“วัดกลาง เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ในย่านเมืองเก่ากาฬสินธุ์ และเป็นวัดประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
วัดแห่งนี้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2378 ปีนี้ก็ 179 ปีแล้ว แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนถึงผู้สร้าง แต่ดูจากศิลปกรรมแล้ว เข้าใจว่าช่างกลุ่มลาวเป็นคนสร้างวัดนี้ขึ้น วัดนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับเมืองหลายสิ่ง โดยเฉพาะรอยพระพุทธบาทจำลองแก่งสำโรง และพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย หรือหลวงพ่อองค์ดำ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองกาฬสินธุ์
อาตมาไม่ทราบว่ารอยพระพุทธจำลองนี้มีอายุเท่าไหร่แล้ว แต่นักโบราณคดีเขาสันนิษฐานกันว่าสร้างตั้งแต่สมัยขอม ยุคก่อนจะมีเมืองกาฬสินธุ์ แต่เดิมมีการพบรอยพระพุทธบาทนี้อยู่ใกล้กับแก่งสำโรง ริมน้ำปาว แต่ความที่พอเวลาผ่านไป น้ำจากแม่น้ำเริ่มเซาะตลิ่ง ชาวบ้านก็กลัวว่ารอยพระพุทธบาทจะเสียหาย จึงมีการอัญเชิญมาถวายไว้ที่วัดกลาง ช่วงรัชกาลที่ 5 และมีพิธีไหว้รอยพระพุทธบาททุกวันมาฆบูชา
ส่วนพระพุทธสัมฤทธิ์นิรโรคันตราย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านช้าง ใต้ฐานพระพุทธรูปมีจารึกอักษรธรรมล้านช้าง ที่กล่าวถึงประวัติและตำนานการสร้างอยู่ โดยระบุว่าสร้างเมื่อจุลศักราช 172 หรือ พ.ศ. 1353 แต่เดิมประดิษฐานที่โบสถ์วัดนาขาม อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ต่อมาพระยาชัยสุนทร (เก ณ กาฬสินธุ์) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์คนที่ 11 ซึ่งเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้าย ก่อนมีการปฏิรูปการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล (พ.ศ. 2444) ได้อัญเชิญจากวัดนาขาม มาประดิษฐานในโฮงเจ้าเมือง จากนั้นก็ย้ายมาประดิษฐานที่วัดกลาง จนถึงปัจจุบัน
ชาวกาฬสินธุ์จะรู้จักพระพุทธรูปสำคัญองค์นี้ในนาม ‘หลวงพ่อองค์ดำ’ เพราะมีสีดำ กับอีกนามหนึ่งคือ ‘หลวงพ่อซุ่มเย็น’ หรือชุ่มเย็น ที่เป็นเช่นนั้นเพราะแต่ก่อนกาฬสินธุ์แห้งแล้ง แต่เมื่อชาวบ้านทำพิธีพุทธาภิเษก ฝนกลับตกต้องตามฤดูกาล ในช่วงสงกรานต์ชาวกาฬสินธุ์จึงอัญเชิญหลวงพ่อองค์ดำแห่ไปรอบเมือง เพื่อให้ประชาชนทรงน้ำเป็นสิริมงคล
อย่างไรก็ตาม หลวงพ่อองค์ดำไม่ใช่พระประธานของวัดกลางแห่งนี้ พระพุทธปฏิมา พระประธานวัดกลางจะประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถที่อยู่ตรงข้าม ชาวอีสานจะเรียกอุโบสถว่าสิม แต่ที่นี่เป็นพระอารามหลวง จึงเรียกกันว่าพระอุโบสถ ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังรูปพระเวสสันดรชาดก 13 กัณฑ์ โดยมีรูปที่โดดเด่นที่สุดคือรูปพระพุทธเจ้าปราบมารอยู่ตรงกลาง เข้าใจว่าจิตรกรรมนี้วาดขึ้นเมื่อเกือบ 90 ปีที่แล้ว ในช่วงที่มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถครั้งใหญ่
และวัดแห่งนี้มีการบูรณะครั้งสำคัญอีกครั้งในช่วงที่พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ) เจ้าอาวาสรูปก่อน จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งไม่เพียงพัฒนาวัดทางด้านวัตถุ ศิลปกรรม และวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ เจ้าอาวาสท่านยังให้ความสำคัญกับการศึกษา และเปิดพื้นที่ให้ชาวกาฬสินธุ์ได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยน เพื่อแก้ปัญหาด้านสังคมต่างๆ ด้วย
หลวงพี่มองว่ากาฬสินธุ์ก็เหมือนอีกหลายๆ จังหวัดในภาคอีสานที่ผู้คนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ นั่นทำให้เมื่อชาวบ้านมีเรื่องขัดแย้งอะไร หรือต้องการความร่วมแรงร่วมใจอะไร พวกเขาก็จะใช้วัดประจำชุมชน หรือวัดประจำเมืองเป็นพื้นที่กลางในการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา
จนถึงทุกวันนี้ที่เทคโนโลยีรุดหน้าไปไม่รู้เท่าไหร่ต่อเท่าไหร่ บทบาทของวัดกลางก็ยังคงเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของชาวเมืองกาฬสินธุ์อยู่ดี ใครไม่สบายใจเรื่องอะไร ก็มาไหว้หลวงพ่อองค์ดำเพื่อขอพรกลับไป คนอีสานจากจังหวัดอื่นๆ พอผ่านมากาฬสินธุ์ ก็จะแวะมาสักการะพระองค์ท่าน เพราะไม่เพียงเป็นพระคู่เมืองที่ชาวบ้านเชื่อกันว่าจะช่วยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล น้ำท่าสมบูรณ์อยู่เสมอ แต่ในเรื่องส่วนตัว หลายคนก็เชื่อว่าพอมาไหว้ท่าน แล้วเหมือนจะได้คลายทุกข์ มาไหว้หลวงพ่อชุ่มเย็น แล้วจะได้ชุ่มฉ่ำใจ”
พระมหาทวี สิริวฑ.ฒโน
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกลาง (พระอารามหลวง) จังหวัดกาฬสินธุ์
พลังคน พลังโคมลำพูน: เมืองเล็ก ๆ ที่เปี่ยมไปด้วยพลังสร้างสรรค์ แม้ ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์ เป็นคนเชียงใหม่ เธอก็หาใช่เป็นคนอื่นคนไกลสำหรับชาวลำพูนเพราะก่อนจะเข้ามาขับเคลื่อนงานวิจัยเมืองน่าอยู่ที่ชาญฉลาดกับเทศบาลเมืองลำพูน เธอได้ทำวิจัยเกี่ยวกับเมืองแห่งนี้มาหลายครั้ง โดยเฉพาะโครงการขับเคลื่อนเยาวชนเพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นพลเมืองของเมืองแห่งการเรียนรู้ของ UNESCO ในปี 2566-2567 - นั่นล่ะ…
“เป็นสิ่งวิเศษที่สุด ที่ผ้าไหมของจังหวัดลำพูนได้ปรากฏต่อสายตาผู้คนทั้งในและต่างประเทศ ทั้งเมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้การส่งเสริม และทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ และกระทั่งในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 10 ก็ทรงส่งเสริมผ้าไหมไทย และฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมยกดอกลำพูนในพระราชพิธีสำคัญเช่นกัน ดิฉันเป็นคนลำพูน มีความภูมิใจในงานหัตถศิลป์การทอผ้าไหมยกดอกนี้มาก ๆ และตั้งใจจะรักษามรดกทางวัฒนธรรม ทำหน้าที่ส่งต่อถึงคนรุ่นต่อไป…
“ความที่โตมาในลำพูน เราตระหนักดีว่าเมืองเรามีต้นทุนทางวัฒนธรรมที่สูงมาก ทั้งยังมีบรรยากาศที่น่าอยู่ อย่างไรก็ดี อาจเพราะเป็นเมืองขนาดเล็ก ลำพูนมักถูกมองข้ามจากแผนการพัฒนาของประเทศ เป็นเหมือนเมืองที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่ถูกปลุกให้ตื่นความที่เราเคยทำงานที่ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (ปัจจุบันคือสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA - ผู้เรียบเรียง) ได้เห็นตัวอย่างความสำเร็จของกระบวนการพัฒนาย่านด้วยกรอบพื้นที่สร้างสรรค์ในหลายพื้นที่…
“ผมเป็นคนลำพูน และชอบทำกิจกรรมนอกห้องเรียนมาตั้งแต่เด็ก ปัจจุบันเป็นประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ควบคู่ไปกับกำลังศึกษาคณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากประสบการณ์การทำงานในสภาฯ ทำให้ผมเห็นว่า เยาวชนลำพูนมีศักยภาพที่หลากหลาย แต่สิ่งที่ขาดไปคือเวทีที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้แสดงความสามารถและพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือโครงการของภาคเอกชน ปี 2567 พี่อร (ดร.สุดารัตน์ อุทธารัตน์…
“อาคารหลังนี้แต่ก่อนเป็นที่ประทับของเจ้าราชสัมพันธวงษ์ลำพูน (พุทธวงษ์ ณ เชียงใหม่) น้องเขยของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายของลำพูน อาคารถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2455 หลังจากนั้นก็ถูกขายให้พ่อค้าชาวจีนไปทำเป็นโรงเรียนหวุ่นเจิ้ง สอนภาษาจีนและคณิตศาสตร์ โรงเรียนนี้เปิดได้ไม่นานก็ต้องปิด เพราะสมัยนั้นรัฐบาลเพ่งเล็งว่าอะไรที่เป็นของจีนจะเกี่ยวข้องกับลัทธิคอมมิวนิสต์ แต่หนูก็ไม่รู้หรอกว่าโรงเรียนนี้เกี่ยวข้องหรือเปล่า (ยิ้ม) จากนั้นอาคารก็ถูกเปลี่ยนมาเป็นโรงเรียนมงคลวิทยาในปี…
“เราโตมากับวัฒนธรรมของคนลำพูน ชอบไปเดินงานปอย ร่วมงานบุญ ก่อนหน้านี้ก็เคยทำงานรับจ้างทั่วไป จนเทศบาลฯ มาส่งเสริมเรื่องการทำโคม โดยมีสล่าจากชุมชนศรีบุญเรืองมาสอน เราก็ไปเรียนกับเขา ตอนนี้อาชีพหลักคือการทำโคม ทำมาได้ 2 ปีแล้ว สำหรับเรา โคมคืองานศิลปะ เป็นสัญลักษณ์และมรดกที่ยึดโยงกับวัฒนธรรมของคนบ้านเรา ตอนแรกเราไม่มีความคิดเลยว่ามันจะกลายมาเป็นอาชีพได้…