“โดยตำแหน่ง ผมจะรับผิดชอบด้านการศึกษาของเทศบาลนครระยอง ก็ดูแลโรงเรียนทั้งหมด 6 โรงเรียนในเขตเทศบาล โดยในจำนวนนั้นมีโรงเรียนระดับมัธยมอยู่ 1 โรงเรียน นั่นคือนครระยองวิทยาคม
จริงอยู่ที่ระยองได้รับการจัดอันดับให้เป็นจังหวัดที่มี GDP สูงที่สุดในประเทศ แต่ตามข้อเท็จจริง GDP เราไม่ได้กระจายถึงทุกคนอย่างทั่วถึง เทศบาลเรามีประชากรราว 50,000-60,000 คน แต่มีประชากรแฝง หรือคนที่ย้ายเข้ามาทำงานในเมืองหลักแสนคนได้ น่าเสียดายที่คนระยองแท้ๆ ที่ไม่ได้ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ก็หาได้มีรายได้สูงเท่ากับที่ GDP มันบ่งชี้เท่าไหร่เลย ดังนั้น การปูพื้นเรื่องการศึกษาที่จะนำไปสู่การเข้าถึงอาชีพที่มีความมั่นคงจึงเป็นเรื่องสำคัญ
แม้โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเราหลายแห่งอยู่ในรูปแบบโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เราไม่ใช่ตัวเลือกแรกของผู้ปกครองที่มีฐานะดีในระยอง อย่างไรก็ตาม ผมกลับพบว่านี่เป็นข้อดีที่จะทำให้สถานศึกษาของเราช่วยทำให้เด็กๆ เข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะเด็กๆ จากครอบครัวยากจน ขณะเดียวกันก็ช่วยส่งเสริมให้เด็กๆ เข้าถึงทักษะการเรียนรู้ในด้านอื่นๆ เช่น ดนตรี กีฬา การแสดง ศิลปะ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือพื้นฐานทางวิชาชีพอื่นๆ
เพราะโอกาสด้านอาชีพของระยองเรายังหลากหลายอยู่มากนะครับ คุณอาจไม่จำเป็นต้องเรียนวิศวกรรมศาสตร์ หรือสายวิทยาศาสตร์เพื่อจบออกมาทำงานบริษัทใหญ่ๆ อย่างเดียว ระยองยังต้องการบุคลากรจากวิชาชีพอันหลากหลาย เพื่อมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองนี้อีกมาก ยิ่งเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีทำให้หลายๆ อย่างง่ายขึ้น การมีทักษะวิชาชีพเฉพาะก็ดี ทักษะในการใช้ชีวิตที่หลากหลายก็ดี เมื่อเจ้าของทักษะรู้ว่าจะประยุกต์เข้ากับเทคโนโลยีที่มีได้อย่างไร ความมั่นคงในชีวิตก็จะตามมา
ควบคู่ไปกับการศึกษาในโรงเรียน เทศบาลก็ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียน อย่างเห็นได้ชัดเลยคือความพยายามจะพัฒนาให้ป่าชายเลนกลางใจเมืองของเราให้กลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งในแง่มุมของระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม รวมถึงการฝึกเด็กๆ ให้รองรับกับการท่องเที่ยว ดังที่เราจัดทำโครงการมัคคุเทศก์อาสา ให้นักเรียนไปฝึกนำชมสถานที่แก่นักท่องเที่ยว เป็นต้น
ขณะเดียวกัน ห้องสมุดประชาชนเทศบาลนครระยองที่ตั้งอยู่ในสวนศรีเมือง ก็เป็นอีกพื้นที่การเรียนรู้ที่ขณะนี้ทางเทศบาลกำลังปรับปรุงให้รองรับกับกิจกรรมที่หลากหลายขึ้น โดยตั้งใจให้ที่นี่เป็น co-working space ควบคู่ไปกับพื้นที่กลางสำหรับจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ของคนในเมือง
ผมมองว่าห้องสมุดเรามีทำเลที่ได้เปรียบห้องสมุดประจำเมืองอื่นๆ นะ เพราะมันตั้งอยู่ในสวนสาธารณะใจกลางเมืองเลย เรายังเคยปรับพื้นที่บางส่วนให้เป็นฟิตเนสด้วย ในอนาคตเรามีแผนจะปรับอาคารนี้ให้รองรับการใช้งานสำหรับทุกเพศทุกวัยได้มากขึ้น มีการจัดกิจกรรมประจำสัปดาห์ หรือเปิดให้ภาคเอกชนเข้ามาใช้จัดกิจกรรม เป็นทางเลือกใหม่ให้คนระยองได้ใช้เวลาว่างกับครอบครัวในวันหยุด
พร้อมกันนั้น เรายังมีแผนเพิ่มพื้นที่สีเขียวตามจุดต่างๆ ทั่วเมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนพื้นที่บ่อบำบัดน้ำเสียตรงโรงฆ่าสัตว์ให้กลุ่มเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ เชื่อมไปกับพื้นที่รกร้างที่กระจายตัวทั่วเมืองที่จะถูกเปลี่ยนให้เป็นสวนหย่อม เชื่อมแผนการพัฒนาเมืองโลว์คาร์บอนไปพร้อมกัน
สำหรับผม เมืองระยองของเรามีบริบทของความเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ที่ครอบคลุมแทบทุกด้านอยู่แล้ว ทั้งสิ่งแวดล้อม ประมง ภูเขา ทะเล การเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ไปจนถึงประวัติศาสตร์จากย่านเมืองเก่า แต่สิ่งสำคัญก็คือทุกภาคส่วนจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมโยงและการสื่อความหมายให้ทุกคนตระหนักว่าเราจะหยิบองค์ความรู้ที่อยู่ในชีวิตประจำวันอยู่นี้มาใช้อย่างไร ขณะเดียวกัน เทศบาลนครระยองก็พยายามจะสร้างสิ่งแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงสิ่งเหล่านี้อย่างสะดวกสบายมากที่สุด”
นิพนธ์ เตชโชควารี
รองนายกเทศมนตรีนครระยอง
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…