“ต่อให้มีการลงทุนกับโรงบำบัดน้ำเสียมูลค่าเป็นพันพันล้าน คลองเตยหรือคลองที่ไหนในประเทศนี้ก็ไม่มีทางใสสะอาดได้ หากไม่มีการแก้ไขที่ต้นเหตุ
ที่กล่าวเช่นนี้ หาได้เป็นการผลักภาระไปที่ภาคประชาชน แต่ถึงเราจะมีเครื่องมือดีแค่ไหน หากผู้คนที่อาศัยอยู่ริมสองข้างทางยังคงทิ้งขยะลงคลอง คุณก็ไม่มีทางแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ ผมจึงเห็นด้วยกับโครงการคลองเตยลิงก์ที่ไม่เพียงมีแผนฟื้นฟูคลองเตยในเชิงกายภาพ แต่ยังสร้างความร่วมมือให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมคลองเตยมาเป็นแนวร่วมในการแก้ปัญหาไปพร้อมกัน
เพราะถ้าคนในคลองไม่ทิ้งขยะ แถมยังร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่รอบชุมชนของตัวเอง นี่จะกลายเป็นต้นแบบให้คนที่อยู่นอกพื้นที่มาเห็น ให้ความเคารพในพื้นที่ และไม่ทิ้งขยะหรือสร้างมลภาวะในพื้นที่ลำคลองใจกลางเมืองหาดใหญ่แห่งนี้ต่อไป
เมื่อคลองและพื้นที่ริมคลองได้รับการฟื้นฟู ผลประโยชน์ที่ตามมาอีกข้อก็คือหาดใหญ่จะมีเส้นทางสัญจรลัดใจกลางเมืองสายสำคัญเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่ง นั่นคือถนนสองข้างทางของคลองเตย ตรงนี้เองที่ทางโครงการคลองเตยลิงก์กำลังหารือกับทางเทศบาลนครหาดใหญ่ในการทำเส้นทางขนส่งสาธารณะมารองรับ เพราะถ้าดูจากแผนที่ของลำคลอง เส้นทางดังกล่าวสามารถเชื่อมเมืองตั้งแต่สถานีรถไฟไปจนถึงสถานีขนส่งหาดใหญ่ได้เลย
เรามองไว้ที่รถ EV conversion หรือการดัดแปลงรถสาธารณะที่ให้บริการอยู่เดิมให้เป็นรถไฟฟ้า และวิ่งประจำเส้นทางริมคลองเตย เพิ่มทางเลือกในการสัญจรของคนหาดใหญ่และนักท่องเที่ยว และช่วยบรรเทาความหนาแน่นของการจราจรในเมือง
โครงการนี้เราได้กลุ่มทุนที่จะมาร่วมลงทุนเรื่องการดัดแปลงรถแล้ว และได้หารือกับผู้ประกอบการรถสาธารณะและผู้จัดการสัมปทานเส้นทางเดินรถในเมือง เพื่อให้ประเมินถึงความเป็นไปได้ในการทำรถไฟฟ้าประจำทางสายใหม่นี้ และตอนนี้เราอยู่ในขั้นตอนพิจารณาเส้นทางที่รถต้องผ่านอยู่เพื่อให้สมประโยชน์กับทุกฝ่ายมากที่สุด
นอกจากการเพิ่มพื้นที่สีเขียวบริเวณริมคลองเตย ทางเทศบาลก็มีนโยบายในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในตัวเมืองด้วย เรามีแผนพูดคุยกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้ประโยชน์หรือถูกทิ้งร้างทั่วเมือง เพื่อขอพัฒนาพื้นที่เหล่านั้นให้กลายเป็นสวนสาธารณะและพื้นที่จอดรถ โดยจูงใจด้วยการลดภาษีที่ดิน
เช่น ปกติคุณอาจเสียภาษีที่ดินในเมืองตรงนี้ปีละ 90,000 บาท เทศบาลก็อาจขอเช่าที่ดินปีละ 10,000 บาทแทน และยกเว้นภาษีเจ้าของที่ดินตรงนั้นให้ เรียกได้ว่าแทนที่คุณจะปล่อยที่ดินไว้เฉยๆ และต้องเสียภาษี คุณให้เราเปลี่ยนที่ดินเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ได้ค่าเช่า และไม่ต้องเสียภาษีอีกต่างหาก ถ้าทำตรงนี้ได้ เมืองก็จะมีทั้งพื้นที่สีเขียวเพิ่ม หรือที่จอดรถเพิ่ม ช่วยลดปัญหาการขาดแคลนที่จอดรถในเมืองไปพร้อมกัน
ถามว่าคนหาดใหญ่ควรเรียนรู้เรื่องอะไรเป็นพิเศษ ผมมองว่าเราทุกคนต้องรู้เรื่องเมือง ซึ่งไม่ได้หมายความถึงการรู้จักประวัติศาสตร์อย่างลึกซึ้งหรอก แค่รู้ว่าเมืองที่พวกเราอยู่เนี่ยมีกลไกทำงานอย่างไร คุณจะแยกขยะอย่างไร เอาขยะมาวางให้เทศบาลทิ้งได้วันไหนบ้าง การจัดการพื้นที่หน้าบ้านตัวเองไม่ให้รุกล้ำที่สาธารณะ เป็นต้น
ทำไมถึงต้องเรียนรู้เรื่องเมือง? เพราะแต่ละเมืองก็มีระบบการจัดการไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น เมืองที่คุณอยู่เทศบาลอาจมีเจ้าหน้าที่มาเก็บขยะตอนตี 3 แต่อีกเมืองมีการเก็บขยะตอน 2 ทุ่ม ถ้าคุณอยู่ในเมืองที่เทศบาลเก็บขยะ 2 ทุ่ม แต่คุณเอาขยะมาทิ้งตอน 8 โมงเช้า ขยะก็จะกองอยู่ริมถนนอย่างนั้นทั้งวัน เป็นต้น การเรียนรู้ระบบของเมืองเช่นนี้จึงสำคัญ
ที่ผ่านมาเราใช้รถแห่และติดป้ายประกาศ แต่ต้องยอมรับว่าหาดใหญ่เป็นเมืองใหญ่ที่มีคนหมุนเวียนเข้าออกอยู่เสมอ การสื่อสารแบบเดิมอาจไม่พอ ผมจึงมองว่าเราควรมีแพลตฟอร์มที่รวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการสาธารณะประโยชน์ของเมืองไว้ในที่เดียว เพื่อให้ประชาชนรู้ว่าถ้ามีเหตุการณ์แบบนี้ คุณจะรับมืออย่างไร หรือไปติดต่อหน่วยงานรัฐหน่วยไหนได้บ้าง โดยแพลตฟอร์มที่ว่าอาจทำเป็นคู่มือเป็นเล่ม แอปพลิเคชั่น และสื่อออนไลน์เพื่อความทั่วถึง
การพัฒนาเมืองมันเริ่มจากเราทุกคน ถ้าประชาชนรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ไม่สร้างภาระให้ส่วนรวม หน่วยงานต่างๆ ก็ทำงานง่าย และปัญหาที่มีก็จะได้รับการแก้ปัญหาไปทีละขั้นตอน ก็เหมือนเรื่องคลองเตยแหละครับ แค่คุณไม่ทิ้งขยะลงคลอง หรือรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ปัญหาก็ถูกแก้ไปเปลาะหนึ่งแล้ว”
สมพร เหมืองทอง
นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ เทศบาลนครหาดใหญ่
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…