เรือที่ปล่อยออกทะเล เขาเจาะรูให้เรือรั่วและจมลงทะเล กลายเป็นแหล่งปะการังหากินของสัตว์ทะเลต่อไป ก็เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของคนหัวหินที่ยังทำกันอยู่

             “วัดหัวหินเป็นวัดแห่งแรกของหัวหิน สร้างปลายรัชกาลที่ 5 เริ่มสร้างปี พ.ศ. 2439 เดิมมีพื้นที่สำนักสงฆ์อยู่สองสำนัก อยู่ตรงหน้าโรงแรมเมเลีย คนจากเมืองเพชรบุรีย้ายมาหาที่ทำกินที่นี่ แล้วเพชรบุรีมีวัดเยอะ ก็เลยอยากมีวัด ก็ถวายที่ดิน ซึ่งตอนนั้นเป็นสวนมะม่วง ชาวบ้านหัวหินร่วมกันสมทบทุนสร้างวัดขึ้นมา ตั้งชื่อว่า วัดอัมพาราม ตอนหลังเปลี่ยนชื่อเป็นวัดหัวหิน แล้วก็ไปอาราธนาหลวงพ่อนาคมาเป็นเจ้าอาวาส หลวงพ่อนาคเกิดปี พ.ศ. 2400 บ้านเดิมอยู่ที่บ้านลัดโพ อำเภอคลองกระแซง จังหวัดเพชรบุรี เรียนพระปริยัติธรรมและบาลี บวชตอนอายุ 21 ปีที่พัทธสีมาวัดหลังป้อม ได้รับฉายาว่า ปุญญนาโค ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดนานถึง 38 ปี พัฒนาวัดหัวหินจนเจริญก้าวหน้า

               พื้นที่วัดหัวหินยาวไปถึงโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหินไปถึงถนนก็พื้นที่เดียวกันนะ สมัยหลวงพ่อนาค ปี 2456 เอาเด็กที่ไม่มีโรงเรียนมาเรียนที่วัด อยู่ๆ ไป เด็กซน วิ่งเยอะ เลยเฉือนพื้นที่ให้สร้างเป็นโรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน กำแพงล้อมรอบมีตอนปี 2492 แบ่งเขตกันแน่นอนระหว่างโรงเรียนกับวัด ถนนที่วิ่งกันอยู่ทุกวันนี้สร้างเสร็จปี 2471 สมัยรัชกาลที่ 7 เสด็จประทับวังไกลกังวล ถามหลวงพ่อเก่าๆ ท่านบอก ไม่มีถนน กำแพงไม่มี ไม่มีวัดเลย หลวงตาเองบวชปี พ.ศ. 2504 ปู่ย่าตาทวดก็คนที่นี่ อยู่มาหลายยุคหลายเจ้าอาวาส

               วันที่ 24 กรกฎาคมของทุกปีมีจัดงานวันบุพการี รำลึกถึงวันครบรอบการมรณภาพของหลวงพ่อนาค ปุญญนาโค เจ้าอาวาสวัดหัวหินรูปแรก ใครๆ ก็มา หลวงพ่อ พระ 60-70 รูปมาร่วมงาน เป็นงานใหญ่ประจำปี วัดหัวหินมีลูกศิษย์ลูกหามาก ใครๆ ก็เต็มใจมาทำบุญ ไม่กะเกณฑ์ว่าทำมากทำน้อย ทำเลก็สะดวก อยู่ในตลาด หลวงพ่อนาคมีชื่อเสียง คนมากราบไหว้ขอพร ขอให้ท่านช่วยเหลือ ท่านก็ช่วย

               วัดหัวหินอยู่ในชุมชน เป็นที่เคารพนับถือ เป็นที่รวมใจร่วมกิจกรรมในชุมชน มีลานชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมชุมชนจากการเล่าเรื่อง นาฏศิลป์ รำไทย แล้วมีกลุ่มชาวบ้านมาอาศัยพื้นที่วัดทำพิธีกรรมส่งเคราะห์ทางทะเล เพราะตอนนี้ที่ทางเป็นคอนโดเป็นโรงแรมหมดเลยไม่มีที่ทำพิธี จัดในเดือนที่ลมทะเลไม่มีคลื่น ช่วงเดือนสิบตรงกับงานบุญสารทเดือนสิบของพระธาตุนครศรีธรรมราช ก็เดือนกันยายน ทำมาตั้งแต่มีศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่อยู่หน้าทะเล คนมาร่วมแห่ขบวนเรือส่งเคราะห์ทางทะเล ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้วิญญาณที่ตายในทะเล บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ทำบุญสะเดาะเคราะห์ มีตุ๊กตาปั้นเขียนชื่อเราหรือญาติลงกระดาษติดไปกับตุ๊กตาวางไว้ในเรือประมงยาว 3 วา 2 ศอก แล้วก็ปล่อยตุ๊กตากับเรือส่งเคราะห์ทางทะเล มีพิธีสงฆ์ให้พระไปสวดที่ศาลเจ้าแม่ทับทิม เรือที่ปล่อยออกทะเล เขาเจาะรูให้เรือรั่วและจมลงทะเล กลายเป็นแหล่งปะการังหากินของสัตว์ทะเลต่อไป ก็เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของคนหัวหินที่ยังทำกันอยู่”

พระอรัญ รัตนญาโณ

ที่ปรึกษาเจ้าอาวาส วัดหัวหิน

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago