“โบราณวัตถุบางชิ้นอาจดูไม่สวยเลย ไม่เห็นจะน่าเก็บ แต่คุณค่าของวัตถุนั้นมันคือการที่คนในอดีตได้ใช้มันเพื่อประทังชีวิต เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ของยุคสมัย และไม่สามารถทำซ้ำได้อีกแล้ว มันจึงมีค่ามาก”

ตอนนี้เรียนอยู่มอหก โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี ค่ะ เราเรียนตั้งแต่มัธยมต้น และได้รู้จักชมรมโบราณคดีซึ่งรับเฉพาะเด็กนักเรียนมัธยมปลาย ความที่เราสนใจประวัติศาสตร์ และเห็นบรรยากาศของรุ่นพี่ในชมรมที่ผูกพันกันเหมือนครอบครัว โดยไม่มีระบบโซตัสด้วย พอขึ้นมอสี่ก็เลยสมัครเข้าชมรมนี้

ชมรมนี้มีคนอยากเข้าเยอะ ก็เลยต้องส่งใบสมัครและสัมภาษณ์กัน รุ่นพี่ปีสุดท้ายหรือที่เรียกว่ามาสเตอร์จะเป็นคนคัดเลือกสมาชิกใหม่ อย่างปีนี้หนูเป็นมาสเตอร์ ก็จะเป็นคนคัดเลือกน้องเข้ามาในชมรม ก็ดูที่ทัศนคติ ความสนใจ และความพร้อมอื่นๆ

หน้าที่หลักของสมาชิกในชมรมไม่ใช่แค่การเฝ้าพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) แต่สมาชิกทุกคนจะได้เรียนรู้ทักษะการทำทะเบียนโบราณวัตถุ และสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์แก่ผู้มาเยือนได้ ซึ่งทักษะนี้จะเป็นการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น โดยรุ่นพี่ยังได้เรียนรู้จากอาจารย์จากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรด้วย

อย่างการทำทะเบียน ก็ต้องทำให้มีความละเอียดแบบที่นักโบราณคดีจริงๆ เขาทำกันเลย จดบันทึกรายละเอียดของวัสดุ วัดสเกลขนาด ถ่ายรูปทุกมุมมอง บันทึกอายุ และทำทะเบียนการจัดเก็บ คือไม่ใช่ว่าเรามีหม้อโบราณ เราจะเขียนแค่หม้อมีสีอะไรก็ไม่ได้ เพราะพิพิธภัณฑ์เรามีหม้อเป็นร้อยๆ ใบ โบราณวัตถุแต่ละชิ้นก็ล้วนมีคุณค่าในตัวของมันเอง พอได้ทะเบียนเราก็บันทึกลงฐานข้อมูลที่เป็นเอกสารและฐานข้อมูลออนไลน์

ในทุกๆ ปี เราจะมีโบราณวัตถุที่ศิษย์เก่า หรือหน่วยงานต่างๆ บริจาคเข้ามา เช่น เรามีโลงผีแมนจากกาญจนบุรี ที่รุ่นพี่ชมรมเราซึ่งจบออกไปเป็นตำรวจและได้มา เขาก็บริจาคให้พิพิธภัณฑ์ของโรงเรียน รุ่นน้องอย่างพวกเราก็ต้องทำทะเบียนวัตถุเพื่อจัดเก็บ ที่เห็นในห้องนี้ยังไม่ใช่ทั้งหมดที่เรามี เพราะเรามีโบราณวัตถุที่ได้มาเยอะมากจัดเก็บในคลังของโรงเรียน

ทำไมถึงชอบเรื่องนี้หรือคะ? จริงๆ หนูชอบลงพื้นที่มากกว่า ไปตามแหล่งโบราณสถานเพื่อจะได้เรียนรู้ว่าคนแต่ละวัฒนธรรมหรือแต่ละยุคสมัยเขามีชีวิตอยู่กันอย่างไร และเห็นการที่ผู้คนแต่ละยุคใช้สิ่งของต่างๆ เพื่อดำรงชีพ วัตถุบางชิ้นอาจดูไม่สวยเลย ไม่เห็นจะน่าเก็บตรงไหน แต่คุณค่าของวัตถุนั้นมันคือการที่คนในอดีตได้ใช้มันเพื่อประทังชีวิต เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สำคัญของยุคสมัย และไม่สามารถทำซ้ำได้อีกแล้ว มันจึงมีค่ามาก

อย่างไรก็ดี หนูชอบโบราณคดีเพราะได้ทำกิจกรรมและได้เรียนรู้ ไม่คิดว่าจะเรียนต่อด้านนี้ในเชิงอาชีพค่ะ เพราะเราก็สนใจเรื่องอื่นๆ อย่างภาษาและการสื่อสารด้วย จึงไม่ได้คิดจะสอบเข้าโบราณคดีเป็นอันดับแรก แต่การได้เข้าชมรมก็ทำให้หนูได้พัฒนาทักษะหลายด้าน ทั้งการทำงานร่วมกับคนอื่น ความละเอียดรอบคอบในการจดบันทึก การเป็นคนช่างสังเกต การสื่อสาร และความกล้าแสดงออก ที่สำคัญคือการได้เพื่อนใหม่ๆ ที่สนใจแบบเดียวกัน”

กรรณิการ์ มณีวิหก
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และสมาชิกชมรมโบราณคดี
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี    

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

7 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago