“ก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับ รังสิตเจ้าเก่า เริ่มตั้งแต่รุ่นก๋ง (โกฮับ) เป็นคนจีนไหหลำที่เข้ามาตั้งรกรากในไทย พายเรือขายก๋วยเตี๋ยวตรงใต้สะพานแก้ว ชายน้ำคลองรังสิต ชาวบ้านแถวนั้น คนงานที่มาขุดคลอง พอเห็นก๋งพายเรือมาก็เรียกให้ก๋งทำก๋วยเตี๋ยว ตอนนั้นขายแต่ก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ก๋งทำน้ำซุปเอง ตุ๋นเนื้อเอง เอาพริกมาดองมาหมักมาปรุงเอง ทำ ๆ ไปมีหนังสือพิมพ์ไทยรัฐถ่ายรูปไปลง มีนักมวย ดารามากิน แล้วก็มีภาพยนตร์ “เลือดนอกอก” (2508) เอาชีวิตของก๋งไปทำ ให้ล้อต๊อก (นักแสดงตลก) เป็นคนแสดง มีบทพูด “โกฮับไล้เหลี่ยว” (โกฮับมาแล้ว) หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงรูปวาดล้อเลียน ก็เลยดังติดหู เป็นเอกลักษณ์ ว่าก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิตก็ต้องโกฮับ”
สำเนียง อำไพจิตต์ – “แม่เกิดมาก็เห็นเตี่ยขายก๋วยเตี๋ยวแล้ว ช่วยเตี่ยตั้งแต่อายุ 13-14 เตรียมของไว้ในเรือให้เตี่ยพายเรือออกไปขาย แม่มาขายจริง ๆ ตอนปี พ.ศ. 2512 ที่เขาไล่ให้ขึ้นไปขายบนบก ก็มาเช่าที่ปลูกเพิงขายริมถนนที่ตอนนี้คือห้างเซียร์รังสิต ตอนนั้นก็เป็นเวิ้งเดียว มีก๋วยเตี๋ยวหลายเจ้าก็เป็นพี่ ๆ น้อง ๆ กัน แต่ ณ ตอนนี้มีเราทำเจ้าเดียว แม่เติบโตมากับอาชีพนี้เลย ไม่เคยเปลี่ยนอาชีพ ขายมาตั้งแต่ชามละบาท พิเศษสองบาท ขึ้นเป็นสองบาท สามบาท หกบาท สิบห้าบาท ยี่สิบบาท ขึ้นราคาตามวัตถุดิบ สมัยก่อนนักมวย เวนิส บ.ข.ส. (อดีตแชมป์โลกคนที่ 4 ของไทย) มากินก๋วยเตี๋ยว เพิ่มตับต่างหากห้าสิบสตางค์ ตอนนั้นกิโลละ 20 บาท เดี๋ยวนี้กิโลตั้งร่วมสามร้อย ทองบาทละ 480 พวกทหารอากาศก็มากิน เครื่องปรุงไม่มี ยังนั่งยอง ๆ กิน พอขายที่เซียร์ถึงมีโต๊ะนั่ง สมัยก่อนจะหั่นเนื้อใส่กระจาด ทีนี้เวลาหั่นเนื้อแล้วมีเลือด เลือดค่อย ๆ หยด พอเสร็จแล้วใส่ต้นหอม น้ำมัน แล้วเอาน้ำที่ตกจากเนื้อนิดนึงใส่ เอาน้ำร้อน ๆ ใส่ในชามเลย แล้วก็คน ๆ แบบนี้เขาเรียก “น้ำตก” เป็นที่มาที่เกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเจ้าแรกในรังสิตเลย ตอนนี้เราก็ยังใส่เลือดสดแบบวิธีเดิมที่เราทำมา แล้วหมูมามีน้ำตกเมื่อปี 2540 เพราะตอนนั้นเกิดโรคแอนแทรกซ์ คนไม่กินเนื้อวัว ก็เลยเอาหมูมาทำแบบก๋วยเตี๋ยวเนื้อ เครื่องปรุงทุกอย่างเหมือนกันหมดต่างกันที่หมูหรือเนื้อ สูตรน้ำซุปก็พัฒนาด้วยตัวเอง มีอบเชย โป้ยกั๊ก ใบเตย ซีอิ๊วดำ ส่วนผสมต่าง ๆ เราก็ปรุงให้รสชาติอร่อย ข้อสำคัญมีเทคนิค น้ำอร่อยลวกเส้นเละไปก็ไม่อร่อย เวลาลวกเนื้อ เอาเนื้อใส่ตะกร้อเรานับในใจ หนึ่ง สอง เอาขึ้นเลย เนื้อสดถ้าลวกนานมันเหนียว พอมารุ่นลูก พัฒนาต่อยอดขึ้นไป ขายเนื้อริบอาย เนื้อออสเตรเลีย หมูคุโรโบตะ มีเนื้อนอก เนื้อไทย มีตัวเลือกให้ลูกค้ามากขึ้น แม่ก็ได้ช่วยนิดหน่อย ใจสู้แต่ขาเราไม่ไหวแล้ว”
“จากก๋ง แม่ จนเราเป็นรุ่นที่ 3 ก็เติบโตมากับก๋วยเตี๋ยวเหมือนแม่เลย ช่วยขายตั้งแต่เด็ก ตื่นตีสองตีสามแม่เรียกมาช่วยมัดพริกดอง จากจุดแรกที่ขึ้นบกที่ห้างเซียร์ เราก็ไปเข็นของมาตั้งแต่เปิดสาขาเพิ่มในฟู้ดคอร์ตที่ห้างพาต้า ปิ่นเกล้า กับห้างนิวเวิลด์ บางลำพู แล้วก็ย้ายร้านไปอยู่ปากเกร็ด นนทบุรี มาอยู่ตลาดพูนทรัพย์ ปทุมธานี 10 ปี พอเราเข้าเรียนมหาวิทยาลัยรังสิตแม่ก็มาเช่าร้านที่หน้าเมืองเอก จนปรับเปลี่ยนมาเป็นร้านปัจจุบันที่เราดูแลเต็มตัว และจดทะเบียนการค้า ชื่อ “โกฮับรังสิตเจ้าเก่า” ในปี 2549 และทำธุรกิจแฟรนไชส์เจ้าแรกปี 2550 ที่เทอร์มินัล 21 อโศก ซึ่งเขาก็ยังทำอยู่ ตอนหลังมีเปิดเยอะมาก แต่สาขาเขาทำตามสูตรไม่ได้ บางสาขาก็ไม่ได้ซื้อจากเราโดยตรง ตอนนี้มีแฟรนไชส์อยู่ 2-3 สาขา กับร้านก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับ รังสิตเจ้าเก่า ที่เมืองเอกร้านนี้ร้านเดียว เราทำร้านให้ดูน่ารักขึ้น แต่คงมีเรือ มีห้องแอร์ มีเมนูทานเล่นเพิ่มขึ้น สามารถรองรับได้ทุกเพศทุกวัย ร้านนี้เปิดมา 4 ปี เปิดปุ๊บโควิดแรงเลย ก็ได้ผลกระทบหนัก เรามีออเดอร์ออนไลน์เยอะแต่ก็แลกด้วยค่าจีพีที่เสียไป แต่ก็มีลูกค้าเดินมากิน จอดกินบนรถก็มี ลูกน้องเราสี่คนก็ไม่ให้ออก ให้เขาอยู่กินที่นี่เลย เลี้ยงดูสามมื้อเหมือนเดิม เด็กก็เห็นใจเรา เราก็เห็นใจเขา ตอนนี้สถานการณ์ดีขึ้นเยอะ ถามว่ากลัวมั้ย ? กลัว แต่เลือกจะปรับตัว ใช้ชีวิตอยู่กับมัน หน้ากากตอนนี้เหมือนเป็นโทรศัพท์ ไปไหนไปด้วย ร้านเราตั้งโต๊ะห่างกันหนึ่งเมตรอยู่แล้ว แต่เราก็โยกลูกค้า ให้นั่งสลับฟันปลา ทำบรรยากาศให้เซฟทั้งเขาทั้งเรา
ลูกค้าเป็นกลุ่มผู้ใหญ่เยอะ เคยกินกันมาตั้งแต่ไม่มีลูกจนลูกโตพามากิน เรายังรักษามาตรฐานและรสชาติดั้งเดิมไว้ ทุกอย่างเราสั่งเป็น ODM ทำตามสูตรของเรา สมัยก่อนเราทำเองหมด มีเครื่องตี เครื่องสับ คุมวัตถุดิบ แพ็ก ฟรีซ หลายขั้นตอน แต่เรามองว่า ณ ตอนนี้หันมาทำการตลาดดีกว่า แฟรนไชส์เรามีหัวน้ำซุป พัฒนาให้สูตรคงที่ ใครที่รักในการขาย การทำอาหาร สามารถทำได้ เทน้ำซุปลงไป ทำตามอุณหภูมิที่บอก น้ำเดือด ขายได้เลย แล้วก็มาเรียนวิธีเลือกซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์การวัด การตวง วิธีเก็บรักษา เราสอนทั้งหมด เดี๋ยวนี้คนตกงานเยอะ มาขายก๋วยเตี๋ยว เพราะคิดว่าง่าย แต่ของเราไม่ใช่ มีอะไรทำเยอะแยะกว่าจะได้หนึ่งชาม เคยกินก๋วยเตี๋ยวที่ปรุงแล้วไม่จบมั้ย ? ปรุงอยู่นั่น แต่ไม่อร่อย ไม่มีความนัว ก๋วยเตี๋ยวอร่อยกินแล้วไม่ต้องปรุงเยอะ ไม่ใช่ใส่น้ำส้มเปรี้ยวครึ่งถ้วย อันนั้นเขาเรียกก๋วยเตี๋ยวไม่อร่อย บางคนกินแล้วไม่ต้องปรุง คือคลิกเลย แล้วทำให้มีลูกค้าเก่า เวลาออกไปกินร้านอื่นแล้วนึกถึงก๋วยเตี๋ยวโกฮับเรา”
สำเนียง อำไพจิตต์
มัณฑนา อำไพจิตต์
ผู้ประกอบการร้านก๋วยเตี๋ยวเรือโกฮับรังสิตเจ้าเก่า
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…