“ในการประกวดก็มีตัวแทนจากทางจังหวัด เทศบาล และผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองมาดูผลงานของพวกเรา ซึ่งหลายทีมต่างมีไอเดียน่าสนใจทั้งนั้น ก็หวังให้ผู้ใหญ่เอาไอเดียพวกเราไปพัฒนาต่อ คงจะดีมากๆ เลย”

“น้าของตาลเคยทำงานที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี ตาลจึงมีความผูกพันและสนใจเรื่องโบราณคดีและประวัติศาสตร์ตั้งแต่เด็ก จนขึ้นมัธยมปลาย และเห็นว่าโรงเรียนเรา (เบญจมราชูทิศ ราชบุรี) มีชมรมโบราณคดีที่เป็นชมรมใหญ่ด้วย ก็เลยสมัครเข้ามา

ความที่ตาลสนใจเรื่องเก่าๆ ก็เลยชอบเล่าเรื่อง กิจกรรมของชมรมที่ชอบเป็นพิเศษ จึงเป็นการนำชมพิพิธภัณฑ์ (เบญจมราชูทิศพิพิธภัณฑ์) เพราะมันไม่ใช่แค่การท่องจำเพื่อเล่าให้คนอื่นฟังว่าโบราณวัตถุชิ้นนี้คืออะไรหรือมีความหมายอย่างไร แต่ยังเป็นการหาวิธีสื่อสารให้กับผู้ฟังหลากหลายที่มา

อย่างเพื่อนนักเรียนจากสถาบันอื่น คณะครูที่เข้ามาดูงานเพื่อไปพัฒนาพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนของเขา บุคคลทั่วไป รวมถึงชาวต่างชาติ แต่ละกลุ่มล้วนมีพื้นฐานไม่เหมือนกัน บางคนรู้ว่าอาณาจักรทวารวดีคืออะไร แต่หลายคนก็ไม่รู้ หรือเครื่องใช้บางชนิดที่ไม่มีในวัฒนธรรมตะวันตกเลย ก็ต้องหาวิธีบอกเล่าให้ชาวต่างชาติเข้าใจได้ง่ายๆ เป็นต้น

ปีที่แล้ว ตาลกับเพื่อนร่วมทีมไปประกวดการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเมืองราชบุรีในโครงการเมืองแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยศิลปากร เราตั้งชื่อทีมว่า ‘หมื่นห้า มหาเฮง’ เพราะทีมที่ชนะการประกวดจะได้เงินรางวัล 15,000 บาท จึงตั้งชื่อเพื่อเอาเคล็ด โดยทางโครงการเขาจะให้งบประมาณเรามาจำนวนหนึ่งก่อน และใช้งบอันนั้นทำโมเดลหรือพรีเซนเทชั่นแบบไหนก็ได้ เพื่อเสนอความคิดในการออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวของเมือง

เราคิดงานจากปัญหาที่พบในราชบุรี เพราะแม้เมืองเราจะมีของดี แต่กลับขาดการประชาสัมพันธ์ เลยคิดถึงการทำนิทรรศการที่รวมเอาของดีของเมืองมาจัดแสดงพร้อมกัน และใช้งานออกแบบสมัยใหม่มาทำแลนด์มาร์ค ตามพื้นที่ต่างๆ ของเมือง เช่น พื้นที่ตลาดเก่าริมน้ำแม่กลอง พร้อมกันนั้นก็นำกิจกรรมอย่างการเพ้นท์โอ่งมังกรมาให้ผู้ร่วมชมนิทรรศการได้ลองทำด้วย รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ ที่เมืองเรามีอยู่แล้ว แต่นักท่องเที่ยวกลับไม่ค่อยรู้ ก็มัดรวมกันไว้ที่นี่ที่เดียว เพราะคิดว่าถ้านักท่องเที่ยวได้มาดูนิทรรศการแล้ว เขาจะรู้เลยว่าทั้งหมดของเมืองเรามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง เขาก็จะเดินทางต่อไปยังสถานที่จริง เป็นต้น

ในการประกวดครั้งนั้น ทีมของตาลได้รางวัลชนะเลิศด้วย เลยคิดว่าการตั้งชื่อเอาฤกษ์ก็อาจมีส่วน (หัวเราะ) ขณะเดียวกัน ในการประกวดก็มีตัวแทนจากทางจังหวัด เทศบาล และผู้หลักผู้ใหญ่ของเมืองมาดูผลงานของพวกเรา ซึ่งหลายทีมต่างมีไอเดียน่าสนใจทั้งนั้น ก็หวังให้ผู้ใหญ่เอาไอเดียพวกเราไปพัฒนาต่อ คงจะดีมากๆ เลย

ส่วนคำถามเรื่องเมือง นอกจากที่ตาลบอกว่าขาดการประชาสัมพันธ์ของดีของจังหวัด อีกเรื่องที่ตาลเห็นคือหลายๆ อย่างของเมืองไม่ได้ถูกพัฒนาให้สอดคล้องกับยุคสมัยค่ะ เพราะแม้เรามีของดีที่เป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมไม่น้อย แต่มันก็กลับไม่เชื่อมโยงกับคนรุ่นใหม่



ยกตัวอย่างเช่นผ้าทอคูบัว ทุกคนเห็นตรงกันว่าสวย แต่ถามว่าอยากใช้มันไหม คนรุ่นตาลก็ไม่รู้จะใช้ยังไง จึงคิดว่าถ้ามีนักออกแบบที่เอาลักษณะเฉพาะของผ้าทอคูบัวไปออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่คนรุ่นใหม่สามารถใช้ได้ ก็คงจะดีมากๆ คือของเก่าที่ควรอนุรักษ์เราก็ควรอนุรักษ์ไป แต่เราก็นำคุณค่าในของเก่ามาสร้างมูลค่าเป็นของใหม่ๆ ก็ได้เหมือนกัน และเราทำทั้งสองอย่างนี้พร้อมกันได้ค่ะ”  

ธิติพร เจริญสุข
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และสมาชิกชมรมโบราณคดี
โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี


กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago