“ปี พ.ศ. 2500 อาม่าเรียนอยู่ชั้น ป.4 ที่โรงเรียนสิ่นหมิน เช้าวันที่ 2 มกราคม อาม่าจะไปโรงเรียนตามปกติ ระหว่างแม่กำลังผูกเปียให้ ได้ยินเสียงคนตะโกนว่าไฟไหม้ อาม่าก็ตื่นเต้นอยากไปดูไฟ เด็กอ่ะเนอะ แม่ก็ไม่ยอม บอกให้ผูกเปียให้เสร็จก่อน จนผูกเปียเสร็จนั่นแหละ คิดว่าไฟไหม้เล็กๆ ที่ไหนได้ เปลวเพลิงใหญ่มากๆ ไฟลามไปทั่ว
ทีนี้เตี่ยอาม่าก็เกณฑ์เพื่อนคนจีนที่ทำไร่อยู่แถวนั้นมาช่วยกันขนของ บ้านอาม่าเปิดเป็นร้านโชห่วยมีตั้ง 3 คูหา คูหานึงขายรองเท้า อีกคูหาขายเสื้อผ้า อีกคูหาขายเครื่องสำอาง เลือกไม่ถูกเลยทีนี้ว่าจะขนอะไรก่อน ส่วนแม่ก็บอกอาม่าว่าไม่ต้องไปโรงเรียนแล้ว ให้อาม่าขนน้องๆ อีก 2 คนหนีไปหลบอยู่ที่โรงสีที่มีเจ้าของเป็นเพื่อนเตี่ย
โรงสีอยู่ไม่ไกลมาก แต่ก็ไกลพอที่ไฟจะลามไปไม่ถึง พวกเราก็วิ่งไปอยู่ที่นั่น ระหว่างที่หลบอยู่นั่น อาม่าเห็นเปลวไฟลุกไหม้ขึ้นไปถึงท้องฟ้า ตอนเด็กๆ เราไม่ได้คิดอะไรมาก เห็นว่ามันแปลกตาดี ซึ่งมาคิดตอนหลัง นั่นเป็นภาพที่เศร้ามากเลยนะ เพราะไฟไหม้วันนั้นมันเผาตึกแถวที่เป็นไม้หมดไปทั้งเมืองจริงๆ
เตี่ยอาม่าคือลูกชายของเตียก้ำชอ ที่ต่อมาได้พระราชทานชื่อเป็นขุนกิตติกรพานิช อดีตทหารจีนฝ่ายก๊กมินตั๋ง ที่อพยพมาพิษณุโลกก่อนสงครามกลางเมือง ท่านเป็นเพื่อนกับเจียงไคเชก เลยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีนคณะชาติที่ไต้หวัน ท่านก็มาบุกเบิกทำการค้าในเมืองพิษณุโลกแห่งนี้ โดยหลังไฟไหม้ครั้งใหญ่ อากงท่านก็ไปกู้เงินธนาคารมาปลูกอาคารคอนกรีตแถวย่านตลาดใต้และแบ่งขาย
อย่างตึกที่เราคุยกันอยู่นี่ก็เป็นบ้านที่อากงปลูก ก่อนจะยกให้ลูกหลานรวมถึงเตี่ย โดยบ้านหลังนี้อากงยกให้เตี่ยก่อน แล้วท่านก็ยกให้อาม่า ตึกแถวในซอยนี้เป็นของครอบครัวเราหมด ก็อยู่กันมา 4 รุ่นแล้ว
อาม่ามีพี่น้อง 7 คน อาม่าเป็นคนที่ 4 ก่อนอาม่ามีพี่สาว 2 คน และพี่ชายอีก 1 คน พี่ชายอาม่าคือคุณสุรพันธ์ เจริญผล แกเคยเป็นนายกเทศมนตรีเมืองพิษณุโลกอยู่หลายสมัย ซึ่งก่อนหน้านี้แกทำโรงหนังกิตติกรที่ตลาดใต้ หลังจากนั้นก็ไปทำโรงหนังอีกหลายแห่งในภาคเหนือ รวมถึงเชียงใหม่ คุณมาจากเชียงใหม่ใช่ไหม? น่าจะเคยได้ยินโรงหนังแสงตะวัน นั่นแหละเคยเป็นของพี่ชายอาม่า
ที่พี่ชายมาทำธุรกิจโรงหนัง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเตี่ย เตี่ยอาม่าเริ่มทำก่อนคือโรงหนังเจริญผล ตอนแรกเตี่ยก็ไม่คิดจะทำธุรกิจนี้หรอก แต่แกมีเพื่อนสนิททำโรงหนังยอดฟ้าอยู่ก่อน โรงหนังยอดฟ้าอยู่ตรงท็อปแลนด์ ได้รับความนิยมมาก ตอนนั้นเมืองเราไม่มีสถานบันเทิงอะไรเยอะแยะเหมือนทุกวันนี้ เพื่อนเตี่ยก็ชวนเตี่ยให้ทำโรงหนัง ซึ่งเตี่ยก็เห็นดีด้วย เพราะเห็นที่ดินตรงตลาดเจริญผลว่างอยู่พอดี ก็เลยทำโรงหนังเจริญผล
ตอนเตี่ยเริ่มทำโรงหนัง อาม่าเรียนอยู่ชั้นมัธยมแล้ว เตี่ยส่งอาม่าไปเรียนต่อกรุงเทพฯ แต่เรียนได้สักพักหนึ่ง อาม่าเกิดคิดถึงบ้าน ก็พอดีกับช่วงนั้นพี่ชายอาม่าไปเรียนต่อที่ไต้หวัน อาม่าจึงอยากกลับมาช่วยเตี่ยกับแม่ ดื้อจนเขายอม เลยได้กลับมาช่วยเขาเป็นพนักงานจองตั๋วหนังที่เจริญผล
ค่าตั๋วสมัยก่อนถูกสุดที่นั่งละ 3 บาท จะอยู่ใกล้จอที่สุด เป็นเก้าอี้ไม้ ไม่มีเบาะ ถ้ามีเบาะจะราคา 6 บาท ที่นั่งดีสุดคือ 10 บาท ส่วนที่จอดรถก็คิดค่าจอดจักรยาน 50 สตางค์ มอเตอร์ไซค์คันละ 1 บาท สมัยนั้นไม่ค่อยมีคนขับรถยนต์ เลยไม่มีที่รับฝาก โรงหนังเจริญผลเราฉายหนังฝรั่งเป็นหลัก ก็ได้น้องชายเตี่ย หรืออาของอาม่าเป็นคนบุ๊คหนังมาให้ เขาทำงานที่บริษัทเอสโซ่ในกรุงเทพฯ ก็จะจัดแจงจองหนังจากกรุงเทพฯ และส่งม้วนฟิล์มทางรถไฟตอนกลางคืนมาถึงพิษณุโลกตอนเช้า เราก็ส่งคนขี่มอเตอร์ไซค์ไปรับที่สถานี จากนั้นก็เอามาให้นักพากย์ซ้อมพากย์บท เพราะยุคนั้นไม่มีเสียงในฟิล์ม ใช้คนพากย์เสียงเอาทั้งหมด
โรงหนังเราจะฉายวันละ 3 รอบ รอบแรกคือตอนเที่ยง กลางคืนมาอีกสองรอบ คนดูเยอะมากๆ เพราะตอนนั้นพิษณุโลกมีโรงหนังยอดนิยมแค่สองแห่ง คือของเรากับโรงหนังยอดฟ้า เพื่อนของเตี่ย
อย่างที่บอกแหละ ภายหลังคุณสุรพันธ์พี่ชายอาม่ากลับมา แกก็เห็นช่องทางทำธุรกิจ ไปเซ้งโรงหนังศิวะลัยตรงตลาดใต้ และเปลี่ยนชื่อเป็นกิตติกร ก่อนจะขยายไปทำที่อื่น แล้วกลับมาเล่นการเมืองที่บ้านเกิด
ที่โรงหนังปิดตัวเพราะขาดทุนค่ะ ช่วงหลังๆ คนไม่ดูหนังในโรง เพราะทุกบ้านมีโทรทัศน์และเครื่องเล่นวิดีโอกันหมด เขาก็เช่าวิดีโอมาดูที่บ้าน คนดูลดลง แต่ต้นทุนยังเท่าเดิม ต้องแบกรับสภาพขาดทุนมาพักใหญ่ๆ แล้วพอดีแม่อาม่าเสียตอนอายุ 66 และเตี่ยมาเสียหลังจากนั้นอีก 4 ปี ก็ไม่มีกำลังใจทำต่อด้วยก็เลยปิดดีกว่า
ทุกวันนี้อาม่าก็อยู่บ้านกับน้ำพุ ลูกคนเดียวของอาม่า ตอนแรกน้ำพุทำงานบริษัทอยู่กรุงเทพฯ แต่โชคไม่ดีที่พ่อของเขา หรือสามีอาม่าอายุสั้น น้ำพุเลยตัดสินใจลาออก มาอยู่เป็นเพื่อนด้วย เขาก็ทำโรงเรียนกวดวิชาของเขาไป
ปีนี้อาม่าอายุ 80 แล้ว ก็มีโรคเล็กๆ น้อยๆ ตามประสาคนแก่ แต่โดยรวมก็ยังแข็งแรงดี และความทรงจำก็ยังดี โดยเฉพาะเรื่องที่เกิดในเมืองพิษณุโลก เมืองที่อาม่าอยู่มาทั้งชีวิต ถ้าคุณมีเวลาอยู่ต่อ อยากรู้เรื่องอะไรอีก อาม่าจะเล่าให้ฟัง”
อาม่าสุรพี เจริญผล
อดีตเจ้าของโรงภาพยนตร์เจริญผล
ทายาทรุ่นที่ 3 ของขุนกิตติกรพานิช
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…