ในความเป็นนครคุณภาพชีวิตต้องดีขึ้น สถานการณ์ในปัจจุบันก็เห็นอยู่แล้วว่าต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นเรื่อย ๆ

“ผมเติบโตในปทุมธานี เห็นนครรังสิตมาตั้งแต่เด็ก สิ่งแรกที่จำได้คือเห็นห้างฟิวเจอร์พาร์ค ห้างสรรพสินค้ามาตลอด แต่สิ่งที่รังสิตเติบโตขึ้นในความเป็นนคร น่าจะพัฒนาได้มากกว่านี้ ควรมีอะไรเป็นสื่อให้เห็นว่ารังสิตคืออะไร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเรือรังสิต โด่งดังเป็นเอกลักษณ์ของรังสิต กับประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ ซึ่งปีนี้ครบรอบปีที่ 126 (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ทำพิธีเปิดลำคลองรังสิตประยูรศักดิ์เป็นทางการเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เรียกนามประตูน้ำ ในพระบรมนามาภิธัยว่า “ประตูจุฬาลงกรณ์”) ผมอยากให้ใครพูดถึงรังสิตก็นึกถึงประตูน้ำจุฬาฯ เป็นเอกลักษณ์สำคัญที่อยู่คู่นครรังสิตมาตลอด เสด็จพ่อ ร. 5 ทรงมีวิสัยทัศน์มองแผนอนาคตไว้ ไม่ได้แค่รังสิต ทรงให้เอกชนมาขุดคลองซอยต่างๆ เพื่อการกระจายน้ำตลอดแนว ช่วยพี่น้องชาวเกษตรได้เยอะ วันนี้ทุกคนได้เห็น ได้ใช้จริงๆ มายาวนาน เราควรจะอนุรักษ์ และจัดการต่อไปให้ดี

นโยบายหลักคือ เปลี่ยนแปลงนครรังสิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า ผมมองว่าในความเป็นนครคุณภาพ ชีวิตต้องดีขึ้น สถานการณ์ในปัจจุบันก็เห็นอยู่แล้วว่าต้องมีการพัฒนาต่อเนื่องขึ้นเรื่อยๆ อยู่กับที่ไม่ได้ ตอนแรกผมเข้ามาคือสถานการณ์โควิดเกิดขึ้น ทำให้เศรษฐกิจหยุดลง คุณภาพชีวิต ทุกอย่างถดถอย เราก็ต้องมาช่วยกันทำให้เศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตกลับมา ต้องเน้นเชิงรุก เสริมตั้งรับ เพื่อดูแลพี่น้องประชาชนให้เร็ว อย่างแรก เราลงพื้นที่ในการตรวจหาผู้ติดเชื้อและควบคุมให้ได้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีน่าจะเป็นจังหวัดแรกที่ใช้ Rapid Test ในระบบ สามารถควบคุมคนป่วยได้เร็ว และก็เป็นจังหวัดแรกที่แจ้งความประสงค์ซื้อวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม พี่น้องประชาชนได้มีทางเลือก ช่วยให้จังหวัดปทุมธานีมีวัคซีนทั่วถึงได้รวดเร็วเป็นอันดับต้นๆ อีกด้านก็มียาเสริมภูมิที่ผมแจกตั้งแต่แรกๆ เป็นยาสมุนไพรไทยตำรับยาวัดคิรีวงก์ที่เราได้ความเมตตาจากอาจารย์พระมหาขวัญชัยที่วัดน้ำตกให้มา ก็ช่วยควบคุมได้อีกระดับ


ศูนย์อนามัยเทศบาลนครรังสิตมีพร้อมให้บริการ 6 จุด แต่พอกระจายทั่วรังสิต บางจุดบางวันแทบไม่มีคนมาใช้บริการ เราก็มามองว่าเพราะอะไร ? การกระจายไปทำ บางทฤษฎีมันไม่เกิดประโยชน์ การมารวมกันทำให้ดีที่เดียว ทุกคนได้รับความสะดวกสบายอาจจะดีกว่า ก็อาจจะยุบบางศูนย์ฯ ศูนย์ฯ ไหนที่คนใช้บริการเยอะก็ยังอยู่ ศูนย์ฯ ที่คนใช้บริการน้อยก็ยุบไปรวมกัน ทำให้ดี เป็นมาตรฐาน ช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาลเบื้องต้น ถ้าเราเป็นหวัด เราต้องไปโรงพยาบาล ต่อคิวเป็นชั่วโมง เพื่อจะรอแค่ไข้หวัด แต่ถ้ามาศูนย์การแพทย์ปฐมภูมิ คุณมารับยาไป สวัสดิการเหมือนกัน รวดเร็ว สะดวกขึ้น ครอบคลุมเรื่องสุขภาพของพี่น้องประชาชนได้ดีขึ้น

นครรังสิตเป็นพื้นที่ปลายน้ำ น้ำเสียจากหลาย ๆ คลองมาลงที่นี่ การบริหารจัดการของกรมชลประทานก็ต้องหาแนวทางบูรณาการร่วมกัน ท่านนายก อบจ. เองก็ตั้งใจอยากทำจังหวัดให้คลองสวยน้ำใส นครรังสิตก็รับนโยบาย แต่ไม่ได้รอว่าเมื่อไหร่จะทำมา เราต้องทำของเราเพื่อจะสวนไปเจอท่าน ไม่งั้นจะช้า ผมมองว่าทุกสิ่งทุกอย่างเราต้องช่วยกันทำ อย่าไปหวังรอจากส่วนกลางหรือใครก็ตาม เราทำส่วนเราก็ได้แบ่งเบาภาระของจังหวัด อย่างตอนนี้นครรังสิตเองปัญหาผักตบชวาไม่ค่อยหนักใจละ พอเราเก็บเคลียร์หมด ทุกวันนี้ปลาก็เริ่มกลับมา แต่อาจจะมีกลิ่นเหม็นบ้างอะไรบ้าง แต่ก่อนค่าของน้ำแรงกว่านี้ ตอนนี้ดีขึ้น พยายามปลูกฝังพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ตามริมคลองให้ช่วยกันรักษาความสะอาด คุณแค่ดูแลพื้นที่บ้านของตัวเอง ทุกบ้านดูแลกันเอง แล้วที่เหลือเศษเล็ก ๆ น้อย ๆ เราตามเก็บให้ ทุกวันนี้เจ้าหน้าที่ของเราลงพื้นที่เก็บขยะเดือนละสองครั้ง ไล่เก็บตลอด ไม่รอให้ขยะล้นแล้วค่อยเก็บ ไม่งั้นมันเหนื่อย อันนี้ขับเรือไปเรื่อยเล็มไปเรื่อยก็ง่ายขึ้น แต่ก่อนมานี่ เห็นแล้วตกใจ บางทีโซฟาลอยมา ที่นอนหกฟุตมายังไงเนี่ย ! แล้วถ้ามันไปขวางทางน้ำของกรมชลฯ ไปกั้นที่ศูนย์น้ำ ก็ทำให้น้ำท่วม กว่าจะปิดเครื่องสูบของกรมชลฯ เพื่อไปเอาขยะตรงนี้ออกมา ก็เสียเวลา ถ้าน้ำมากะทันหัน จะเกิดผลเสีย ทำให้รังสิตน้ำท่วมได้ แถวนี้มีพื้นที่บึงใหญ่ ภายในหมู่บ้านรัตนโกสินทร์ 200 ตอนนี้ไม่มีปัญหาผักตบชวาละ เราทำเหมือนแก้มลิง ช่วงน้ำไม่มาเราเลี้ยงน้ำอยู่ คำนวณปริมาณน้ำ ช่วงหน้าฝนก็สูบออกไปก่อนเพื่อรอรองรับน้ำฝนที่ตกลงมาแล้วค่อยสูบต่ออีกที ตรงนั้นเราก็ทำเป็นสวนสาธารณะ มีเลนวิ่งออกกำลังกาย และเป็นเส้นทางถนนลัดเชื่อมต่อไปสายอีสาน

ความมีส่วนร่วมของประชาชนก็อย่างโครงการประตูน้ำจุฬาลงกรณ์ จะทำอนุสาวรีย์เสด็จพ่อ ร. 5 และเป็นสวนสาธารณะ เป็นแลนด์มาร์ก ซึ่งเราได้ความร่วมมือจากองค์กรภาคีเครือข่ายภาคเอกชน วัดเขียนเขต วัดธรรมกาย ผู้ประกอบการในตลาด ร่วมกันสนับสนุนทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายขับเคลื่อนดำเนินงานจัดประกวดแนวคิดการออกแบบ The Landmark Rangsit “ปทุมธานีเมืองแห่งสายน้ำจากพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 5” มีนิสิตนักศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ของ 4 มหาวิทยาลัยในจังหวัดปทุมธานี คือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และมหาวิทยาลัยรังสิต เข้ามามีส่วนร่วมการประกวด มีการประกาศผล มอบรางวัล และนิทรรศการแสดงผลงานโดยไม่ได้ใช้งบของเทศบาลฯ เลย แบบที่ชนะเลิศสวยมาก มีหอคอยชมวิวซึ่งจะเป็นที่ฟอกอากาศด้วย ติดตั้งเครื่องฟอกให้ระบบอากาศถ่ายเทในพื้นที่รอบนครรังสิต คนในชุมชนก็จะได้ลานกิจกรรม จุดนี้กับที่บึงใหญ่สองร้อยก็จะเป็นปอดให้พี่น้องชาวนครรังสิต”

ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง

นายกเทศมนตรีนครรังสิต

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

THE INSIDER : ณัฐธิยาภรณ์ อ้วนวงศ์ นักวิจัยโครงการเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ร้อยเอ็ด และนักวิเคราะห์นโยบายและแผน กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด

“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…

5 days ago

WeCitizens : The Concept

ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…

6 days ago

WeCitizens เมืองร้อยเอ็ด : ก้าวสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด

WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…

1 month ago

City View : ๑๐๑ เมืองรองที่ไม่เป็นรองใคร

ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…

2 months ago

๑๐๑ สานพลังผู้คนเพื่อกำหนดทิศทางเมือง

สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…

2 months ago

THE MAYOR : บรรจง โฆษิตจิรนันท์ : นายเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และนายกสมาคมเทศบาลนครและเมือง

"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…

2 months ago