โรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์ เปิดทำการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีนักเรียนประมาณ 1,200 คน ข้อได้เปรียบของโรงเรียนเราคือ ทำเลที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง ตรงข้ามโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลประจำจังหวัด และรายล้อมด้วยสถานที่สำคัญๆ ของเมือง เช่น อนุสาวรีย์พระยาชัยสุนทร หอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ พิพิธภัณฑ์ของดีเมืองกาฬสินธุ์ และอื่นๆ นี่จึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่ดีเยี่ยมสำหรับให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้เมืองของตัวเอง
นอกจากทำเลที่ตั้ง โรงเรียนเรายังมีจุดเด่นเรื่องศิลปะและดนตรี เรามีนักเรียนที่สามารถคว้ารางวัลทางดนตรีและศิลปะระดับจังหวัดหลายครั้ง รวมถึงมีหลักสูตรที่ช่วยส่งเสริมเด็กๆ ให้มีพัฒนาการด้านอารมณ์ ผ่านวิชาเพิ่มรู้
วิชาเพิ่มรู้เป็นวิชาเสริมที่เราให้เด็กนักเรียนเรียน ซึ่งเราสามารถออกแบบหลักสูตรได้ว่าจะส่งเสริมนักเรียนช่วงชั้นไหนในประเด็นความรู้อะไรเป็นพิเศษ โดยเราก็ได้บูรณาการความรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของเมือง ประเพณี ดนตรี และศิลปวัฒนธรรมอีสานเข้าไปในหลักวิชา รวมถึงเปิดให้เด็กๆ ได้เข้าร่วมกิจกรรมของจังหวัดด้วย
นอกจากนี้ โรงเรียนเรายังมีศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 แบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ 7 ฐาน อาทิ ธนาคารขยะรีไซเคิล ธนาคารเกษตรพอเพียง ธนาคารห้องสมุด หรือธนาคารความดี เป็นต้น โดยเราก็ใส่ฐานเหล่านี้ไปในวิชาเพิ่มรู้ รวมถึงวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละช่วงชั้นไปด้วย
ก็ต้องขอบคุณทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ที่มาขับเคลื่อนโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ เพราะดังที่กล่าว โรงเรียนเราให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน ผ่านศูนย์การเรียนรู้ที่โรงเรียนเรามีอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์เข้ามา เราจึงสามารถขยายการเรียนรู้ไปสู่นอกรั้วโรงเรียน โดย ผอ. ก็มักจะบอกคุณครูให้คอยอธิบายถึงความสำคัญหรือความหมายของสถานที่หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ให้เด็กนักเรียนได้เข้าใจ
หรืออย่างที่เทศบาลมีหอศิลป์เมืองกาฬสินธุ์ที่เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เด็กนักเรียนโรงเรียนเราก็เข้าไปเยี่ยมชมเยอะ เนื่องจากเด็กหลายคนมักจะใช้พื้นที่นั้นสำหรับรอรถเดือนหรือรถผู้ปกครองมารับกลับบ้าน ระหว่างที่รอ พวกเขาก็นั่งพักในนั้น เขาอาจจะยังดูงานศิลปะไม่เป็น แต่อย่างน้อยก็ได้เห็น ได้ซึมซับกลับมา ไม่แน่ว่านานๆ ไป สิ่งนี้อาจจุดประกายให้หลายคนสนใจหรือหันมาเอาดีด้านศิลปะก็ได้
ไม่นับรวมสถานที่ประวัติศาสตร์ในตัวเมือง ซึ่งเมื่อเขาได้เรียนรู้จนตระหนักในคุณค่า สิ่งนี้อาจส่งผลให้เขาภูมิใจในบ้านเกิด และมีความคิดว่าพอโตขึ้น อยากจะกลับมาสร้างสรรค์อะไรดีๆ ให้กาฬสินธุ์ด้วย”
วัชรี คำเดช
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล 1 กาฬสินธุ์พิทยาสิทธิ์
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…