“ในสมัยล้านนา นอกจากพะเยาจะมีภูมิศาสตร์เป็นเสมือนห้องครัวที่คอยปลูกข้าวหล่อเลี้ยงผู้คนในอาณาจักร เรายังเป็นเหมือนห้องสมุดแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ว่าได้ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีกระดาษ แหล่งความรู้ทั้งหมดจะถูกบันทึกลงศิลาจารึก และพื้นที่ในจังหวัดพะเยานี่แหละที่เป็นแหล่งตัดหินสำหรับทำศิลาจารึก ดังนั้นมันจึงมีการพัฒนาตัวอักษรฝักขามสำหรับจารลงศิลาที่นี่ด้วย และอักษรรูปแบบนี้ยังถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดความรู้ หรือการสื่อสารที่เป็นทางการในเมืองต่างๆ ทั่วอาณาจักรเมื่อครั้งอดีต
หรือยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พื้นที่ในเขตผายาว ก็มีร่องรอยของการตัดหิน และขวานหินโบราณ และต่อเนื่องมาถึงสมัยประวัติศาสตร์ที่มีการแกะสลักพระพุทธรูปในพื้นที่ รวมถึงแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาเตาเวียงบัว แหล่งอารยธรรมเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าพะเยามีต้นทุนทางการเรียนรู้มาตั้งแต่อดีต และกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัด
ในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้ ผมรับผิดชอบโครงการย่อยที่ 3 เรื่องการสร้างสรรค์เส้นทางและพื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ในเมืองพะเยาด้วยการออกแบบทางสถาปัตยกรรมให้สอดรับกับกิจกรรมการเรียนรู้ตามโมเดล BCG พื้นที่ที่ผมทำงานจึงค่อนข้างครอบคลุมทั้งจังหวัด เพื่อสร้างเส้นทางเชื่อมต่อพื้นที่แห่งการเรียนรู้เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนให้เมืองพะเยาให้เป็นมากกว่าเมืองผ่าน แต่เป็นเมืองที่คนเข้ามาเยือนเพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญาจากพื้นที่ต่างๆ
พร้อมไปกับการทำ Local study ด้านประวัติศาสตร์และต้นทุนทรัพยากรของเมือง ในปีแรกของโครงการ เรายังได้ใช้ศาสตร์เรื่องการทำบ้านดิน มาเป็นตัวเชื่อมการทำงานให้คนในพื้นที่ เพราะมองว่าบ้านดินนี่ตอบโจทย์เรื่องต้นทุนการผลิต ถ้าคุณมีความรู้ในการทำ ถึงงบประมาณจำกัด ก็ยังสามารถสร้างที่อยู่อาศัยจากดินได้ เราร่วมงานกับบ้านดินคำปู้จู้ ถ่ายทอดความรู้เรื่องบ้านดินกับผู้คนในเครือข่าย เป็นกิจกรรมเพื่อละลายพฤติกรรม และสร้างการรับรู้ในเขตเทศบาล รวมถึงร่วมกันสร้างสรรค์แลนด์มาร์คสำหรับระบุพื้นที่แห่งการเรียนรู้ด้วยโครงสร้างบ้านดิน
ส่วนปีที่สอง เน้นเรื่องขับเคลื่อนกลไก BCG ในพื้นที่แห่งการเรียนรู้ 18 แห่ง โดยทางโครงการย่อยของเราก็เข้าไปมีส่วนใช้งานออกแบบอัตลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ของสินค้าในพื้นที่ ให้สอดรับกับแนวคิด BCG และมีความดึงดูดในด้านการตลาด ก่อนมีแผนจะต่อยอดสู่การจัดจำหน่ายทางออนไลน์ต่อไป
จนเข้าสู่ปีนี้เป็นปีที่สามที่จะทำต่อไปนี้ เราพยายามนำเสนอมิติความทรงจำในแต่ละพื้นที่ นำเสนอภาพประวัติศาสตร์ที่ซ้อนไปกับภาพปัจจุบันตามเส้นทางการเรียนรู้ เพื่อให้เห็นว่าเรามีต้นทุนทางการเรียนรู้มาตั้งแต่อดีต เราพยายามเล่นกับการนำเสนอเชิงปรากฏการณ์ แล้วการกระจายตัวออกไปยังแหล่งการเรียนรู้ข้างนอก เข้าไปประสานกับแหล่งศูนย์การเรียนรู้ที่เป็นศูนย์ฝึกอาชีพต่างๆ ภายใต้การบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อทำให้ศูนย์ฝึกอาชีพมีบทบาทในการสร้างองค์ความรู้ในมิติอื่นๆ ไปพร้อมกัน
นอกจากนี้ ด้วยความที่พะเยาเป็นเมืองผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โครงการเมืองแห่งการเรียนรู้เราจึงตระหนักถึงการสร้างพื้นที่กิจกรรมเพื่อรองรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะการฝึกทักษะทางอาชีพในการผลิตงานหัตถกรรม อาหาร และสินค้าต่างๆ โดยส่งผู้มีความรู้ลงชุมชนไปฝึกอาชีพผู้สูงอายุถึงที่เลย และชวนให้พวกท่านผลิตสินค้ามาวางจำหน่าย เพราะนอกจากการสร้างรายได้แล้ว กิจกรรมเหล่านี้ยังทำให้พวกท่านได้ใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์ ได้ตระหนักในคุณค่าของตัวเอง และสร้างความภูมิใจ ทำให้พวกเขาเห็นว่าตัวเองก็สามารถมีส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของเราได้
ด้วยเหตุนี้ เมืองพะเยาของเราจึงมีพื้นที่การเรียนรู้ที่หมายถึงพื้นที่เรียนรู้จริงๆ ทั้งของเอกชน และของ อบจ. กับพื้นที่การเรียนรู้ที่สอดรับไปกับความเป็นไปของเมืองจริงๆ ที่ซ้อนอยู่ในวิถีชุมชน ผ่านกิจกรรมเรียนรู้ของผู้สูงอายุ”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัมเรศ เทพมา
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
และนักวิจัยในโครงการพะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…