืองเก่าราชบุรีไว้ก่อนแล้ว ข้อมูลด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และเครือข่ายภาคประชาชนของเราจึงเข้มแข็ง และเมื่อประกอบกับสถานะ อว.ส่วนหน้าของเรา ก็ทำให้สามารถจัดทำ MOU กับหน่วยงานรัฐของจังหวัดราชบุรีเสร็จสรรพ การทำงานจึงคืบหน้าไปได้ด้วยดี

โดยในปี 2563 เราทำโครงการย่อย 4 เรื่อง ครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาเมือง ได้แก่ หนึ่ง. ด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ผ่านการจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองเก่าราชบุรี 3 เส้นทาง โดยมีแม่งานคือคณะโบราณคดี สอง. การพัฒนาศักยภาพท่องเที่ยวด้วยการจัดทำไลน์แอปพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยว ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเรียนรู้สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอย่างสะดวก โดยได้คณะวิทยาการจัดการมารับผิดชอบ


สาม. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นจากทุนวัฒนธรรม และสร้างสรรค์ต้นแบบงานศิลปะเพื่อสาธารณะ ซึ่งได้อาจารย์จากคณะมัณฑนศิลป์ นำข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมือง มาทำเวิร์คช็อปร่วมกับชาวชุมชน และร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมสมัย และประติมากรรมสาธารณะซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ของเมือง โดยได้ชวนชาวบ้านมาร่วมสเก็ตซ์ เรียนรู้ทำเซรามิก และประกอบกันเป็นประติมากรรมน่ารักๆ รวมถึงสตรีทอาร์ทริมแม่น้ำแม่กลอง

และสี่. การพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการขยะของชุมชน โดยใช้โมเดลให้ชาวบ้านแยกขยะเอาไปแลกไข่ไก่ ซึ่งก็ใช้ไข่ไก่จากฟาร์มในจังหวัดมาแลก กระตุ้นให้ชาวบ้านจัดการขยะเพื่อรีไซเคิลได้ง่าย และลดขั้นตอนในการกำจัด อันส่งผลกระทบในเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมของเมือง

โครงการในปี 2563 ลุล่วงผ่านไปได้ด้วยดี และเมื่อ บพท. เปลี่ยนแนวทางการสนับสนุนทุนเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ในปี 2564-2565 จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับเราในการต่อยอด เพราะกระบวนการที่เราทำมาก็อยู่ในกรอบของการสร้างกลไกแห่งการเรียนรู้ในระดับเมืองอยู่แล้ว โดยเราได้มอบหมายให้อาจารย์ชวลิต (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ขาวเขียว) ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งคณบดีคณะโบราณคดี มาเป็นหัวหน้าโครงการ แล้วเราก็ถอยออกมาเป็นที่ปรึกษาโครงการ

ด้วยงบประมาณที่ลดลง โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จึงลดสเกลพื้นที่ลงมาอยู่ที่เมืองเก่าริมแม่น้ำแม่กลอง (ชุมชนตลาดเก่า) เมืองโบราณคูบัว และบ้านโคกพริก (เมืองโบราณยุคก่อนประวัติศาสตร์) โดยมีคณะที่รับผิดชอบหลัก คือคณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ พร้อมกับสร้างความร่วมมือกับคณะศึกษาศาสตร์อีกคณะ ในการนำงานวิจัยที่เราศึกษาเกี่ยวกับเมืองมาพัฒนาให้เป็นหลักสูตรการศึกษาบรรจุเข้าไปในระดับท้องถิ่น 

ทั้งนี้ รายละเอียดของกิจกรรมในโครงการต่างๆ หัวหน้าโครงการย่อยของแต่ละโครงการน่าจะสามารถเล่ารายละเอียดได้ดีกว่า ซึ่งแต่ละทีมก็ล้วนมีการสอดประสานข้ามศาสตร์ร่วมกันอย่างลงตัว เพื่อให้เกิดเป้าหมายที่ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์ตามงานวิจัย แต่ยังเป็นกลไกขับเคลื่อนเมือง และแรงบันดาลใจให้หน่วยงานต่างๆ นำไปต่อยอดจนเกิดเป็นการพัฒนาเมืองอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป”

ศาสตราจารย์ ดร. นันทนิตย์ วานิชาชีวะ
ที่ปรึกษาโครงการ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
และหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการ อว. ส่วนหน้า จังหวัดราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago