“ผมทำงานมาหลายอย่าง เป็นหนุ่มโรงงานที่นวนครหลังเรียนจบช่างกล ได้งานในแผนกเขียนแบบที่มีเจ้านายเป็นคนญี่ปุ่น ตอนหลังผมเลยไปเรียนภาษาญี่ปุ่นสองปีจบที่สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ซึ่งก็อยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนครนี่แหละ พอช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ (ปี 2540) ก็ไปทำงานเป็นล่าม แล้วก็กลับมาทำงานโรงงานอีก จนมาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มโอทอป ก็ทำมาเรื่อยจนเป็นกรรมการ และเป็นประธานบริหารจัดการเครือข่ายโอทอปอำเภอธัญบุรีในปัจจุบัน
การเข้ามาอยู่ในเครือข่ายทำให้คนเข้าถึงได้ กติกาง่าย ๆ คุณอยากพัฒนาสินค้าของตัวเอง ยกระดับสินค้าจากบ้าน ๆ เข้าสู่มาตรฐานติดดาว คุณอยู่อำเภอไหนก็ไปที่อำเภอนั้น เข้าไปหาพัฒนาการอำเภอ ขอขึ้นทะเบียนโอทอป เท่านั้นเอง เขาก็บอกมาว่า 1 2 3 ทำอะไร เราก็ทำตามขั้นตอนข้อแนะนำ เขามีเครื่องมือรองรับที่จะช่วยเราต่อยอดผลิตภัณฑ์ มีกลุ่มในเครือข่ายทำงานร่วมกัน อย่างของผม ทำผลิตภัณฑ์สมุนไพร ชบาพารวย จากการที่แฟนผมเป็นช่างเสริมสวย เธอเห็นปัญหาศีรษะของผู้ชาย มีรังแค ผมหงอก ผมร่วง อยากปลูกผม ก็เลยทำแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค แก้เชื้อรา ผมขาวเป็นผมดำ ที่เคยคันก็หายคัน มีอาจารย์คณะแพทย์แผนไทย มทร.ธัญบุรี กับอาจารย์ที่ธรรมศาสตร์ มาอบรม ให้คำปรึกษา ทดลองและวิจัยผลิตภัณฑ์จนออกมาได้ผลดี มีคนช่วยออกแบบสติกเกอร์ติดแบรนด์ให้สวยงามจากที่ตอนแรกเราติดสติกเกอร์เองแบบง่าย ๆ สินค้าทุกตัวที่ทำมาต้องเทสต์ก่อน 3-6 เดือน ใช้แล้วดี ลูกค้าติดใจ เราถึงไปขออย.เพื่อจำหน่าย เดี๋ยวนี้ขอทางออนไลน์ได้เลย กรอกข้อมูลรายละเอียดให้ครบก็ติดตามผลได้ ไม่จำเป็นต้องไปยื่นด้วยตัวเอง ผู้บริโภคเองก็สามารถเข้าเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้
ผลิตภัณฑ์ของชบาพารวยที่ขึ้นทะเบียนอย.แล้ว ก็มีแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค มีแชมพูสมุนไพร สูตรเหมาะกับทุกสภาพผม ใช้สระทุกวันได้เลย และที่ขายดีมากคือแฮร์โทนิก กับ เจลโกนหนวด ซึ่งบอกเลยว่าเป็นเจ้าแรกในปทุมธานี สมัยก่อนจะโกนหนวดที ต้องใช้น้ำนำ ถูสบู่ แต่สบู่มีโซดาไฟทำให้ผิวเสีย ของเราเป็นเจลใส ทาเจลที่คางแล้วทำให้โกนง่ายขึ้น ขนนุ่ม ช่วยสมานแผล และกลิ่นหอมด้วย แต่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรทุกตัวก็บอกก่อนว่าต้องใช้เวลา เพราะไม่ใช้สารเคมี มันไม่มีผลต่อผิวหนัง ส่วนจะเห็นผลก็อยู่ที่แต่ละคน เซลล์อายุยังน้อยก็เห็นผลเร็ว เวลาขายแฮร์โทนิกหรือเซรั่มคนไม่เคยพูดเรื่องอายุนะ ผมบอกตรง ๆ เลยว่าถ้าอายุ 30-40 ปี จะเห็นผลไวเลย ถ้าอายุเกิน 62 และเป็นกรรมพันธุ์ด้วย จะเห็นผลช้า เราเก็บข้อมูลลูกค้าทุกคน ติดตามว่าใช้แล้วเป็นยังไง ? เพื่อให้ลูกค้ารู้ว่าของเรามีมาตรฐาน
ความเป็นประธานกลุ่มเครือข่ายโอทอป ผมมองสามข้อสำคัญ หนึ่งคือหางาน ความหมายคือหาสถานที่ให้เครือข่ายได้มีที่จำหน่ายสินค้า สองคือหาเงิน คือให้เขาเป็นสมาชิกเราหรือเราไปหาบูท ได้งานก็มีเงินเข้าเครือข่ายมาใช้ดำเนินการ สามคือหาคน คือคนเก่าก็ร่อยหรอ เราต้องหาคนต่อยอดให้แต่ละเทศบาล หาคนมีความตั้งใจ การันตีว่าเครือข่ายเราจะไม่สูญพันธุ์ กลุ่มโอทอปเรามีผลิตภัณฑ์เยอะมาก ทั้งหมวดอาหาร หมวดเสื้อผ้า ของตบแต่ง เช่น ผ้าใยกล้วย ผ้าใยบัว เป็นนวัตกรรมของจังหวัด หมวดสมุนไพร หมวดน้ำดื่ม และหมวดของใช้ ที่ขึ้นชื่อคือกระเป๋าหนังวัวแท้ มีลวดลายเอกลักษณ์ ของกินก็อร่อย ๆ ทั้งนั้น บางคนเติบโตจากโอทอป ไม่อยากร่อนเร่ออกบูทแล้ว อยากปักหลัก ก็ตั้งร้าน ลูกค้าที่ติดใจก็ตามไปกินถึงร้าน
ผมก็ออกไปเปิดตลาด เอาของไปวางตามศูนย์จำหน่ายสินค้าของแต่ละจังหวัด ให้เจ้าเดียวในแต่ละจังหวัด อย่างที่ไปมาก็โซนตะวันออกที่ชลบุรี ระยอง สมุทรปราการ เดี๋ยวก็จะไล่ไปโซนอีสาน ภาคกลาง แล้วก็มองไปที่อีกจุดของการตลาดคือไปติดโฆษณาที่ห้องน้ำชายในปั๊มน้ำมัน ตอบโจทย์ว่า อย่างน้อยคนก็ต้องเห็นล่ะ ส่วนแฟนผมเขาเก่งดูแลการขายออนไลน์ ก่อนหน้าโควิด ช่องทางจำหน่ายเป็นออฟไลน์ ออกบูท ไปเจอลูกค้าเล่าผลิตภัณฑ์ให้ฟัง แต่พอโควิดมา ต้องเรียนรู้วิธีใหม่เลย ภาครัฐก็มีอบรมเรียนออนไลน์ เราก็ได้เรียนรู้เรื่องทำแพลตฟอร์ม ทำเพจ หน่วยงานแต่ละที่เขาให้ความรู้ดี เราอยากรู้อะไร เราก็ไปอบรม ได้ใบประกาศ ในอนาคตผมก็จะเรียนต่อแพทย์แผนไทยอีกสองปี ทำให้จริงจัง ยกระดับตัวเราเอง เรียนรู้ได้ไม่มีที่สิ้นสุดเลย ถ้าเราตั้งใจ ให้ความร่วมมือ มหาวิทยาลัยก็จะส่งเราให้ถึงฝั่ง ฝั่งที่ว่าคือให้เรายืนได้ด้วยตัวเอง ตัวเราพร้อมที่จะไป เขาก็พร้อมจะดันเรา อย่างที่บอกว่าถ้าเราผ่านช่วงโควิดมาได้ก็สุดยอดนะ”
พงศวัชร์ วรวัชรจิตต์เมธา
ประธานบริหารจัดการเครือข่ายโอทอปอำเภอธัญบุรี
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…