“ผมเรียนรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนที่เรียนจบเป็นช่วงโควิดระบาดพอดี มหาวิทยาลัยจึงให้นักศึกษากลับไปอยู่บ้าน เราสอบปลายภาคผ่านทางออนไลน์จากที่บ้าน ไม่มีพิธีปัจฉิมนิเทศ ไม่ได้เลี้ยงร่ำลาเพื่อนๆ กลายเป็นว่าต้องมาอยู่บ้านที่ระยองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ
ตอนแรกตั้งใจไว้ว่าถ้าเรียนจบ ผมอาจจะหางานทำที่กรุงเทพฯ ก่อน แต่พอสถานการณ์เป็นแบบนี้ ประกอบกับพอกลับมาอยู่บ้านก็พบว่าพ่อสุขภาพไม่ค่อยดีด้วย เลยตัดสินใจหางานทำที่นี่ ก็ได้ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานอำเภอ เป็นงานสัญญาจ้าง 1 ปี นั่นเป็นงานแรกที่ผมทำ
จนทำงานนี้มาได้ใกล้ครบสัญญา เห็นว่าโควิดยังไม่ซาเสียที เลยคิดถึงการทำธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่มเล็กๆ ที่เน้นการขายทางเดลิเวอรี่ ก็พอดีมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งเขาชอบทำขนม และเขามีบ้านอยู่แถวย่านเมืองเก่า จึงชวนกันทำ ไปได้ตึกให้เช่าแถวบ้านเพื่อนพอดี ก็เลยเริ่มธุรกิจนี้เมื่อปี 2564
SunSan Home Café อ่านว่า ‘ซันซัน’ เราตั้งใจจะขายขนมแบบญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยทดลองทำขนมชูครีม (Choux Cream) เป็นเมนูแรก เพราะที่ระยองยังไม่มีร้านไหนขายจริงจัง ก็ทดลองอยู่หลายรอบจนเจอสูตรที่ใช่ แล้วก็ขยายเมนูไปที่ขนมเค้กต่างๆ ไปถึงแฮมเบอร์เกอร์ อย่างที่บอกว่าเราเน้นขายเดลิเวอรี่ แต่ก็มีหน้าร้านเล็กๆ ให้ลูกค้ามานั่งด้วย
ลูกค้าหลักเราคือคนทำงานออฟฟิศและโรงงานในระยอง มีคนท้องที่และนักเรียนมาบ้าง แต่นักท่องเที่ยวไม่ค่อยเท่าไหร่ เพราะร้านเราไม่ได้เอื้ออำนวยในการรองรับลูกค้านั่งโต๊ะ ซึ่งจะแตกต่างจากคาเฟ่ส่วนใหญ่ที่จะขายดีช่วงวันเสาร์และอาทิตย์ที่นักท่องเที่ยวมาเยอะ หรือถ้าเป็นคาเฟ่ที่อยู่ละแวกโรงงานนี่จะขายดีช่วงวันธรรมดา เพราะได้ลูกค้าประจำที่ทำงานโรงงาน
นอกจากมันเป็นธุรกิจเลี้ยงชีพแล้ว อีกเหตุผลสำคัญในการเปิดร้าน เพราะผมอยากทำให้ร้านเป็นส่วนหนึ่งของระยองด้วย โดยเฉพาะผมเปิดในย่านเมืองเก่า และเป็นย่านที่อยู่ใกล้กับโรงเรียนผมด้วย (โรงเรียนระยองวิทยาคม) เป็นย่านที่มีความทรงจำ เหมือนเรามาย่านนี้ เราก็จะจำได้ว่ามีร้านอะไรอยู่ตรงไหนบ้าง เราเคยไปซื้อของร้านนี้ หรือเราชอบขนมร้านนี้
ผมอยากให้ซันซันเป็นแบบนั้น เหมือนเราอาจเปิดเล็กๆ ตรงนี้ และถ้าธุรกิจเรายั่งยืนต่อไปได้ ในอนาคตผมอาจไปทำอย่างอื่นแล้ว และร้านอาจมีคนมาทำต่อ ทุกคนก็จะยังจำได้ว่าร้านซันซันอยู่ตรงนี้ เป็นหนึ่งในความทรงจำของเมืองไป”
ชัชชน นิยมสมาน
เจ้าของร้าน Sunsan Home Café
https://www.facebook.com/sunsanhomecafe/?locale=th_TH
“หอโหวดเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่หลังจากนี้คือกลไกที่เทศบาลต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนและนักวิชาการ ในการกำหนดทิศทางเมืองให้ร้อยเอ็ดพร้อมรับการท่องเที่ยว และทำให้เมืองมีความน่าอยู่ สำหรับผู้คนในเมืองพร้อมกันไปด้วย” “เราเกิดที่ร้อยเอ็ด เรียนมัธยมที่นี่ ก่อนไปเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ สักเกือบ 10 ปีที่แล้ว เราไม่เคยมีความคิดจะกลับมาทำงานที่บ้านเกิดเลยนะ เพราะไม่เห็นโอกาสอะไรในชีวิตในภาพจำเดิมของเรา ร้อยเอ็ดเป็นเมืองผ่าน ไม่มีสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ไม่มีแหล่งธรรมชาติสวยๆ…
ชวนอ่าน เบื้องหลังแนวคิดการขับเคลื่อนงานพัฒนาเมืองด้วยงานวิจัย องค์ความรู้ และนวัตกรรม ความร่วมมือ และบูรณการระหว่าง บพท. และสมาคมเทศบาลนครและเมือง ก่อเกิดโครงการ "โปรแกรมบ่มเพาะและเร่งรัดกระบวนการเพื่อมุ่งสู่เมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด (CIAP) ดำเนินการระหว่างปีพ.ศ. 2567-2568 กับผู้นำเมือง และเทศบาล…
WeCitizens : ร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด (ฉบับที่ 1) เปิดความคิด ความหวัง และโอกาสของการพัฒนาเมืองร้อยเอ็ดที่รัก นำโดยนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด คุณบรรจง โฆษิตจิรนันท์ คณะทำงานเจ้าหน้าที่เทศบาล และหัวหน้าโครงการวิจัยร้อยเอ็ดเมืองน่าอยู่อย่างชาญฉลาด ผศ. ดร.ชัญญรินทร์…
ร้อยเอ็ดอยู่ห่างจาก ‘สะดืออีสาน’ พื้นที่ที่ถูกปักหมุดให้เป็นจุดศูนย์กลางของภาคอีสานในอำเภอโกสุมพิสัย มหาสารคาม เพียง 60 กิโลเมตร ในตำนานอุรังคธาตุ (ตำนานพระธาตุพนม) กล่าวว่า ‘สาเกตนครร้อยเอ็ดประตู’ (ชื่อเดิม) เมืองนี้ มีประตูเท่าจำนวนเมืองขึ้น ‘ร้อยเอ็ดเมือง’ สะท้อนให้เห็นความรุ่งเรืองจากการเป็นศูนย์กลางอำนาจและการคมนาคมของภูมิภาคมาตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 21อีกทั้ง ส่วนหนึ่งของพื้นที่ยังเป็นที่ตั้งของทุ่งกุลาร้องไห้ ที่ราบขนาดใหญ่กว่า 2 ล้านไร่ ทำให้ในเวลาต่อมา ร้อยเอ็ดจึงเป็นอู่ข้าวที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาที่ใหญ่ และมีผลิตผลที่ดีที่สุดในโลก แม้มีภูมิหลังที่รุ่งเรือง กระนั้น ตลอดหลายทศวรรษหลัง…
สนทนากับ ผศ.ดร.ชัญญรินทร์ สมพรหัวหน้าโครงการวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาด ‘ร้อยเอ็ด’, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด “พื้นที่นี้จะเป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความพร้อมให้คนร้อยเอ็ดสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต” ผศ. ดร.ชัญญรินทร์ สมพร รองผู้อํานวยการสํานักส่งเสริมวิชาการและจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด และหัวหน้าโครงการวิจัย "โครงการเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ร้อยเอ็ดคนดี เชื่อมโยงโครงข่ายเศรษฐกิจ ด้วยการเดินบนความปลอดภัยและทันสมัย…
"เราให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงเศรษฐกิจให้ร้อยเอ็ดเป็นทางเลือกใหม่ของตลาด MICE ที่ราคาย่อมเยา เดินทางสะดวก และมีอัตลักษณ์" เริ่มจากความคับข้องใจที่เห็นบ้านเกิดของตัวเอง (ร้อยเอ็ด) เป็นเมืองผ่านที่มักถูกมองข้าม เมื่อ บรรจง โฆษิตจิรนันท์ เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด เมื่อปี 2538 เขาจึงเริ่มโครงการพัฒนาเมือง ไปพร้อมกับการดึงเสน่ห์จากศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ ดึงดูดให้ผู้คนมาเที่ยว…