“ในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าโรงเรียนไม่ขับเคลื่อน ครอบครัวไม่ผลักดัน มันก็เป็นไปไม่ได้”

“สิบสี่ปีที่แล้ว เราทำงานอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเด็กๆ ในพื้นที่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์กัน พิพิธภัณฑ์เราก็ทำกิจกรรมยุวมัคคุเทศก์อาสาเหมือนกัน โดยชวนนักเรียนจากสถานศึกษาต่างๆ ในจังหวัดมาเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองและวัตถุจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ เพื่อให้พวกเขาสามารถนำชมพิพิธภัณฑ์ได้

ความน่าสนใจก็คือ เมื่อเราไปชวนเด็กนักเรียน ส่วนมากเขาจะถามคำแรกก่อนว่ามีใบประกาศนียบัตรไหม เพราะเขาอยากเอาไปเป็นพอร์ตโฟลิโอ ขณะเดียวกัน เมื่อประสานไปยังโรงเรียนต่างๆ คุณครูก็มักจะเลือกเด็กนักเรียนที่เก่งที่สุดหรือมีทักษะทางการสื่อสารที่ดีที่สุดมาร่วมกิจกรรม

ผลปรากฏว่า หลังจากที่เราอบรมความรู้ต่างๆ แก่เด็กๆ และมอบใบประกาศนียบัตรเสร็จเรียบร้อย เด็กๆ ส่วนใหญ่ก็ไม่มาเป็นยุวมัคคุเทศก์อาสาของพิพิธภัณฑ์เราเลย โดยบอกว่าต้องเรียนพิเศษในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ กิจกรรมดังกล่าวจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

เหตุการณ์นี้ทำให้เราคิดว่า การศึกษาและการเรียนรู้ในบ้านเราไม่ใช่เรื่องเดียวกัน เด็กนักเรียนส่วนใหญ่มองว่ากิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษา มันจะช่วยทำให้เขาได้คะแนนที่เพิ่มขึ้น หรือเป็นประโยชน์กับการศึกษาต่อ ไม่จำเป็นต้องสนใจที่จะเรียนรู้เนื้อหาก็ได้ แต่ขอให้ได้ร่วมกิจกรรมเพื่อเป็นแต้มต่อทางการศึกษา

ซึ่งคิดแบบนี้ก็ไม่ผิด แต่ก็น่าเสียดายที่เด็กๆ มีโอกาสเข้าถึงการเรียนรู้ แต่น้อยคนที่จะได้เรียนรู้ในเนื้อหานั้นจริงๆ เพื่อนำไปต่อยอดต่อการใช้ชีวิต ขณะเดียวกัน กิจกรรมนอกห้องเรียนที่เกิดขึ้น มันจึงอยู่ในรูปแบบของการบังคับให้เข้าร่วมเพื่อผ่านเกณฑ์ หาใช่สิ่งที่เด็กๆ อยากเข้าร่วมอย่างสมัครใจ หรือเป็นสิ่งที่ออกมาจากข้างใน  

ราวสองสัปดาห์ก่อน เราได้คุยกับเพื่อนรุ่นพี่โบราณคดี ศิลปากร โดยตอนนี้เป็นรองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลอัมพวา เขากำลังปลุกปั้นยุวมัคคุเทศก์ แต่คราวนี้เขาใช้วิธีการแบบโฮมสคูล ซึ่งมันตอบโจทย์กับพื้นที่อัมพวา เนื่องจากที่นั่นกำลังประสบปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กถูกยุบรวมกัน และทำให้เด็กๆ นักเรียนในครอบครัวที่ขาดทุนทรัพย์ไม่สามารถไปโรงเรียนได้ เนื่องจากมีข้อจำกัดในการเดินทาง อบต. ที่นั่นจึงใช้ครูอัตราจ้างลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ โดยใช้ระบบโฮมสคูล

เพื่อนรุ่นพี่ท่านนั้นบอกว่าพอมาใช้ระบบนี้ การศึกษาแบบเก็บพอร์ทสะสมแต้มก็เริ่มลดลง เพราะมันลดการแข่งขันระหว่างเด็กนักเรียน ขณะเดียวกัน พอเป็นโฮมสคูล โฟกัสของการศึกษาจึงอยู่ที่การออกแบบการเรียนรู้ให้สอดรับกับความสนใจของผู้เรียน ครูกับนักเรียนคุยกันว่าแต่ละคนสนใจทำอะไร และช่วยกันออกแบบโปรเจกต์ที่จะทำร่วมกันในอนาคต

ซึ่งพอเป็นเช่นนี้ เด็กนักเรียนที่สนใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หรือการท่องเที่ยว เขาก็จะโฟกัสกับเรื่องนี้ และพร้อมจะเรียนรู้ที่จะเป็นยุวมัคคุเทศก์จริงๆ  

เพราะฉะนั้นระบบสังคม และรูปแบบการศึกษาใดๆ มันมีผลต่อการเรียนรู้ของเด็กมาก ทุกวันนี้ราชบุรีเรามีแหล่งเรียนรู้เยอะ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง สวนพฤกษศาสตร์ หอศิลป์ และอื่นๆ เพียงแต่การเข้าไปใช้พื้นที่ของเด็กๆ มันอยู่ในรูปแบบของทัศนศึกษาที่เป็นกิจกรรมภาคบังคับของโรงเรียน ไม่ใช่การที่เด็กค้นพบความสนใจของตัวเอง และอยากไปเยี่ยมชมพื้นที่นั้นจริงๆ

เราจึงคิดว่าการสร้างบรรยากาศให้เด็กสนใจเรียนรู้ด้วยตัวเองของโรงเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญ ขณะเดียวกันครอบครัวก็ต้องสนับสนุน คุณครูก็ต้องเป็นผู้ชักนำที่ดี เช่นคุณพานักเรียนไปวัด ไม่ใช่แค่การทำให้เด็กๆ เข้าใจว่าวัดแห่งนี้สำคัญอย่างไร ทำไมต้องไป แต่เป็นการชี้ให้เด็กเห็นว่าศิลปะในวัดเป็นยังไง ประวัติศาสตร์ที่เชื่อมโยงกับเมืองเป็นอย่างไร กระทั่งต้นไม้ใบหญ้าในพื้นที่ เราสามารถเรียนรู้ได้ทั้งหมด

เราเชื่อว่าโรงเรียนและครอบครัวไม่ควรสร้างแค่สังคมของการศึกษา แต่จำเป็นต้องสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ควบคู่กันไป สิ่งนี้จะทำให้เด็กๆ ค้นพบศักยภาพในตัวเอง และสามารถเติบโตไปในทิศทางที่ตัวเองสนใจจริงๆ  ซึ่งในสังคมแห่งการเรียนรู้ที่เราพูดกันอยู่ทุกวันนี้ ถ้าโรงเรียนไม่ขับเคลื่อน ครอบครัวไม่ผลักดัน มันก็เป็นไปไม่ได้”

ปัทมา ก่อทอง
หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ราชบุรี

กองบรรณาธิการ

Recent Posts

อ่านเสียงแก่งคอย เสียงของเมืองที่ก้าวข้ามบาดแผลประวัติศาสตร์มาสู่เมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต

WeCitizens ชวนผู้อ่านเรียนรู้เมืองแก่งคอย เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ในวันนี้ แก่งคอยเปลี่ยนบาดแผลแห่งประวัติศาสตร์เป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอ่านความคิด วิถีชีวิตผู้คนแก่งคอยได้ที่ WeCitizens : เสียงแก่งคอย, สระบุรี - WeCitizens Flip PDF…

1 year ago

ฟังเสียงนครสวรรค์ เมืองศูนย์กลางแห่งภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน

WeCitizens ชวนผู้อ่านเดินทางไปจังหวัดนครสวรรค์ เมืองที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคเหนือและภาคกลาง เมืองที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทางทางน้ำในอดีต นครสวรรค์จึงเป็นเมืองสำคัญอีกเมืองหนึ่งในฐานะของเมืองที่เป็นศูนย์กลาง (Hub) ทั้งด้านการค้า การคมนาคม และนำมาซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนหลากหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเล E-book ฉบับเสียงนครสวรรค์ฉบับนี้ จะพาผู้อ่านทุกคนไปเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวนครสวรรค์ วัฒนธรรมชาวจีนและเทศกาลตรุษจีนที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศและนานาชาติ และไปฟังเสียงผู้คนชาวนครสวรรค์ที่มองบ้านเมืองของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน…

1 year ago

แก่งคอย…ย้อนรอยสงครามโลกเปลี่ยนบาดแผลประวัติศาสตร์สู่เมืองเรียนรู้ตลอดชีวิต

นอกจากจะถูกจดจำจากเพลงดังที่มีชื่อเดียวกับชื่ออำเภอของ ก้าน แก้วสุพรรณ และเพลงฮิตของคาราบาว ซึ่งสื่อถึงที่มาของชื่อ ‘แก่งคอย’ อย่าง ‘แร้งคอย’ หากไม่ใช่คนในพื้นที่ อาจนึกภาพไม่ออกว่าอำเภอของจังหวัดสระบุรีที่เป็นปากทางขึ้นอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และประตูสู่ภาคอีสาน มีความสำคัญอย่างไร? ไม่เพียงเป็นเมืองท่าที่สำคัญในการขนส่งสินค้าผ่านแม่น้ำป่าสักและทางรถไฟ อำเภอแก่งคอย ยังเป็นจุดเริ่มต้น (ต่อจากอำเภอเมืองสระบุรี)…

1 year ago

ขอนแก่นโมเดล
The Legacy of City Development

เพราะเมือง คือ ผู้คน และผู้คน คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการพัฒนาเมือง ความเจริญงอกงามทางวัฒนธรรมหรือการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมาตรฐานคุณภาพชีวิต จึงขึ้นอยู่กับศักยภาพ ความสามารถ และความร่วมมือร่วมใจของคนในเมืองเป็นฐานสำคัญ กว่าทศวรรษที่ ‘ขอนแก่นโมเดล’ เป็นโมเดลการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับ และพูดถึงในฐานะแนวคิดและปฏิบัติการการพัฒนาเมืองที่ก้าวหน้ามากที่สุด…

1 year ago

“ขอนแก่นเราไม่ใช่เป็นเมืองที่นั่งรอคนเข้ามาทำนู่นนี่ให้”

เมืองขอนแก่น ผู้คน กับการเรียนรู้เพื่อก้าวต่อไป           ไม่มีภูเขา ไม่มีแม่น้ำสายใหญ่ อยู่ไกลโพ้นจากชายทะเล แหล่งท่องเที่ยวมีชื่อ หรือทรัพยากรธรรมชาติสำคัญก็น้อยนิด แต่มีคนที่เอาจริงเอาจังกับการพัฒนาเมืองกลุ่มใหญ่ที่กล้าคิดกล้าฝัน พยายามทำทุกลู่ให้ความหวังเป็นจริงได้ นี่คือปัจจัยที่ทำให้ช่วงเวลาเพียงกึงศตวรรษนำพาเมืองขอนแก่น เติบโตได้อย่างก้าวกระโดด  ‘ผู้คน และความร่วมมือ…

1 year ago

“สำนึกรักท้องถิ่น ถือเป็นหัวใจสำคัญของจิตสำนึกของคนขอนแก่น”

“เมื่อพูดถึงเรื่องเมืองแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning City ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครขอนแก่น เราดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘พัฒนาเมืองสู่สากล สร้างสังคมแห่งความสุข’ การที่เมืองจะพัฒนาได้และสร้างสังคมที่เป็นสุข ต้องเริ่มที่ ‘คน’ คนที่เป็นกำลังสำคัญในการร่วมกันพัฒนาเมือง ยกตัวอย่างในกรณีที่เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น ถ้าเราจะพัฒนาขอนแก่นเป็นเมือง…

1 year ago