“อบต.หนองน้ำแดง เน้นเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ที่ผ่านมาในอดีต การพัฒนา อาจจะหมายถึงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่ของเราคือพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือการเข้าถึงแหล่งความรู้ ประสานความร่วมมือกับภาคราชการหรือภาคเอกชน มีการจัดฝึกอบรมในเรื่องต่างๆ อยู่เป็นประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาก็เอางบมาทำให้ ภาคเอกชนที่เขาอยากประกอบอาชีพนี้ ฝึกอาชีพนี้ หรือมาเรียนรู้เรื่องนี้ เรามีหน้าที่ประสานความร่วมมือให้เขามาเจอกัน กิจกรรมอบรม เช่น เรื่องการท่องเที่ยว การเสริมทักษะการแปรรูป การขายของออนไลน์ เชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนในท้องถิ่น
แหล่งท่องเที่ยวในโซนหนองน้ำแดง ก็มีหลากหลาย แหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ มีวัดวชิราลงกรณวราราม วรวิหาร เป็นวัดในรัชกาลที่ 10 และมีรอยพระพุทธบาทอยู่บนภูเขา วัดถ้ำไตรรัตน์ ก็มีถ้ำ จริงๆ มีถ้ำธรรมชาติอยู่อีกหลายวัด เป็นจุด Unseen ที่นักท่องเที่ยวยังไม่รู้ อย่างวัดถ้ำพรหมจรรย์ไม่ค่อยมีคนรู้หรอก แต่เราเคยไป ก็จะรู้ว่าเป็นถ้ำธรรมชาติ แต่ไม่ใช่แหล่งท่องเที่ยว เป็นแหล่งสำหรับวิปัสสนา กรรมฐาน ปฏิบัติธรรม แต่ส่วนใหญ่คนก็ไม่ค่อยได้ขึ้น เพราะสูง ขึ้นลำบาก อย่างถ้ำสุริยาก็สวยนะ แต่พอวัดถ้ำเขาวงมาอยู่ก็มีการทำเพิ่มเติม ความเป็นธรรมชาติก็ลดน้อยลง ในชุมชนหนองน้ำแดงก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรหลายแห่ง คนในชุมชนเขาทำของเขาเอง อย่างที่ “บ้านหมากม่วง” เขาทำอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว ปลูกมะม่วงเป็นร้อยไร่ เขาก็เอามาแปรรูปเอง มีข้าวเหนียวมะม่วง ไอศกรีม แล้วก็ทำเป็นร้านอาหาร ร้านค้า สามารถรองรับกรุ๊ปทัวร์ได้ ลูกเจ้าของเขาเก่ง เรียนจบ Food Science มาต่อยอดให้พ่อ ก็เป็นกิจกรรมที่น่าส่งเสริม ซึ่งตรงนี้ในส่วนราชการเราก็พยายามส่งเสริมทักษะเหล่านี้
ผมมีโอกาสเข้าไปร่วมกับภาคเอกชนที่มีการจัดประชุม ส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาโครงการเขาใหญ่ ปากช่อง เมืองอาหารอินทรีย์ คือตอนนี้ ทุกคนต้องกลับมาดูแลสุขภาพ เรื่องอยู่ เรื่องกิน ผมสังเกตหลายร้านอาหาร มีผักปลอดสารพิษ ถึงราคาจะสูงกว่า แต่เขาก็กินนะ สินค้าเกษตรอินทรีย์ก็มีโรงแรม รีสอร์ต ที่เขาต้องการอยู่ ซึ่งจากเดิม เกษตรกรทำเกษตรอย่างเดียวแล้วขายพ่อค้าคนกลาง ตอนนี้ก็หันมาทำเกษตร แปรรูปเอง อย่างในตำบลหนองน้ำแดงมีมะขามแช่อิ่ม ปีหนึ่งๆ ผลผลิตได้ถึง 50 ตันนะ เกษตรกรแปรรูปเสร็จ เราก็มาส่งเสริม ต่อยอดให้เขา ให้มาเรียนรู้เรื่องการทำแพ็กเกจจิง การพัฒนาคุณภาพของอาหาร หรือพวก Food Safety มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาก็ประสานความร่วมมือ มาช่วยออกแบบสติกเกอร์ ในส่วนราชการเอง กระทรวงมหาดไทยก็ทำ เช่น บ้านนี้มีรัก ปลูกผักกินเอง ส่งเสริมให้ข้าราชการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ คือผู้นำต้องทำก่อน เราก็ทำ ผักสดๆ ที่เราปลูกเอง อย่างกระเจี๊ยบเขียว ก็อร่อย หรือโครงการขยะเปียก ลดโลกร้อน ที่บ้านเรา แยกขยะอยู่แล้ว มีหลุมขยะเปียกที่เราขุดลงไป ใส่ถังตัดก้น เปิดฝาปิดฝา เต็มเราก็กลบแล้วย้ายหลุม มันก็อยู่ในพื้นที่เรา ดินก็อุดมสมบูรณ์ แต่บางคนไม่เข้าใจไง คิดว่าต้องไปเอาโน่นเอานี่มาใส่เป็นปุ๋ย ไม่ใช่ แค่กลบอย่างเดียวก็เป็นปุ๋ยแล้ว หรืออย่างขี้วัว ถ้าเอาไปใส่เลย มันก็ยังช้า แต่เกษตรกรมีกรรมวิธี เช่น เอามาแช่น้ำแล้วไปรด แต่ก็ต้องรู้ปริมาณรู้สูตรว่าต้องใช้เท่าไหร่ยังไง
วิถีชีวิตคนในพื้นที่หนองน้ำแดงก็โอเคอยู่ คนที่นี่มีศักยภาพพอที่จะดำเนินการเองได้ ต่อยอดได้ ขยายผลผลิตไปเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้เกษตรกรเก่ง บางทีเขาก็ทำส่งออกเอง แปรรูปเอง ราชการก็เป็นฝ่ายสนับสนุน พฤติกรรมเราก็ต้องเปลี่ยนตาม ในด้านโครงสร้างพื้นฐานในตำบลหนองน้ำแดงก็น่าจะครบแล้วล่ะ เรายังมีปัญหาน้ำประปา เพราะโซนบ้านเขาวง บ้านธารมงคล บ้านหนองมะกรูด โซนนั้นต้องเจาะบาดาลลงไป 200-250 เมตรนะ ถ้ากลุ่มเขาวง เขาจันทร์นี่ 300 เมตรนะ ปกติ 6 นิ้วรถเจาะได้ละ แต่นี่ต้องใช้บ่อขนาดใหญ่ 8 นิ้ว เราก็ประสานความร่วมมืออบต. กับภาคเอกชนที่มีจิตกุศล อย่าง PT เจาะให้ 3 บ่อ ธารมงคลเจาะให้ 1 บ่อ โครงการซีพีคืนสุขผู้สูงวัยก็มาทำให้ โรงโม่หินศิลาสากลพัฒนามาทำโครงการบ้านธารน้ำใจเทิดไท้องค์ราชัน สร้างบ้านให้คนจน คืออบต.ทั่วประเทศเขาให้ทำ 1 หลัง แต่ของเราได้ 50 กว่าหลังนะ หรือโครงการฝายมีชีวิต วัดป่าอำนวยผล ก็สามารถกักเก็บน้ำไว้ได้ บริเวณโดยรอบก็ชุ่มน้ำ ชะลอการไหลของน้ำ อย่างน้อยก็ซึมลงชั้นดิน อย่างบ้านเขาวง เราใช้ประปาผิวดิน มีสระน้ำขนาดใหญ่ ขุดลงไปลึก 6-7 เมตร ทำรางรับน้ำรอบเขา พอปลายฤดูฝน ภูเขาอิ่มน้ำก็จะไหลลงมาราง แล้วก็ลงสระ ถ้าเต็มสระคือใช้ได้เป็นปี ร้อยสองร้อยครัวเรือนใช้ได้สบาย”
วิชิต อกอุ่น
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำแดง
“การจะพัฒนาเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องสาธารณูปโภคแต่ต้องพุ่งเป้าไปที่พัฒนาคนและไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า การศึกษา” “แม้เทศบาลนครเชียงรายจะเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโกแห่งแรกของไทยในปี 2562 แต่การเตรียมเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ว่านี้ เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นหลายสิบปี ในอดีต เชียงรายเป็นเมืองที่ห่างไกลความเจริญ ทางเทศบาลฯ เล็งเห็นว่าการจะพัฒนาเมือง ไม่สามารถทำได้แค่การทำให้เมืองมีสาธารณูปโภคครบ แต่ต้องพัฒนาผู้คนที่เป็นหัวใจสำคัญของเมือง และไม่มีเครื่องมือไหนจะพัฒนาคนได้ดีไปกว่า ‘การศึกษา’…
“ถ้าอาหารปลอดภัยเป็นทางเลือกหลักของผู้บริโภคเชียงรายจะเป็นเมืองที่น่าอยู่กว่านี้อีกเยอะ” “นอกจากบทบาทของการพัฒนาชุมชนและสังคมสงเคราะห์ กองสวัสดิการสังคม เทศบาลนครเชียงราย ยังมีกลไกในการส่งเสริมเศรษฐกิจของพี่น้อง 65 ชุมชน ภายในเขตเทศบาลฯ โดยกลไกนี้ครอบคลุมการส่งเสริมสุขภาพ และช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมด้วยกลไกที่ว่าคือ ‘สหกรณ์นครเชียงราย’ โดยสหกรณ์ฯ นี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2560 หลักเราคือการสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน…
“แม่อยากปลูกผักปลอดภัยให้ตัวเองและคนในเมืองกินไม่ใช่ปลูกผักเพื่อส่งขาย แต่คนปลูกไม่กล้ากินเอง” “บ้านป่างิ้ว ตั้งอยู่ละแวกสวนสาธารณะหาดนครเชียงราย เราและชุมชนฮ่องลี่ที่อยู่ข้างเคียงเป็นชุมชนเกษตรที่ปลูกพริก ปลูกผักไปขายตามตลาดมาแต่ไหนแต่ไร กระทั่งราวปี 2548 สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองเชียงราย มาส่งเสริมให้ทำเกษตรปลอดภัย คนในชุมชนก็เห็นด้วย เพราะอยากทำให้สิ่งที่เราปลูกมันกินได้จริง ๆ ไม่ใช่ว่าเกษตรกรปลูกแล้วส่งขาย แต่ไม่กล้าเก็บไว้กินเองเพราะกลัวยาฆ่าแมลงที่ตัวเองใส่…
“วิวเมืองเชียงรายจากสกายวอล์กสวยมาก ๆขณะที่ผืนป่าชุมชนของที่นี่ก็มีความอุดมสมบูรณ์จนไม่น่าเชื่อว่านี่คือป่าที่อยู่ในตัวเมืองเชียงราย” “ก่อนหน้านี้เราเป็นพนักงานบริษัทเอกชนที่ต่างจังหวัด จนเทศบาลนครเชียงรายเขาเปิดสกายวอล์กที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนดอยสะเก็น และหาพนักงานนำชม เราก็เลยกลับมาสมัคร เพราะจะได้กลับมาอยู่บ้านด้วย ตรงนี้มีหอคอยชมวิวอยู่แล้ว แต่เทศบาลฯ อยากทำให้ที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ก็เลยต่อขยายเป็นสกายวอล์กอย่างที่เห็น ซึ่งสุดปลายของมันยังอยู่ใกล้กับต้นยวนผึ้งเก่าแก่ที่มีผึ้งหลวงมาทำรังหลายร้อยรัง รวมถึงยังมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนภูเขา ในป่าชุมชนผืนนี้ จริง…
“ไม่ว่าเชียงรายจะพัฒนาสู่เมืองในนิยามใดเป้าหมายเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าผู้คนไม่รู้จักเรียนรู้ต้นทุนของเมือง และไม่รู้จักปรับตัวรับกับการเปลี่ยนแปลง” “เวลาพูดถึงเครื่องมือการพัฒนาเมือง ความยากของเชียงรายคือ เราต้องรับมือกับความท้าทายหลายมิติ และไม่อาจละทิ้งประเด็นใดได้เลย เชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ (Brown City) ที่กำลังเผชิญปัญหาเศรษฐกิจซบเซาเหมือนหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องรับมือกับสังคมสูงวัย (Silver City) รวมถึงภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อม…
“เราหวังให้ที่นี่เป็นมากกว่าห้องสมุดแต่เป็นพื้นที่กลางให้ผู้คนทุกช่วงวัยได้มีความสุขร่วมกัน” “ห้องสมุดเสมสิกขาลัย เกิดจากดำริของ ศ. นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว นายแพทย์คนสำคัญผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่บนที่ดินของท่านซึ่งมอบให้เทศบาลนครเชียงรายนำไปใช้เป็นสาธารณประโยชน์ห้องสมุดเปิดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2556 ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของท่าน (เกิดปี 2454…