“เหรียญ KGO เป็นทั้งสิ่งดึงดูดให้คนมาร่วมกิจกรรม เท่าๆ กับการสร้างการเรียนรู้ด้านสมาร์ทซิตี้ไปพร้อมกัน ซึ่งตอนนี้มีคนขอนแก่นที่ใช้โทเคนนี้ราว 7,000 คน และมีร้านค้าที่ร่วมโครงการกว่า 600 แห่ง”

“ผมทำงานบริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) เป็นทีมทำงานของอาจารย์สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ปีนี้เข้าปีที่ 27 ขณะเดียวกันก็ขับเคลื่อนสมาร์ทฟาร์มและทำเรื่องการพัฒนาสายพันธุ์กัญชาให้บริษัทอีกแห่งที่ผมเป็นซีอีโอด้วย กระทั่งในปี 2563 ขอนแก่นได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 7 จังหวัดแรกของประเทศในการขับเคลื่อนเป็นสมาร์ทซิตี้ โดยบรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์จังหวัด แผนที่ 3 ความที่ผมทำงานกับอาจารย์สุรเดชอยู่แล้ว เลยได้รับมอบหมายให้มาเป็นผู้จัดการฝ่ายโครงการเมืองอัจฉริยะ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด

หน้าที่หลักคือการประสานกับภาคีเครือข่ายต่างๆ ในการนำกรอบสมาร์ทซิตี้มาพัฒนาเมืองขอนแก่น รวมถึงจัดเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา และหน่วยงานต่างๆ ซึ่งก็เป็นการต่อยอดมาจากโครงการมูลนิธิชุดขอนแก่นชุมชนทศวรรษหน้า แล้วก็มีการร่วมกันกำหนดกรอบการพัฒนาเมืองร่วมกันโดยพิจารณาจากต้นทุนและข้อท้าทายของเมือง จนเกิดเป็น Mobility หรือเมืองศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาคกลุ่มลุ่มน้ำโขง MICE City เมืองแห่งการประชุมของภาคอีสาน และ Medical & Healthcare เมืองศูนย์กลางการบริการการแพทย์และสุขภาพของภูมิภาคกลุ่มลุ่มน้ำโขง   

 พอกำหนดทิศทางแล้ว ก็เริ่มมีการขับเคลื่อนในแต่ภาคส่วนไป เช่น ขอนแก่นพัฒนาเมืองก็สนับสนุนภาคเอกชนที่สนใจทำเรื่องการพัฒนาเมือง หรือทางกลุ่มมิตรผลก็นำตึกของโรงแรมโฆษะเดิมมารีโนเวทเป็นอาคารนวัตกรรม (Innovation Center) รวมถึงมีการทำวิจัยต่างๆ โดยเฉพาะโครงการขนส่งมวลชนรถไฟรางเบาเมืองขอนแก่น (LRT)

โดยเมื่อบริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด ได้รับสนับสนุนงบประมาณโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้จาก บพท. ด้วยทางบริษัทเห็นว่ากรอบดังกล่าวเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนขอนแก่นเป็นสมาร์ทซิตี้ ผมจึงได้รับมอบหมายให้เป็นนักวิจัยร่วมของโครงการนี้ด้วยเช่นกัน

ในเฟสแรกของโครงการ ทีมวิจัยเห็นตรงกันว่า เราต้องมีหลักสูตรการเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองขอนแก่นอย่างรอบด้าน เพื่อเป็นทุนตั้งต้นในการสร้างพลเมืองมาขับเคลื่อนการพัฒนา เราแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มประชาชนทั่วไปและข้าราชการ และกลุ่มนักพัฒนาเมือง และเราก็ออกแบบหลักสูตรที่ครอบคลุมตั้งแต่ประวัติเมือง การเติบโตของเมือง การเคลื่อนย้าย ไปจนถึงความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และก็ชวนกลุ่มต่างๆ มาทำกิจกรรม

อาทิ กลุ่มเด็กและเยาวชน เราใช้เวลาหนึ่งวันในการจัดฐานการเรียนรู้และทัศนศึกษาในพื้นที่ อาทิ โฮงมูนมังเมืองขอนแก่น พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ รวมถึงชุมชนสำคัญๆ ต่างๆ กลุ่มที่สอง (ประชาชนทั่วไป) เราใช้เครื่องมือในการถอดบทเรียนและเก็บเป็นข้อมูลการเรียนรู้ของเมือง รวมถึงชักชวนตัวแทนจากราชการมาพิจารณาถึงกฎระเบียบที่เมืองมีอยู่ และหารือถึงการพัฒนาระเบียบเหล่านั้นให้ตอบโจทย์การพัฒนาเมือง และกลุ่มสุดท้าย (นักพัฒนาเมือง) เราโฟกัสไปที่การสร้างความรู้เรื่องสมาร์ทซิตี้โดยตรง

พร้อมกันนั้นเราก็บันทึกวิดีโอกิจกรรมทั้งหมด รวมถึงการนำเสนอข้อคิดเรื่องการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเมืองของ นายกเทศมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด นายก อบจ. และ key persons ท่านต่างๆ บวกรวมกับงานเสวนาต่างๆ มาตัดต่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อการเรียนรู้ด้านพัฒนาเมือง

ส่วนโครงการเฟสที่สอง เรามาโฟกัสเรื่องดิจิทัลและ metaverse มากขึ้น โดยเราร่วมกับ บริษัท อินฟินิทแลนด์ จำกัด ทำโทเคนแลกเปลี่ยนของเมืองที่เราเรียกว่า KGO wallet มอบให้ผู้ที่มาร่วมกิจกรรมกับเรา และสามารถนำเจ้านี้ไปใช้เป็นส่วนลดของร้านคาที่ร่วมกับเรา เรามองว่าโทเคนในรูปแบบเหรียญ KGO นี้เป็นทั้งสิ่งดึงดูดให้คนมาร่วมกิจกรรม เท่าๆ กับการสร้างการเรียนรู้ด้านสมาร์ทซิตี้ไปพร้อมกัน ซึ่งตอนนี้มีคนขอนแก่นที่ใช้โทเคนนี้ราว 7,000 คน และมีร้านค้าที่ร่วมโครงการกว่า 600 แห่ง โดยเฉพาะนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่มีการนำโทเคนนี้ไปใช้แลกกับการเข้าร่วมกิจกรรมของมหาวิทยาลัย โดยโทเคนก็สามารถไปเป็นส่วนลดอาหาร เครื่องดื่ม หรือร้านค้าในมหาวิทยาลัยได้ 

ล่าสุดทางเทศบาลนครนครสวรรค์ เขาให้ความสนใจแพลตฟอร์มตัวนี้ ก็มาคุยกับเราถึง 2 รอบ ในการนำแพลตฟอร์มตัวนี้ไปใช้กับจังหวัดของเขา รวมถึงที่ระยองและเชียงใหม่ ซึ่งล้วนมีเครือข่ายการพัฒนาเมืองที่เข้มแข้งและมีวิสัยทัศน์

สำหรับเนื้อหาด้านการเรียนรู้ในโครงการ นอกจากเรื่องปูมเมืองอย่างที่บอกไปในเฟสแรก ก็ยังรวมถึงการสร้างความรับรู้เรื่องขนส่งมวลชนใหม่อย่าง LRT ซึ่งเรายังมีโมเดลในการผลิตโครงสร้างรถไฟและบริหารจัดการทั้งหมดจากภายในขอนแก่นเองเพื่อกระตุ้นให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในจังหวัด การฟื้นฟูย่านเมืองเก่า และย่านเศรษฐกิจอย่างศรีจันทร์ ย่านรื่นรมย์ หรือ บขส. 1 รวมถึงการทำสมาร์ทฟาร์ม และการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาทำเกษตรปลอดสารเคมี เป็นต้น

จริงอยู่ จากโครงการที่เล่ามาส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น แต่ที่ผ่านมา เราก็ได้ขยายไปทำกิจกรรมในอำเภอต่างๆ โดยเน้นไปที่การพัฒนาการท่องเที่ยวและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร เช่นในอำเภอชุมแพ สีชมพู และภูผาม่าน แล้ว ซึ่งในอนาคต เราตั้งใจจะขับเคลื่อนเรื่องสมาร์ทซิตี้และพื้นที่เรียนรู้ให้ครอบคลุมทั้ง 26 อำเภอของจังหวัด เพราะเราเชื่อว่าการพัฒนาไม่ควรกระจุกตัวอยู่แค่จุดใดจุดหนึ่ง เช่นที่เราเริ่มที่ตัวเมืองขอนแก่นแล้ว อำเภออื่นๆ ก็ต้องได้รับการขับเคลื่อนไปด้วยพร้อมๆ กันเช่นกัน”

สมหมาย แก้ววิเศษ
ผู้จัดการฝ่ายโครงการเมืองอัจฉริยะ บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง จำกัด
และนักวิจัยโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ขอนแก่น

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

6 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

1 week ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

2 months ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago